21 ธ.ค. 2020 เวลา 08:19 • ประวัติศาสตร์
• การปกครองทั้ง 6 แบบ ตามหลักของอริสโตเติล
ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle : 384-322 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นนักปรัชญาและผู้รอบรู้ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของอารยธรรมกรีกโบราณ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองทั้ง 6 แบบ
อริสโตเติล นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของกรีกโบราณ
โดยหลักเกณฑ์ ที่ใช้ในการแบ่งการปกครองออกเป็น 6 แบบของอริสโตเติลนั้น จะพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้งหมด 2 ข้อด้วยกัน คือ
- จำนวนของผู้ที่ปกครอง (คนเดียว, กลุ่มคณะ, ประชาชน)
1
- เป็นการปกครองที่ทำเพื่อส่วนรวม (เป็นการปกครองที่ดี) หรือเป็นการปกครองที่ทำเพื่อตัวเอง (เป็นการปกครองที่ไม่ดี)
4
การปกครองทั้ง 6 แบบ ตามหลักของอริสโตเติลประกอบไปด้วย
• ปกครองโดยคนเดียว
- ทำเพื่อส่วนรวม : ราชาธิปไตย (Monarchy)
เป็นรูปแบบการปกครอง ที่รัฐถูกปกครองโดยผู้ปกครองคนเดียว ผู้ปกครองตามแนวคิดนี้ จะปกครองบ้านเมืองโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและความต้องการของประชาชนเป็นหลัก มีการใช้กฎหมายรวมไปถึงหลักคุณธรรม ในการปกครองบ้านเมือง
Credit : Brewminate
- ทำเพื่อตัวเอง : ทรราชย์ (Tyranny)
เป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกันข้ามกับราชาธิปไตย เพราะการปกครองในรูปแบบนี้ ผู้ปกครองจะกลายเป็นเผด็จการโดยสมบูรณ์ มีความเห็นแก่ตัว ไม่เห็นหัวประชาชน และทำทุกอย่างเพื่อสนองตัณหาของตัวเอง สุดท้ายผู้ปกครองในลักษณะนี้ ก็จะหมดความชอบธรรม และถูกประชาชนโค่นล้มขับไล่
• ปกครองโดยกลุ่มคณะ
- ทำเพื่อส่วนรวม : อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
Credit : Britannica
เป็นรูปแบบการปกครอง ที่มีกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มคณะใดคณะหนึ่งเป็นผู้ที่ปกครองรัฐ โดยกลุ่มบุคคลของอภิชนาธิปไตย ก็คือกลุ่มของพวกชนชั้นสูง หรือพวกอภิสิทธิ์ชน (Aristocrat) อริสโตเติลเชื่อว่าพวกชนชั้นสูงนี้ มีความรู้ความสามารถ และปกครองบ้านเมืองโดยยืดถือประชาชนเป็นหลัก
- ทำเพื่อตัวเอง : คณาธิปไตย (Oligarchy)
2
เป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกันข้ามกับอภิชนาธิปไตย เพราะกลุ่มบุคคลที่ปกครองบ้านเมืองนั้น จะเอื้ออำนวยและแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ไม่คำนึงหรือเอาใจใส่ประชาชนแต่อย่างใด
• ปกครองโดยประชาชน
- ทำเพื่อส่วนรวม : โพลิตี้ (Polity) หรือรัฐบาลที่มีรัฐธรรมนูญ (Constitutional government)
Credit : ThoughtCo
- ทำเพื่อตัวเอง : ประชาธิปไตย (Democracy)
แอดมินเชื่อเลยว่า หลังจากที่ทุกคนอ่านมาถึงจุดนี้แล้ว อาจจะเกิดความสงสัยได้ว่า ทำไมอริสโตเติลถึงมีแนวคิดที่มองว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ไม่ดีได้ล่ะ? แล้วการปกครองแบบโพลิตี้ มันคืออะไรกัน?
เอาเป็นว่าต่อไปนี้ แอดมินจะขออธิบายแบบง่าย ๆ ดังต่อไปนี้นะครับ
ตามแนวคิดของอริสโตเติล เขามองว่าในสังคมของกรีกในสมัยนั้น ประกอบไปด้วยชนชั้นทั้งหมด 3 ชนชั้นด้วยกัน ได้แก่
- ชนชั้นสูงหรือพวกคนร่ำรวย
- ชนชั้นกลาง
- ชนชั้นล่างหรือพวกคนยากจน
พวกชนชั้นสูงหรือพวกที่ร่ำรวย มีสัดส่วนในสังคมของชาวกรีกอยู่น้อยที่สุด อริสโตเติลมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้ มีอุปนิสัยที่มีความเห็นแก่ตัว ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่ชอบใช้เหตุผล
Credit : Onedio
ในขณะที่กลุ่มชนชั้นล่าง ที่ถือได้ว่ามีสัดส่วนในสังคมของชาวกรีกมากที่สุด อริสโตเติลก็มองว่า กลุ่มคนเหล่านี้ ไร้ซึ่งการศึกษา มีความอยากได้อยากมี และมีความโลภที่ไม่สิ้นสุด
ดังนั้นอริสโตเติลจึงเสนอรูปแบบการปกครองที่เรียกว่าโพลิตี้ ซึ่งเป็นการปกครองโดยประชาชนที่อยู่ในชนชั้นกลาง เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ อยู่กึ่งกลางระหว่างพวกชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง มีความรู้ความสามารถ มีความเห็นอกเห็นใจต่อส่วนรวม และเป็นชนชั้นที่ใช้เหตุผลมากที่สุด
การปกครองแบบโพลิตี้ มีหลักสำคัญก็คือการใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้นจึงถือได้ว่าโพลิตี้ เป็นต้นแบบที่สำคัญของการปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) การปกครองที่คำนึงถึงประชาชนและส่วนรวมเป็นหลักสำคัญ
แต่ในขณะที่ประชาธิปไตยตามแนวคิดของอริสโตเติล เป็นการปกครองโดยประชาชนที่มาจากชนชั้นล่าง ซึ่งอริสโตเติลมองว่า หากปล่อยให้ประชาชนกลุ่มนี้มีอำนาจในการปกครองเมื่อใด สังคมจะเกิดความวุ่นวายและไร้ซึ่งกฎระเบียบ
1
ดังนั้นประชาธิปไตยตามแนวคิดของอริสโตเติล จึงเรียกได้อีกอย่างว่า "การปกครองโดยกลุ่มฝูงชน" (Mob Rule)
1
เราจึงสามารถสรุปได้ว่า โพลิตี้ตามแนวคิดของอริสโตเติล ก็คือประชาธิปไตยในรูปแบบปัจจุบันนั่นเอง
Credit : Britannica
และมุมมองทางการเมืองของผู้คนในสมัยกรีกโบราณ เมื่อราว 2 พันกว่าปีก่อนนั้น ก็ย่อมมีความแตกต่างจากมุมมองทางการเมืองของผู้คนในปัจจุบันเช่นเดียวกัน
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา