21 ธ.ค. 2020 เวลา 11:07 • สุขภาพ
อะไรคือ "ระบาดระลอกใหม่"
หลายคนสงสัยอะไรคือการระบาดระลอกใหม่ ทำไมไม่เรียกว่า ระบาดระลอก 2 ต่างกันอย่างไร เพราะอะไรจึงเรียกว่าการระบาดระลอกใหม่
“จากการหารือกับคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การระบาดครั้งนี้ ไม่ใช่การระบาดระลอกสอง แต่เป็นการระบาดระลอกใหม่”
นี่คือคำพูดของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ในการแถลงข่าว วันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา
1
คำตอบนี้สร้างความงุนงงให้กับประชาชนจำนวนมาก และมองว่าเป็นคำตอบเลี่ยงบาลี เพื่อลดความวิตกกังวลของสังคม
ไทยพีบีเอสออนไลน์ค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบ อะไรคือ “การระบาดระลอกใหม่”
1
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข ด้านต่างประเทศ ได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายในเวที “Visual Policy Forum : เตรียมพร้อมอย่างไรกับการระบาดรอบที่สองของ COVID-19” ซึ่งจัดโดยสำนักข่าว Hfocus ร่วมกับ ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ หรือ The Active สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2563 ที่ผ่านมา
1
โดย นพ.สุวิทย์ สรุปสาระสำคัญ ไว้ดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 ฟันธงได้เลยว่า “การระบาดระลอกใหม่” จะมีแน่ และน่าจะภายในปีนี้ (2563) หรืออาจจะภายในเดือนกันยายน คืออีกสองเดือนข้างหน้า ส่วนจะรุนแรงแค่ไหน ขึ้นกับปัจจัย 3 ประการ
ประเทศทั่วโลกขณะนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ระบาดแล้วและยังระบาดอยู่ ที่เด่น ๆ ก็ สหรัฐอเมริกา บราซิล ใกล้ประเทศไทย เช่น อินเดีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
2
กลุ่มที่ 2 ระบาดแล้วคุมได้แล้ว และยังไม่ระบาดใหม่ เช่น จีน ไต้หวัน ไทย รวมทั้งอิตาลี และยุโรป หลายประเทศที่เคยระบาดหนักมาแล้ว
1
กลุ่มที่ 3 ระบาดแล้วคุมได้แล้ว และมีการระบาดระลอกใหม่แล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น อิสราเอล และ โครเอเชีย แม้จะยังไม่ชัด แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงเท่าหรือมากกว่าเก่า
ในการเสวนาครั้งนั้น เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา วงเสวนาระบุว่า
ประเทศทั่วโลกเริ่มจากกลุ่มหนึ่ง ไปสอง และไปสาม ไทยเราอยู่กลุ่มที่สอง จึงมีโอกาสสูงที่จะไปสู่กลุ่มที่สามได้
ซึ่งหากวัดจากคำแถลงของ นพ.ทวีศิลป์ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็นับได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่กลุ่มที่สามแล้ว
1
นพ.สุวิทย์ยังสรุปต่อว่า
เราไม่สามารถปิดเมืองปิดประเทศไปตลอด เพราะผลกระทบเศรษฐกิจ รุนแรงมาก และแม้จะปิดประเทศทางอากาศได้ ก็ยังมีความเสี่ยง จากชายแดนทางบก โดยเฉพาะสหภาพเมียนมา ที่ติดกับบังคลาเทศ และอินเดีย และทางน้ำจากชาวประมงที่ไปจับปลาในน่านน้ำ มหาสมุทรอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
3
ส่วนการเปิดเมืองที่มีความเสี่ยงที่สุดคือ สนามมวย สนามกีฬา ผับ/บาร์ การรวมกลุ่มผู้คนในด้านสังคมต่าง ๆ
2
ความรุนแรงจะขึ้นกับว่า
1.เราจะเปิดเมืองและเปิดประเทศอย่างไร เร็วและระมัดระวังแค่ไหน และมีเงื่อนไขอย่างไร และเข้มงวดกับเงื่อนไขแค่ไหน
