17 ธ.ค. 2020 เวลา 23:15 • สุขภาพ
14 พฤติกรรมทำลายสมอง!
1
14 พฤติกรรมทำลายสมอง
1. ไม่รับประทานอาหารเช้า
การไม่รับประทานอาหารเช้าจะทำให้ไม่สดชื่น และส่งผลกระทบต่อสมองและความจำ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ง่าย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำลงอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ก็จะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นไปอีก
เพราะฉะนั้นควรทานอาหารเช้าเป็นประจำกันดีกว่า และควรเลือกเป็นเมนูที่ดีต่อสุขภาพด้วย
แต่!
หากเร่งรีบจริง ๆ ก็อาจทานเป็น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือนมกับขนมปังก็ได้ อย่างน้อยก็ได้ทานอาหารรองท้อง
2. สูบบุหรี่
ในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารพิษอื่น ๆ ที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดหัวใจวายกะทันหัน หลอดเลือดสมองตีบตัน และทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
นอกจากนี้การสูบบุหรี่อาจทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ
โดยการสูบบุหรี่เพียงวันละ 1 - 2 มวน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้ได้รับควันคนอิ่น ๆ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มด้วยเช่นกัน
ซึ่งคนที่เลิกสูบบุหรี่ได้ จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ถึง ร้อยละ 30 - 50
3. อดนอนเป็นประจำ
มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Neuroscience รายงานว่า การอดนอนเรื้อรังเทียบกับการทำงานกะดึกติดต่อกัน 3 วัน โดยมีเวลานอนวันละ 4-5 ชั่วโมง ทำให้เซลล์ locus coeruleus (LC) neurons ในสมองของหนูเสียหายถึง 1 ใน 4 และนับเป็นการศึกษาแรกที่ชี้ให้เห็นว่าการอดนอนเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลาย
มีผลการศึกษาทางการแพทย์รายงานว่าผู้ที่มีปัญหาปวดศีรษะและความจำไม่ดีจำนวนหนึ่ง เมื่อตรวจเอกซเรย์สมองแล้วพบว่ามีหลอดเลือดสมองตีบ และเมื่อสืบประวัติย้อนกลับไปพบว่าจำนวนมากที่มีประวัตินอนไม่พอร่วมด้วย หลังจากที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นอนหลับเพิ่มขึ้นก็พบว่าหลอดเลือดสมองที่ตีบนั้นดีขึ้นเช่นกัน นักวิจัยกำลังศึกษาเรื่องนี้มากขึ้นและอาจมีเหตุผลอธิบายที่ชัดเจนขึ้นในอนาคต
2
การอดนอนจะมีผลต่อการทำงานของสมองในส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานผิดไป เช่น... ที่สมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal Cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูด (Verbal Learning Tasks) แย่ลง ส่วนกลีบสมองบริเวณขมับ (Temporal Lobe) จะทำให้การเรียนรู้ด้านภาษา (Language Processing) ช้าลงอีกด้วย
4. ความเครียด ความวิตกกังวล
ความเครียด ความวิตกกังวล ถ้ามีน้อย ๆ และนาน ๆ ครั้ง จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นในการทำงานได้สำเร็จ
แต่!
หากมีความเครียดมาก บ่อย ๆ และเกิดขึ้นครั้งละนาน ๆ จะทำให้ร่างกายหลั่งสารคอร์ติซอล ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง เช่น... สมองจะรับรู้ และเรียนรู้ได้ช้าลง การทำงานของสมองถูกยับยั้ง ทำลายองค์ประกอบของเซลล์สมองเช่นใยประสาท ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เกิดผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เกิดโรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ เป็นต้น
5. สิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ
การอยู่ในอากาศที่ดีจะทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่อากาศไม่บริสุทธิ์ หรือเต็มไปด้วยภาวะมลพิษทางอากาศตลอดเวลา
6. โทรศัพทืมือถือ
นักวิจัยพบว่า... คลื่นจากมือถือนั้น เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมากมาย อาทิ อัลไซเมอร์ เป็นหมัน มะเร็ง โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ใช้มือถือคุยนาน ๆ เกินวันละ 2 ช.ม. มีอัตราความเสี่ยงที่จะเป็นโรคขี้หลงขี้ลืมก่อนวัยอันควร เพราะคลื่นโทรศัพท์มีผลต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์สมอง และเซลล์สืบพันธุ์ เพราะมีความไวต่อการรับความรู้สึกนั่นเอง
นอกจากนี้การวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัวขณะนอนหลับ คลื่นแม่เหล็กก็จะไปรบกวนสมอง ทำให้สมองทำงานได้น้อยลงด้วย
1
7. โรคประจำตัว บางชนิด
เช่น... เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองหลายโรค โรคหลอดเลือด
ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว ควรรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสีย เพราะการรักษาเมื่อเกิดการทำลายของสมองแล้วจะไม่สามารถทำให้สมองกลับมาทำงานได้สมบรูณ์ตามปกติ และจิตใจจะทำงานผิดปกติไปด้วย
8. ขาดการเข้าสังคม และพบปะผู้คน
การพบปะผู้คนเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท สมอง และกระบวนการจดจำได้เป็นอย่างดี การมีแผนที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ต้องคิด เตรียมตัวอยู่เสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง
การขาดโอกาสในการทำกิจกรรมเหล่านี้จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับรู้ และการเรียกคืนความจำที่ลดลงด้วย
9. การขาดการศึกษา และขาดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ที่เกิดในยุคที่การระบบการศึกษายังไม่พัฒนาเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้มากกว่า
รวมถึงการขาดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ หรือการทำสิ่งใหม่ ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมด้วยเช่นกัน
10. นอนคลุมโปง
เพราะอากาศในผ้าห่มจะไม่ค่อยถ่ายเท อากาศข้างนอกเข้ามาไม่ได้ อากาศในผ้าห่มก็ไม่ถ่ายเท ทำให้มีก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ในผ้าห่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) มาจากอากาศเก่าที่เราหายใจออกมานั่นเองส่งผลให้ อ๊อกซิเจน (O2) เข้าไปเลี้ยงสมอง และร่างกายได้น้อยลง
2
อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ซึ่งหากทำเป็นประจำอาจเกิดเป็นโรคสมองเสื่อมได้ และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง
11. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย
การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว
1
12. ดื่มสุรา หรือ ของมึนเมา
การดื่มสุราและของมึนเมาต่าง ๆ แบบเรื้อรังอาจส่งผลต่อ การทำลายสมอง ในระยะยาวได้
โดยโทษของเหล้ามีการ ทำลายสมอง ในเรื่องของความคิด ความทรงจำ อาการหลอน รวมไปถึงระบบประสาท และในขณะเดียวกันโทษของสุรายังส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจรวมไปถึงระบบเลือดอีกด้วย
13. นอนคว่ำหน้า
ท่านอนที่อันตรายด้วยการนอนคว่ำหน้าระนาบไปกับเตียง จะส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวกถึงขั้นเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ อาจทำให้เป็นการ ทำลายสมอง เมื่อเซลล์สมองตายไปในที่สุด
14. ทานหวานมากเกินไป
เมื่อเรากินหวานจัดปริมาณมากเข้าไป น้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นกลูโคสเข้าร่างกายทันทีในเวลาอันสั้น และร่างกายจะเกิดภาวะเครียด เพราะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง สมองมึนงง ความคิดสับสน และถึงขึ้นเป็นลม หมดสติได้จะอันตรายเป็นอย่างมาก
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา (บทความต้นฉบับ)
เพจ เรื่องดีดี 🙏
<เขียนดี อ่านง่ายมาก ๆ>
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา