21 ธ.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
วันที่ 1 กันยายน 1923 เป็นวันที่น่าสะพรึงกลัววันหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แผ่นดินไหวคานโต (The Great Kanto Earthquake) กับชะตากรรมของ Seiko
11:58 น. แผ่นดินไหวขนาดใหญ่รู้สึกใด้จากใต้ท้องทะเลลึกในอ่าวซากามิ ห้าสิบกิโลจากเมืองโตเกียว แต่ต้นตอที่แท้จริงมาจากรอยแยกยาวเกือบร้อยเมตรที่พื้นมหาสมุทร พลังงานมหาศาลถูกปลดปล่อยออกมามุ่งตรงไปท่าเรือโยโกฮาม่า แรงสั่นสะเทือนขนาดใหญ่ทำให้ถนนและท่าเรือพังทลายทั้งรถและคนต่างล้มระเนระนาด
ในไม่กี่อึดใจต่อมาตามมาด้วยคลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่าสิบเมตรทะลักทลายกวาดฝูงชนและบ้านเรือนทุกสิ่งอย่างลงทะเลหมด ตามมาด้วยไฟไหม้ที่ลุกลามทั้งเมืองอย่างรวดเร็ว มีคนเสียชีวิตกว่ 140,000 คนในหายนะที่เกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงครั้งนี้
ทั้งโรงงาน Seikosha และสำนักงานในโตเกียวต่างก็เสียหายจากไฟไหม้ครั้งนี้เกือบจะทั้งหมด
คินทาโร่ ฮัตโตริ ผู้ก่อตั้ง Seikosha ใช้เวลา 3 วันซึมซับกับเรื่องเลวร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ ในวันที่สี่เข้าก็ประกาศออกมาว่าจะฟื้นฟูโรงงานทั้งหมด โชคดีที่เครื่องจักรไม่ใด้ถูกไฟทำลายไปทั้งหมด 60-70%สามารถใช้งานใด้หลังจากการซ่อมแซม เขาและคนงานช่วยกันสร้างโรงงานชั่วคราวขึ้น อีกสองเดือนต่อมาโรงงานก็กลับมาผลิตนาฬิกาต่อใด้อีก
ก่อนเหตุการณ์นี้เขามีนาฬิกาพกของลูกค้ากว่า 1,500 เรือนฝากไว้ที่โรงงานเพื่อซ่อมแซม ชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกทำลายไปเกือบหมดสิ้น คินทาโร่ประกาศว่าเขาจะทดแทนนาฬิกาใหม่ให้ลูกค้าทั้งหมดเป็นการประชาสัมพันธ์แบรนด์ที่เยี่ยมยอดทำให้แบรนด์กลายเป็นที่เชื่อถืออย่างมากของคนทั่วไป
และในหนึ่งปีให้หลังในปี 1924 นาฬิกาชื่อ "ไซโก้" เรือนแรกก็ออกมาสู่สาธาณะชน โชคดีที่นาฬิกาต้นแบบของเรือนนี้รอดมาจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ใด้
แน่นอน“ Seiko” เป็นคำย่อของ“ Seikosha” ซึ่งหมายถึง“บ้านแห่งงานฝีมือประณีต” ในภาษาญี่ปุ่น การใช้ชื่อที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแสดงให้เห็นว่าคินทาโร่มีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเขาแม้ว่าในสมัยนั้นจะมีความเชื่อที่แพร่หลายว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในชาติตะวันตกนั้นเป็นของที่ดีกว่าก็ตาม
#เรื่องเล่านาฬิกา
โฆษณา