2.ขีดความสามารถในการสอบสวนหาคนติดเชื้อและผู้สัมผัสโรค เพื่อนำไปรักษา แยกโรค และกักตัว จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งการอาจมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิดด้วย
2
3.ประชาชนไทยยังมั่นคงในความร่วมมือกันที่จะป้องกัน การระบาดแบบที่เราทำได้ดีมาตลอด 4-5 เดือน ได้มากน้อยแค่ไหน
“สถานการณ์ที่น่าจะดีที่สุด เมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่คือ แบบประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาคือ มีผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศทุกวัน แต่ไม่เกินความสามารถของระบบสุขภาพของประเทศที่จะรองรับได้”
ข้อสรุปที่ 2 หากเกิดการระบาดระลอกใหม่ ระบบบริการสุขภาพ จะสามารถรองรับได้หากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 250 หรือสูงสุดไม่เกิน 500 คนต่อวัน
“เรามีเตียงรับผู้ป่วยโควิดอาการหนัก พร้อมแพทย์พยาบาลที่ได้ฝึกมาอย่างดี และมีประสบการณ์จากการระบาดรอบแรกแล้ว พร้อมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในการรักษาและป้องกันตนเองครบ ราว 500 เตียง และหากจำเป็นอาจเพิ่มได้ถึง 1,000 เตียง”
ถ้าคิดว่าผู้ติดเชื้อ 100 คนจะมีอาการหนัก 5 คน และแต่ละคนนอน 40 วัน เราจะสามารถรองรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ วันละ 250-500 คน
“ดังนั้นหากการระบาดระลอกใหม่ ทำให้มีผู้ติดเชื้อวันละไม่เกิน 500 คน ระบบบริการสุขภาพของเรารองรับได้”
ในการระบาดรอบที่แล้ว มีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละราว 100 คน แปลว่า เราสามารถรองรับการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิมถึง 2.5-5 เท่าได้ และนอกจากนี้ เรายังมีทักษะในการดูแลรักษาดีขึ้น สังเกตว่า ระยะหลัง ๆ ไม่ค่อยมีคนเสียชีวิต ตัวเลขติดอยู่ที่ 58 คนมานานแล้ว แม้จะยังมีผู้ติดเชื้อใหม่ทุกวัน
1
แต่เราคงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น และคณะแพทย์พยาบาล เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาที่ต้องคอยสอบสวน หาผู้สัมผัสโรคและนำไปกักตัวไว้ จะต้องทำงานกันหนักอีกครั้งหนึ่ง
2
ข้อสรุปที่ 3 จะมีวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันและรักษาโควิดเมื่อใด ไม่มีใครบอกได้ คาดว่าอย่างเร็วก็ปลายปีนี้ หรือภายในกลางปีหน้า อาจมีวัคซีนหรืออาจไม่มีในระยะเวลาอันใกล้ก็ได้
2
ขณะนี้วัคซีนยังอยู่ระหว่างการวิจัย ในระยะต่าง ๆ กัน ไม่มีใครทราบว่าเมื่อไรจะมีวัคซีนที่ได้ผลอย่างน้อย 50 % ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอาจจะเริ่มมีวัคซีนบางตัวออกมาภายในปีนี้ และมีหลายตัวจะออกมาในปีหน้า แต่ไม่มีใครกล้าฟันธงว่าจะมีเมื่อไร
1
ที่สำคัญคือ เมื่อมีวัคซีนที่ได้ผลแล้ว ประเทศไทยจะได้รับและคนไทยจะได้ใช้เมื่อไร องค์กรระดับโลกร่วมกันตั้งเป้าหมายว่า ภายในปีหน้า (2564) จะจัดหาวัคซีนให้กับประเทศกำลังพัฒนาได้ 20 % ของประชากร คือราว 2,000 ล้านโดส
2
ขณะที่ เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ 28 ส.ค.2563 ระบุในบทความเรื่อง โควิดสายพันธุ์ G จุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกใหม่?
