15 ธ.ค. 2020 เวลา 11:38
Zero Defect สร้างกำไร ให้องค์กรได้ จริงหรือ??
( วัดผลที่ตัวสินค้า )
คำว่า “ Zero defect “ ในแวดวง อุตสาหกรรม คือ การผลิตสินค้า ได้คุณภาพตามมาตรฐาน100% โดยไม่มีของเสียเลยสักชิ้น นั่นหมายถึงว่า ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากการลงทุน สามารถทำยอดขาย ทำกำไรได้ตามเป้า
# ขาดทุนกำไร เกิดจาก ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุน เช่น งานเสียต้องแก้ไข ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เป็น
ผลกระทบจากของเสีย #
Cr.เจ้าของภาพค่ะและขอบคุณมากนะคะ
เป็นที่รู้กัน ในแวดวง SME หรือ อุตสาหกรรมอื่นๆ ถ้าอยากได้กำไร คุณภาพงาน สินค้าต้องดี และฝ่ายที่ต้องรับศึกในครั้งนี้คือ QA จ้า
หน้าที่อีเจ้สิคะ ต้องหาวิธี ในการสร้างคุณภาพสินค้า ให้ดี มีคุณภาพยิ่งขึ้นไปอี๊ก เพราะในแต่ละวัน ก็ยังมี ของเสียที่เกิดขึ้น โดยบางครั้งหาสาเหตุไม่ได้ ไม่รู้กระบวนการไหน😱⁉️
“Zero Defect PJ start สิคะ คำสั่ง ฟ้าผ่ามาจาก ผู้บังคับบัญชาสูงสุด🤣
ทำPJ ร่วมกับทาง บริษัทแม่ที่อยู่ อเมริกา และแล้วต้องแปลงร่างเป็นนางฟ้าบินไปล่ะคร้า
อีเจ้ ไปทำงานที่ Minneapolis,Minnesota USA
1 เดือน , ลั่นล้ามากกกก ไม่เคยไป หวังว่าจะได้ชิมหิมะ 5555 คิดว่าคงเหมือนน้ำแข็งไสจ้า, รสชาติแปลกๆ ผิดคาดจ้ะ5555
อีเจ้ได้พักที่อพาร์ตเมนต์ ที่ทางบริษัทจัดให้ ก็ โอ นะคะมีอ่างอาบน้ำ , งานนี้เพลิดเพลิน
แหกขี้ตาตื่น4:30น เพื่ออาบน้ำ ทานข้าวและขึ้นรถเพื่อไปถึงที่ทำงาน 7:30น , งานนี้ชมวิวเพลินแถมหนาวแบบติดลบ
PJ เริ่มขึ้น เราทำงานร่วมกันกับ ฝรั่ง และ คนลาวเวียงจันทน์ ( สวย และหล่อมากกก) โดย เราคุยกันถึง concept “ Do it Right The First Time -DRIFT “
ทำงานให้ถูกเสียแต่เริ่มต้น
ถ้าทำถูกทุกขั้นตอน ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด ตั้งแต่แรก แน่ละ งานที่ได้ย่อมมีคุณภาพ ไม่มีของเสียเกิดขึ้น
Cr:เจ้าของภาพค่ะ ขอบคุณค่ะ
พวกเรานั่งวางแผนร่วมกัน คุยถึง Target เขียน Activities วิธีการทำ เก็บข้อมูล cost ที่ลงทุน ค่าใช้จ่าย และวิธีการวัดผล ของ กิจกรรมที่ทำ ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ภายในระยะเวลา 1 เดือน
และสำคัญว่า มีประสิทธิภาพหรือไม่ ด้วยการติดตาม การวัดผล และการประเมิน
# การทำ PJ อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมใช้ SMART ลงไปใน แผนงานนะคะ #
สิ่งทีพวกเราทำคือ การควบคุมคุณภาพ ในแต่ละ กระบวนการผลิต “ IPQC - In - Process Quality Control “ บังเกิด ตั้งแต่ การเตรียมวัตถุดิบ การผลิต เครื่องมือ ตัวพนักงาน. วิธีการทำงาน จนถึงกระบวนการสุดท้ายที่เป็นผลิตภัณฑ์
ดูตัวอย่าง production flow chart
Cr. Lucidchart & Thank you
พวกเราแบ่งงาน 2 ฝ่ายคือ ฝ่าย production และ QA โดย เราจะทำการ ใช้ concept “ DRIFT “ ทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่
Item ที่ควบคุมแต่ละขั้นตอน , คุม 4 M
@M1 -Man , พนักงาน ได้ผ่านการฝึกอบรมและ qualified
@ M2- Method , วิธีการทำงานตาม เอกสาร มาตรฐานการทำงานหรือไม่
@ M3. - Machine/ Tooling - อุปกรณ์และเครื่องมือทำงานได้ตามมาตรฐานหรือไม่
@ M4- Material, วัตถุดิบที่ใช้ได้ มาตรฐานหรือไม่
# ทุก M ต้องได้ตามมาตรฐาน. ห้ามพลาดดดด✨
Production ทำ 4M ให้ได้ตามมาตรฐาน ทุกกระบวนการผลิต ต่อไปเป็น หน้าที่ของ QA ที่ทำ Check list ออกมาวัด ตรวจเช็ค คุณภาพ4 M และแปลงผลลัพธ์ ออกมาเป็น Radar chart เพื่อดูผล
และนำผลมาประเมิน
อีเจ้และทีม QA เริ่มวัดผล คุณภาพของแต่ละ กระบวนการทำงานโดยใช้ Radar chart เป็นตัววัด
โดยมีเกณท์ในการวัดโดยให้คะแนน 10/ กระบวนการ
ตัวอย่าง และ Cr.Wikipedia
