17 ธ.ค. 2020 เวลา 04:30 • การศึกษา
🟢🔵🟣ใกล้ถึงเทศกาลไหว้บัวลอยแล้ว วันจันทร์ที่​ 21​ ธันวาคม​ 2563นี้แล้วนะคะ🔴🟠🟡
中国一年有四季ประเทศจีนแบ่งเป็น 4 ฤดู
ฤดูใบไม้ผลิ 春 ชุง
ฤดูร้อน 厦 แห่
ฤดูใบไม้ร่วง 秋 ชิว
ฤดูหนาว 冬 ตัง
ทำไมชาวจีนทางตอนใต้ถึงต้องไหว้บัวลอย❓
ตามมาดูกันค่ะ
冬至 ตังจี่ เรียกว่า 冬节ตังโจ่ยะ หมายความว่าเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งปกติแล้วชาวจีนจะมีประเพณี冬节拜圆 ตังโจ่ยะป้ายอี๊หรือเทศกาลไหว้บัวลอย เนื่องจากคืนก่อนตังโจ่ยะมีช่วงเวลากลางคืนยาวที่สุดในหนึ่งปี หญิงชาวจีนก็จะตื่นแต่เช้ามาปั้นบัวลอยเพื่อไหว้บรรพบุรุษ หลังจากไหว้เสร็จก็จะได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตากินบัวลอยรับแสงรุ่งอรุณ​ นำความอบอุ่นและเป็นศิริมงคลมาให้ครอบครัว เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลมงคลที่สำคัญ
เทศกาลไหว้บัวลอยปีนี้ ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม 2563(อิงตามปฏิทินจีนจึงไม่มีวันกำหนดตายตัว)🔸🔹การกินบัวลอยนั้นมีเคล็ดว่า สำหรับคนมีคู่แล้ว คำสุดท้ายให้เหลือ 2 เม็ด และสำหรับคนโสด คำสุดท้ายเหลือ 1 เม็ด แล้วจะทำให้ชีวิตราบรื่นเป็นศิริมงคล​🔹🔸
🔴 🟠 🟡 🟢 🔵 🟣 🟤 ⚪
ทำไมชาวจีนทางตอนเหนือถึงกินเกี๊ยว❓
ประเพณีกินเกี๊ยวของชาวจีนทางตอนเหนือนั้นมาจากเขาว่ากันว่ามีหมอคนหนึ่งชื่อ เตีย ต่ง เก้ง (张仲景)ไปรับข้าราชการที่ต่างถิ่น หมอท่านนั้นตัดสินใจลาออกเพื่อที่จะกลับไปรักษาคนไข้ที่บ้านเกิด ระหว่างเดินทางกลับบ้านเห็นคนอดอยากตามสองข้างทาง หูโดนความหนาวจนเป็นแผล หมอเลยให้ผู้ช่วยรีบทำเต็นท์รักษาผู้ป่วยชั่วคราว และได้ผลิตยาขับความชื้นเพื่อรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ โดยใช้เนื้อแพะ พริก กับสมุนไพรขับความชื้นต้มทำเป็นไส้และห่อด้วยแป้งเกี๊ยวซึ่งปั้นเป็นลักษณะเหมือนหู หลังจากคนไข้และผู้ยากไร้กินเข้าไปก็อาการดีขึ้นจนหายป่วย เพื่อเป็นการระลึกถึงหมอท่านนี้จึงกินเกี๊ยวในเทศกาลไหว้บัวลอย🥟🍜🥟🍜🥟🍜🥟🍜
คำที่สืบทอดกันต่อมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นภาษาจีน
冬至不端饺子碗, 冻掉耳朵没人管
ตงจื้อปู้ตวนเจี่ยวจึหว่าน, ต้งเตี้ยวเอ่อรตัวเหมยเหยินกว่าน​ (จีนกลาง)​
ถ้าถึงเทศกาลไม่กินเกี๊ยว หูเปื่ิอยก็ไม่มีใครเหลียวแล
冬节吃圆大一岁
ตังโจ่ยะเจี่ยะอี๊ตั่วเจ็กห่วย(แต้จิ๋ว)​
กินบัวลอยแล้วโตขึ้นอีกปี
ภาษาแต้จิ๋ว
ขนมบัวลอยที่มีไส้​ คือ​ อะบอหนิ่ม
(บัวลอย)​เม็ดลอยเม็ดจม​ คือ​ เหลี่ยบพู๊เหลี่ยบติ๊ม​
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏
ขอบคุณมากนะคะที่อ่านจนจบ ถ้าเพื่อนๆมีข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลไหว้บัวลอย​ มาช่วยกันแชร์และสืบทอดประเพณีจีนกันนะคะ
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏
ขอบคุณภาพประกอบจาก​ 九號下载
โฆษณา