ซึ่งมีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า หลายคนกังวลว่า วัคซีนเพียงแค่ตัวเดียวจะสามารถจัดการกับ COVID-19 ได้ทุกสายพันธุ์หรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ มักมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดิม ซึ่งความคิดนี้มีความคลาดเคลื่อน
2
เนื่องจากวิวัฒนาการของเชื้อไวรัส COVID-19 การแยกสายพันธุ์ของไวรัสเกิดจากวิวัฒนาการของเชื้อ
1
“ไวรัสเริ่มต้นจากจีนจะมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ S (Serine) และสายพันธุ์ L (Leucine) สายพันธุ์ L แพร่กระจายมีลูกหลานได้มากกว่าสายพันธุ์ S”
โดยเฉพาะเมื่อออกนอกจีนไปถึงยุโรป สายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ดี ออกลูกหลาน เป็นสายพันธุ์ G (Glycine) และสายพันธุ์ V (Valine)
1
“สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่ายตามหลักวิวัฒนาการ จึงกระจายไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง มีลูกหลานของสายพันธุ์ G มาเป็นสายพันธุ์ GR (Arginine) และ GH (Histidine)”
“นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่า สายพันธุ์ G ระบาดได้ง่าย แพร่กระจายได้เร็ว แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคและระบบภูมิต้านทาน ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน”
ขณะนี้ (ส.ค.2563) อัตราการแพร่ระบาดสายพันธุ์ G เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมาเป็นเกือบ 90 % ดังนั้นสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก จึงเป็นสายพันธุ์ G
1
“ในประเทศไทยระบาดระลอกแรก แม้จะพบได้ทุกสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์หลักที่ระบาด เป็นสายพันธุ์ S”
โดยสายพันธุ์นี้ได้หายไปแล้ว เนื่องจากมาตรการป้องกันโรคของประเทศไทย เป็นไปในทิศทางที่ดี ไม่ให้แพร่กระจาย รวมถึงไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยนานกว่า 100 วัน
1
“ส่วนการตรวจไวรัสในผู้ที่อยู่ในที่กักกันของรัฐ หรือที่เรียกว่า State quarantine โดยศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสของจุฬาฯ พบว่า เป็นสายพันธุ์ G เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา”
1
สายพันธุ์นี้ไม่เกี่ยวข้องที่จะทำให้โรครุนแรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทาน เพียงแต่มีการกระจายได้ง่าย
3
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าในขณะนี้โควิด-19 จะมีกี่สายพันธุ์ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ระยะฟักตัว ซึ่งจะเป็น 2 ถึง 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมาก ถึง 21 วัน
1
ดังนั้นในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันการกระจายโรค และให้ป้องกันตัวเองจากโรคอย่างเข้มงวด ทั้งสวมหน้ากาก ล้างมือ
1
ถึงวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาอีกกว่าพันคน ตรวจพบเฉพาะที่ จ.สมุทรสาคร 821 คน และยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบอีกจำนวนมาก
ถ้าย้อนกลับไปดูที่ นพ.สุวิทย์สรุปไว้จากวงเสวนาข้างต้นจะพบว่า ประเทศไทย น่าจะเดินไปสู่กลุ่มที่ 3 แล้ว คือ ระบาดแล้วควบคุมได้ และเริ่มระบาดระบอกใหม่แล้ว
4
หรือหากมองอีกมุมหนึ่งไม่ว่า “จะเป็นการระบาดระลอก 2 หรือไม่” อาจไม่ใช่สาระสำคัญอีกต่อไปแล้ว
สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ ทุกคนควรเฝ้าระวังสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อหยุดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19
1
คลายข้อสงสัย : อะไรคือ "ระบาดระลอกใหม่"
โฆษณา