ผลที่ได้เทียบกับคะแนนเต็ม และใส่ข้อมูลแต่ละกระบวนการ จากนั้น พวกเราจะมาประเมินโดยรวมว่า กระบวนการผลิตขั้นตอนไหน ที่scale ไม่ได้เต็ม ยังมีช่องว่าง
กระบวนการผลิตที่ดี มีคุณภาพ ต้องได้คะแนนเต็มscale คือ 10/10 ถ้ามีช่องว่างนั่น หมายถึง ต้องทำการแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยยึดมาตรฐาน เป็นหลัก
จากรูป ตัวอย่างRadar chartนี้ ถือว่า ต้องแก้ไข และปรับปรุง กระบวนการผลิตอย่างเร่งด่วน ด้วยการดูว่าต้องปรับปรุงแก้ไข M ไหน ด้วยการใช้ Anslysis tool
# อีเจ้ ขอแชร์ครั้งต่อไปนะคะ #
หลังจากทีมอีเจ้ QA และ Production ประเมินผลลัพธ์ของ Radar Charrt แล้ว พวกเราก็นำมาทำ Coreective action ทุก กระบวนผลิต ด้วย action มากมาย ที่อีเจ้จะนำมาแชร์ต่อไป
พวกเรานำ Cost หรือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ก่อนทำ PJ และ หลังทำ PJ นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้ข้อมูล ของไตรมาสก่อนหน้านั้น มาทำกราฟ เปรียบเทียบ โดย
มีการFixed factor คือ Model หรือรุ่นของผลิตภัณฑ์
Cost หรือ ค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากงานที่ไม่ได้มาตรฐานหรือของเสียที่เกิด เป็นผลทำให้ กำไรลดลง
ข้อมูล ที่นำมาเปรียบเทียบ
@ Defect cost
@ manhour ที่ต้องใช้เมื่อทำงานซ้ำ
@ Labor cost
@ repair cost
@ Customer claim cost
@ unexpected cost
และสิ่งที่เราพบคือ Cost เหล่านี้ลดลงเยอะมาก ~ 90%
เป็นที่ พึงพอใจของพวกเราและทีมบริหารมาก
หลังจากได้ result แล้ว ทีม PJ ก็ได้นำ result ที่ได้มา Simulate กำไร
กำไร = ยอดขาย- ต้นทุนการผลิต ( รวมถึง Defect ขอบเสียในกระบวนการ. )
กำไรสูง= ยอดขาย- ลดต้นทุน/ ใช้ต้นทุนต่ำ
กำไรน้อย = ยอดขาย - ต้นทุนสูง+ ของเสีย
# ผลที่ได้ Model ที่ทำการทดลอง กำไร พุ่งขึ้น ประมาณ 35-40% #
พวกผู้ใหญ่Happy พวกเราก็happy too.
หลังจากที่ได้ผล เป็นที่น่าพึงพอใจ
พวกเราก็เตรียม IPQC& Radar chart นำมาขยายผล กับModel ถัดไปค่ะ
ครบ 1 เดือนที่บินมาทำPriject ก็ได้เวลากลับสักที แต่ บอกเลยว่า มาครั้งนี้ ไม่มีเงินเก็บจ้า เบี้ยเลี้ยง ก็เยอะอยู่นะ แต่ อีเจ้ มา Shop เครื่องสำอางคะ น้าหอม ทุกวันเพราะ มีของแถม5555 มาจนพนักงานขายจำได้ แถม ซื้อ เครื่องเสียง อีก 1ชุด กลับบ้าน
กลับมาก็ ลุยงานต่อ ขยายผล ไปที่Model อื่นๆจรครบทุก model
และ Project “ Zero Defect “ ของพวกเราก็ยังทำกันต่อเนื่อง ขยายผลกันไป
ไตรมาสถัดไปก็กำไรดีขึ้น # Bonus สิคะ รออยู่อิอิ
# ในการทำ Radar chart ก่อนที่เราจะเอาข้อมูลมาลงว่า M ไหนคือสาเหตุของ Defect ( defect caused )
เราใช้ Analysis tool / เครื่องมือในการวิเคราะห์ หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น Six Sigma , FMEA , Window Analysis, CE diagram และ etc.
ในการวิเคราะห์ หารากเหง้าหรือcause ของ ของเสีย
ต้องหาให้ถูกจุด ไม่งั้น ปัญหาเดิมๆจะเกิดขึ้นซ้ำอีก เรียกว่าเราต้อง “ เกาให้ถูกที่คัน. มันถึงจะหาย “
ต้วอีเจ้ ก็อยากจะบอกว่า ถ้าอยากให้องค์กรหรือธุรกิจได้กำไร ให้ ลองกลับ ไปทบทวน ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ลดต้นทุนลง ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสีย ค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด ค่าใช้จ่ายซ่อนเร้น แล้วคุณจะพบว่า กำไรของคุณ ถูกซ่อนเอาไว้ ค่ะ
ลองดูนะคะ ใช้ IPQC มาปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการผลิต โดยใช้ Radar Chart เป็นตัววัดและ ลองตั้งเป้า “ Zero Defect “ คืนกำไรให้องค์กรนะคะ
การทำงาน จะให้ประสบความสำเร็จ เราคนเดียวคงทำไม่ได้ ถ้าไม่มีทีมดีๆมาสนับสนุน
คราวหน้า อีเจ้จะมาแขร์ การบริหารทีม อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข นะคะ
ขอบคุณค่ะ แล้วพบกัน
SMART GIRL
“ผู้หญิง ลั่นล้า”💃🏻💃🏻
โฆษณา