16 ธ.ค. 2020 เวลา 03:10 • ปรัชญา
ม็อบ มายังไง?
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว Sense ของข้อเรียกร้อง การเรียกร้องย่อมมีพลังต่อเมื่อมีการรวมกลุ่ม อาศัยมวลมหาประชาชนจำนวนมากในการผลักดันข้อเรียกร้อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และการรวมกลุ่มเรียกร้อง เราก็มักเรียกกัน ม็อบ (Mob)
เมื่อนึกถึง “ม็อบ” เราจะนึกถึงกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องในเรื่องต่างๆ บางมุมก็สร้างความเดือดร้อนให้ขั้วตรงข้าม และคนที่ได้รับผลกระทบจากการทำมาหากิน ส่วนคนที่เห็นดีเห็นงามด้วยก็เป็นกองเชียร์ก็เอาใจช่วยหรืออกมาร่วมชุมนุมหรือสนับสนุนกันไป
คำว่า ม็อบ (mob) เป็นภาษาพูดใช้เริ่มกันในยุค ตุลาคม 2516-ตุลาคม 2519 และเริ่มมีการใช้คำว่าม็อบในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากง่าย กระชับในการพาดหัวข่าว ขณะเดียวกันก็มีความหมายในแง่ลบแฝงอยู่ ในทางวิชาการ ม็อบ (mob) หมายความว่า ฝูงชนที่ชุมนุมอย่างไร้ระเบียบและบ้าคลั่ง
ในสื่อต่างประเทศจะเคร่งครัดในการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับการชุมนุมมาก โดยการชุมนุมทั่วไปจะใช้คำว่า “protester” ที่แปลว่าผู้ประท้วง หรือ “demonstrator” ที่แปลว่า ผู้ที่มาแสดงออก ตราบจนที่กลุ่มผู้ชุมนุมยังการจัดการระเบียบที่ดี แต่เมื่อใดกลุ่มผู้ชุมนุมขาดการจัดการที่เป็นระเบียบ ควบคุมไม่ได้ บ้าคลั่ง สื่อมวลชนจึงใช้คำว่า “ม็อบ” (mob) เรียกกลุ่มผู้ชุมนุม
ถ้าข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นเรื่องแก้ปัญหาให้คนส่วนใหญ่ เป็นธรรม จาก mob ก็อาจจะกลายเป็น mop ที่เช็ดถูเรื่องไม่ดีให้ออกจากสังคม ขณะเดียวกันถ้าข้อเรียกร้องเป็นไปเพื่อต้องการเปลี่ยนอำนาจ มุ่งหาประโยชน์คนส่วนน้อย ไม่แก้ปัญหา รัฐย่อมชอบธรรมที่จะเป็น mop เช็ดถูกกวาดล้าง mob พ้นจากถนนให้บ้านเมืองกลับมาอยู่สภาพปกติต่อไป
บางครั้งการใช้ศัพท์ที่สั้น เข้าใจง่าย อธิบายอะไรบางอย่าง ก็มีความหมายในแง่ลบแอบเหยียด และ “ม็อบ” ก็คือตัวอย่างหนึ่ง
โฆษณา