Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
•
ติดตาม
16 ธ.ค. 2020 เวลา 09:10 • ธุรกิจ
อยากขึ้นทะเบียนก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม ทำยังไง
วิสาหกิจเพื่อสังคม. มีกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ.2562 ("พระราชบัญญัติฯ") (ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562)
ตามพระราชบัญญัติฯ "วิสาหกิจเพื่อสังคม" คือ บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือกลุ่มกิจการเพื่อสังคมที่เป็นบุคคลธรรมดากลุ่มบุคคลชุมชนหรือนิติบุคคลอื่นได้ ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฯ ทั้งนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคมมี 2 ประเภท
1.วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นไม่เกิน 30% ของกำไรทั้งหมด หลักเกณฑ์คือ ต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 50% มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
2. วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น วิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทนี้อาจมีรายได้น้อยกว่า 50% มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการก็ได้ กล่าวคือ วิสาหกิจเพื่อสังคมนี้อาจมีรายได้ที่มาจากการบริจาคหรือเงินลงทุนที่มีอยู่ได้
เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด พรบ.กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดใช้คำว่า "วิสาหกิจเพื่อสังคม" ในชื่อกิจการ เว้นแต่จะได้รับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฯ นี้
ทั้งนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการตามข้อใดข้อหนึ่งคือ
1. เพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ
2. แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม
3. เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นหรือคืนประโยชน์แก่สังคม
คำว่า "สังคม" นั้น ในชั้นกรรมาธิการได้ระบุให้ชัดเจนว่า ให้หมายรวมถึงการสาธารณสุข ศึกษา ความยากจน การท่องเที่ยวด้วย และอาจมีประกาศเพิ่มเติมโดยรัฐมนตรีกำหนดได้
ภาครัฐยังให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ วิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็นการส่งเสริมอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้มีมาตั้งแต่ปี 2559 โดยวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้อง
1.มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่วิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่ หรือมีเป้าหมายในการจัดตั้ง ตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาชุมชนสังคม หรือสิ่งแวดล้อม
2.โดยมิได้มุ่งสร้างกําไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน และนําผลกําไรไม่น้อยกว่า 70% ไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกําหนด
ขั้นตอนการก่อตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม
ตั้งแต่ 18 ตุลาคม 2562. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมเปิดรับจดทะเบียนเพื่อเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นต้นไป
คุณสมบัติพื้นฐานที่กิจการต้องมีดังนี้
1.เป็นองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายไทย
2.เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม. สิ่งแวดล้อม. ให้ดีขึ้น
3.มีการดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย1ปี ไม่ดำเนินธุรกิจที่ผิดกฏหมายและไม่ผิดหลักศีลธรรมของท้องถิ่น
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ (ตามกฎหมายเดิม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 621)
1.สิทธิประโยชน์ทางภาษีของวิสาหกิจเพื่อสังคม
2.สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ถือหุ้นในวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เป็นนิติบุคคล (ผู้ลงทุนนิติบุคคล)
3.สิทธิประโยชน์ทางภาษีของนิติบุคคลผู้บริจาคเงินและทรัพย์สินให้วิสาหกิจเพื่อสังคม
เงื่อนไขในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
1.จัดตั้งขึ้นมาโดย
1.1 ประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่วิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่ หรือมีเป้าหมายในการจัดตั้งตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนสังคม หรือสิ่งแวดล้อม
1.2 ต้องนําผลกําไรไม่น้อยกว่า 70% ไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด
2.ชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องมีคำว่า "วิสาหกิจเพื่อสังคม" อยู่ในชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
3.ไม่มีการจ่ายเงินปันผลและเงินลดทุนเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
4.ไม่มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการ เว้นแต่การโอนทรัพย์สินตามที่อธิบดีประกาศ
5.ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนรวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เว้นแต่เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด เช่น เป็นการขายหรือให้บริการโดยมีค่าตอบแทนตามราคาตลาด
6.ไม่เปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการจากกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นการประกอบกิจการอื่นก่อนครบสิบรอบระยะเวลาบัญชี นับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุมัติ
7. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
พระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับแล้ว กฎเกณฑ์ที่เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติฯ นี้ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม มากกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 621 โดยการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1.ความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุน
2.สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
3.สิทธิประโยชน์ตามมาตรการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
4.สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่น
5.สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม เฉพาะการบริจาคเงินให้แก่กองทุนหรือให้การสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
ผลกระทบของพระราชบัญญัติฯ ต่อวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับอนุมัติแล้ว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฯ นี้ใช้บังคับ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฯนี้ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยหน่วยงานที่จะรับรองการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม จะให้คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (คกส.) ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฯ นี้ ใช้บังคับ
บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นต้นแบบกิจการพาณิชย์เพื่อการพัฒนาสังคมลดความเหลื่อมล้ำ มุ้งหวังผลในการช่วยเหลือแบ่งปันให้เกิดขึ้นในสังคมชนบทกับสังคมเมือง ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศ และรัฐให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ภาษีของกิจการเพื่อสังคม รวมไปถึงกิจการธุรกิจครอบครัวที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม มีโอกาสอยู่รอดไปต่อได้ ลดปัญหาปลาใหญ่กินปลาเล็กของสังคม ลงได้บ้าง
ขอบคุณองค์กร Social Enterprise ผู้ก่อตั้งและผลักดันให้เกิดกิจการเพื่อสังคมในภาครัฐ และยังร่วมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
1 บันทึก
1
4
1
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย