20 ธ.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
จำนวนจริง (ตอนที่ 17) เรื่อง ตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ(ต่อ)
คราวที่แล้วเราคุยกันถึง ตัวอย่างของรากที่เป็นจำนวนอตรรกยะ (คือเขียนเป็นจำนวนเศษส่วนอย่างง่ายไม่ได้) หรือ เป็นจำนวนตรรกยะซึ่งเขียนเป็นเศษส่วนอย่างง่ายได้
วันนี้เราจะมาคุยกันต่อครับ
เราสามารถสังเกตุว่าจำนวนที่อยู่ในเครื่องหมาย”ราก”ใด หากเราสามารถถอดเครื่องหมาย “ราก” (หรือที่เราเรียกว่า กรณฑ์) ออกมาได้ จำนวนที่อยู่ภายใต้เครื่องหมาย กรณฑ์นั้นเป็นจำนวน “ตรรกยะ” ถ้าเราไม่สามารถถอดเครื่องหมายของกรณฑ์ออก ได้ จำนวนนั้นเป็นจำนวนอตรรกยะ
ลองดูตัวอย่างในรูปคราวที่แล้ว (ตอนที่ 16) ประกอบครับ
กรณีที่เราไม่สามารถถอดเครื่องหมาย”ราก” (กรณฑ์) ออกได้นั่นคือเราไม่สามารถลดรูปของจำนวนได้ เราเรียกจำนวนที่ติดเครื่องหมาย “ราก”นั้น ว่า เสริด (Surds) ลองดูตัวอย่างครับ
เสริด (Surds) มีทศนิยมที่ไม่รู้จบโดยไม่มีรูปแบบที่ซ้ำกัน เป็นจำนวนอตรรกยะ และ ถูกใช้สำหรับ ราก หรือ กรณฑ์ ที่เป็นจำนวนอตรรกยะ .......
ดังนั้น ราก หรือ กรณฑ์ ที่เป็นจำนวน “ตรรกยะ” ย่อมไม่ใช่เสริด (Surds) เพราะเรา สามารถเขียนเป็นจำนวนอย่างง่ายได้ ดังตัวอย่างข้างบน
เราจะมาคุยกันต่อคราวหน้า ในเรื่องของจำนวนจริง (ตอนที่ 18) เรื่อง การลดรูปของจำนวนที่อยู่ในกรณฑ์ วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 19.00 น. ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา