Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Super lab man_ยอดมนุษย์แลป🔬
•
ติดตาม
17 ธ.ค. 2020 เวลา 15:12 • สุขภาพ
เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าเวลาไม่สบาย
หรือเวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี ทำไมต้องเจาะเลือดเราด้วย
การตรวจเลือดมีประโยชน์อย่างไร แล้วทำไมจะต้องเจาะเลือดกัน
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจาก https://www.lcclinics.com
วันนี้…ยอดมนุษย์แลปจะมาไขขัอข้องใจของใครหลายๆคนให้กระจ่าง
การตรวจเลือด โดยการเจาะจากหลอดเลือดดำที่แขน สามารถจะนำไปตรวจได้ทั้งการดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(CBC ย่อมาจาก Completed blood count) เราก็จะนับดูเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง ดูเกล็ดเลือด ว่าปกติไหม ถ้าผิดปกติจะต้องทำสเมียร์เลือด ย้อมดูเม็ดเลือด ส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์
นอกจากนี้เลือดที่เจาะสามารถนำไปตรวจสารเคมีในร่างกาย ดูระดับนำ้ตาลในกระแสเลือด ระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และอาจจะตรวจระดับฮอร์โมน เช่น กลุ่มไทรอยด์ รวมถึงการตรวจหาเชื้อที่ติดต่อผ่านทางเลือดและนำ้เหลืองได้ เจาะใส่ทิวบ์ Clotted blood แล้วปั่นแยกเอาซีรัมมาตรวจ ถ้าให้ยกตัวอย่างก็เช่น การตรวจ HIV ซิฟิลิส ทั้งนี้และทั้งนั้นการตรวจแต่ละเทสจะต้องใส่ทิวบ์เลือดที่มีสารกันเลือดแข็งตัวให้ถูกต้องด้วย ลำดับการใส่เลือดเวลาเรียงหลอดก็ท่องว่า ฟ้า แดง เขียว ม่วง เทา ว่าซั่น😚
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gentlelife-laboratory.com/th/specimen-handing/
สำหรับหลอดใส่เลือดที่มีจุกสีแดง เราจะเรียกว่า Clotted blood จะไม่ใส่สารกันเลือดแข็ง แต่จะใส่เป็นพวกซิลิก้าเจล เพื่อช่วยให้เลือด clot กล่าวคือเลือดจะแข็งตัว พอเมื่อเรานำทิวบ์เลือดที่clotแล้วไปเข้าเครื่องปั่นเหวี่ยงก็จะแยกชั้นระหว่างเม็ดเลือดและซีรัม(คนปกติ น้ำเลือดจะมีสีเหลืองใส)ออกมาชัดเจน เราก็จะดูดเอาซีรัมไปทำปฏิกิริยาเคมีกับนำ้ยาเพื่อหาค่าสารเคมีในเลือดที่เราสนใจจะตรวจ ส่วนใหญ่การตรวจสารเคมีในเลือดมักจะเจาะใส่ทิวบ์จุกสีเขียวที่มีสารกันเลือดแข็งแฮปปาริน แต่ถ้าไม่มีสามารถใช้ Clotted blood จุกแดงตรวจแทนได้แต่ต้องรีบปั่นแยกเอาซีรัมมาตรวจ การตรวจก็มีหลายเทส เช่น การตรวจ Lipid profile (ต้องอดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนมาเจาะเลือด) ได้แก่ test Total Cholesterol,Triglycerides,HDL-Cholesterol (ไขมันดี),LDL-Cholesterol (ไขมันตัวร้าย มีเยอะเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ) การตรวจการทำงานของตับ Liver function test (AST,ALT,ALP,Total protein,Albumin,Total bilirubin,Direct bilirubin )
ตรวจการทำงานของไต (BUN,Creatinine,eGFRคืออัตราการกรองของไต) อาจจะส่งตรวจ Electrolytes (โซเดียม,โพแทสเซียม,คลอไรต์,คาร์บอนไดออกไซด์) ตรวจระดับนำ้ตาลในเลือด Blood sugar ต้องรีบตรวจวิเคราะห์ เพราะถ้าตั้งทิ้งไปเม็ดเลือดจะต้องใช้นำ้ตาลโดยผ่านกระบวนการ glycolysis สลายนำ้ตาลเป็นพลังงานให้กับเม็ดเลือด เพราะเม็ดเลือดยังมีชีวิต ยังต้องใช้พลังงาน ดังนั้นหากเจาะเลือดใส่ clotted bloodแล้วตั้งทิ้งไว้นาน ค่านำ้ตาลที่ตรวจวิเคราะห์จะดรอปคือมีค่าตำ่กว่าความเป็นจริง อีกทางหนึ่งคือให้เจาะใส่ทิวบ์จุกเทาที่มีสารกันเลือดแข็ง NaFแทน เพราะมันจะไปช่วยยับยั้งกระบวนการ glycolysis ของเม็ดเลือดแดง เป็นต้น
1
โดยในการแปลผลแลป เวลาเราได้ผลมาเรา เราต้องมาเทียบกับค่าของคนปกติ ถ้าเกิดเราได้ค่ามากกว่าคนปกติ หรือน้อยกว่าคนปกติ แสดงว่า ร่างกายเราอาจจะเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ ผลแลปก็จะมีประโยชน์ตรงที่จะเป็นตัวติดตามการรักษาของแพทย์ได้ และในกรณีที่คนไข้ check up หากมีค่าแลปตัวใดผิดปกติ ก็จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การตรวจไขมันในเลือด ถ้าตรวจแล้วระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินเกณฑ์ ค่า LDL ก็สูงเกินเกณฑ์ มีนำ้หนักตัวมาก รอบเอวมาก ก็มีโอกาสเสี่ยงที่อนาคตจะเป็นโรคอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดหัวใจตามมา คำแนะนำคือต้อง ลดละเลิกอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด ขนมหวานที่มีเนยเทียมเป็นส่วนประกอบ
หมายเหตุ ค่าปกติ ของแต่ละเครื่องตรวจวิเคราะห์แต่ละที่ไม่เท่ากัน อาจต่างกันได้เล็กน้อย เพราะขึ้นอยู่กับชนิดนำ้ยา ชนิดของเครื่องที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ ความจำเพาะก็ไม่เท่ากันแล้วแต่บริษัทผู้ผลิต ดังนั้น ในแต่ละห้องปฏิบัติการก็จะมีค่าปกติที่ไม่เท่ากันได้ เมื่อได้ผลแลปมาแล้วเค้ามักจะให้ค่าที่วงเล็บไว้ด้านหลังค่าแลปของเรา ค่านั้นคือค่าปกติ ให้ทุกคนลองดูว่าค่าของเราน้อยหรือสูงกว่าค่าปกติไหม
ตัวอย่าง ค่าปกติ
ส่วนในกรณีที่เจาะเลือดใส่ส่วนทิวบ์ที่มีจุกสีม่วง ภายในทิวบ์จะมีสารกันเลือดแข็ง EDTA จะเหมาะกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด(CBC)และการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี(HbA1C)คือ ตรวจดูนำ้ตาลสะสมภายใน 3 เดือน ว่าควบคุมระดับนำ้ตาลมาดีหรือไม่ โดยค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 4.8-5.9% ถ้ามากกว่านี้แล้วประกอบกับการตรวจ Fasting blood sugar (FBS) คือการอดอาหารประมาณ 8 ชั่วโมงมาตรวจแล้วค่าเกินเกณฑ์เบาหวาน ตัดที่ 126 mg/dL ถ้าเกินก็เข้าเกณฑ์เบาหวาน HbA1C ก็จะสูงมากกว่า 5.9 % ตามเกณฑ์ที่จะเป็นเบาหวาน HbA1C ส่วนใหญ่จะสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% ตามเกณฑ์ของ ADA(American Diabetes Association)แต่ถ้าได้ค่าอยู่ระหว่าง 5.7 ถึง 6.4 % จะแปลผลได้ว่าเริ่มนำ้ตาลปริ่มๆแล้ว ใกล้เป็นเบาหวาน(Pre-diabetes)ถ้าตรวจ Fasting blood sugar (FBS) แล้วค่าก็อยู่ประมาณ 110 mg/dLกว่าก็ควรจะต้องลดหวาน กินหวานให้น้อยลง ถ้าไม่คุมนำ้ตาลให้ลดลง โอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานสูงในอนาคต
อ้างอิงจาก Diagnosis and Management of Diabetes: Synopsis of the 2016 American Diabetes Association Standards of Medical Care in Diabetes
ดังนั้น การตรวจเลือดจึงสำคัญ เพราะช่วยให้เราทราบค่าต่างๆ ที่จะเป็นตัวบ่งบอกให้เราควบคุม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันโรคได้ทันท่วงที แต่หากเกิดพยาธิสภาพมีอาการป่วยขึ้นแล้วก็จะมีประโยชน์ในการติดตามการรักษาของคุณหมอ นอกจากนี้การเตรียมตัวมาเจาะเลือดก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าต้องการตรวจนำ้ตาลก็ต้องอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สามารถจิบน้ำเปล่าได้ แต่ถ้าอยากตรวจไขมันก็ต้องอดอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ส่วนเทสอื่นๆไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ผลเลือดจะถูกต้องแม่นยำมากขึ้น หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำนะทุกคน :)
@ Super lab man_ยอดมนุษย์แลป🔬
17/12/2020
21 บันทึก
15
10
24
21
15
10
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย