🚨🚨 Final Call ลดหย่อนภาษี 100,000 แรก 🚨🚨
🍀 วางแผนให้ฟรี
☘️ รับกาแฟฟรีที่ Starbucks ☕️
.
การวางแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง Covid – 19 ซึ่งการเสียภาษีเป็นหนึ่งในรายจ่ายที่เราควรคำนึงถึง หากมีการวางแผนภาษีที่ดีพอ ถ้าเรารู้จักวางแผนในการลดหย่อนภาษีควบคู่กับการบริหารเงินไปพร้อม ๆ กัน จะทำให้เรามีความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้ วันนี้จึงมาแนะนำตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีของทุกท่านให้มีความคุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนกันค่ะ
◾ การคิดภาษีเบื้องต้น ◾
ผู้มีเงินเดือนทุกคนมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีวิธีการคำนวณจาก รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ซึ่งกำหนดให้มีการชำระภาษีแบบขั้นบันได โดยผู้มีเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี หากมีเงินได้สุทธิในช่วง 300,000 บาทขึ้นไปจึงเริ่มคิดภาษี 5% และเพิ่มเป็น 10% , 15% , 20% , 25% และ 30% ตามลำดับเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเงินเดือนสูงจึงยิ่งต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
.
◾ ทำความเข้าใจกับการลดหย่อนภาษี ◾
ดังที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นแล้วว่าแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายในการชำระภาษีที่แตกต่างกันไปตามเงินได้สุทธิ การลดหย่อนภาษีจึงเป็นตัวช่วยในการลดค่าใช้จ่าย หากเราเข้าใจการลดหย่อนภาษีก็จะยิ่งช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการภาษีได้ดีขึ้นและเสียภาษีลดลง ซึ่งจะพามาดูกันค่ะว่าเรามีสิทธิในการลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง
🔹 กลุ่มภาระส่วนตัวครอบครัว
ได้แก่ ผู้ที่มีบุตร คู่สมรส ต้องดูแลบิดา มารดา จะมีสิทธิในการลดหย่อนภาษีดังนี้
1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
1.3 ค่าลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 บาท จะเพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน
1.4 ค่าลดหย่อนพ่อแม่ตนเองและคู่สมรสคนละ 30,000 บาท
1.5 ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
🔹 กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นกลุ่มจากนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ซื้อบ้านหลังแรก สอนค้า OTOP หรือโครงการเพื่อการท่องเที่ยว แต่เนื่องจากวิกฤต Covid - 19ทำให้ในปีนี้ไม่ได้มีนโยบายเหล่านี้ออกมามากนัก แต่ประเทศยังจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ซึ่งอาจมีนโยบายใหม่ออกมาให้ลุ้นในปลายปีนี้กันค่ะ
🔹 กลุ่มการออมและการลงทุน
หากท่านใดมีการวางแผนการเงินที่ดี โดยมีการออมอย่างสม่ำเสมอและมีการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ เป็นการลดภาระให้แก่รัฐบาลในการดูแล จึงมีสิทธิในการลดหย่อนภาษีกลับมาในรูปแบบของประกันและกองทุนต่าง ๆ
.
◾ 4 ตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีในช่วงวิกฤต Covid – 19 ◾
1.กลุ่มประกันต่าง ๆ
เพื่อสนับสนุนให้คนมีหลักประกันที่ดีและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้ ปี 2563 นี้รัฐบาลจึงให้มีการลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท ส่วนเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
เราสามารถลดหย่อนภาษีได้จากการประกันชีวิตทุกประเภท รวมถึงประกันบำนาญและประกันชีวิตบิดามารดา แต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือต้องเลือกประเภทประกันที่ตอบโจทย์เรา โดยคำนึงถึงการชำระเบี้ยและเงินคืนเป็นหลัก
2.กลุ่มกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF
เป็นกองทุนเลี้ยงชีพเพื่อการออมเงินระยะยาวไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ โดยไม่มีเงินปันผล ซึ่งในปี 2563 นี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษี 30 % ของเงินได้ ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ลงทุนไปเรื่อย ๆ ทุกปีจนถึงอายุ 55 ปี นับจากวันที่ซื้อ ซึ่งสามารถลงทุนกับสินทรัพย์ได้ทุกประเภท
3.กลุ่มกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX
เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดทุนไทยดำเนินการโดยองค์กรของรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากกองทุนเพื่อการออม SSF แบบปกติ คือไม่มีข้อจำกัดเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทแบบโดยไม่จำกัดรายได้ ซึ่งจะมีระยะเวลาลงทุน 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
4.กลุ่มกองทุนเพื่อการออม SSF
เป็นกองทุนเพื่อการออมระยะยาว อยู่ในกลุ่มเกษียณเหมือน RMF และยังเป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษี โดยลดหย่อนภาษี 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท มีระยะเวลาลงทุน 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ซึ่งสามารถลงทุนกับสินทรัพย์ทุกประเภท