22 ธ.ค. 2020 เวลา 03:30 • ธุรกิจ
The Chocolate Factory ร้านขนม 200 ล้าน ที่ใช้กลยุทธ์ความแตกต่าง
ถ้าอยากจับกลุ่มสินค้าราคาพรีเมียม
คนทั่วไปอาจเลือกเริ่มต้นธุรกิจในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ
แล้วค่อยขยายไปสู่พื้นที่อื่นของประเทศ
แต่ร้าน The Chocolate Factory ไม่ได้คิดอย่างนั้น
เพราะร้านนี้ประสบความสำเร็จจากเขาใหญ่ พัทยา และหัวหิน ทำรายได้มากกว่า 200 ล้านบาท
จนคนกรุงเทพฯ ต้องพากันไปใช้บริการ ก่อนจะเริ่มก้าวเข้ามาทำตลาดในกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง
2
แล้วเรื่องราวของ The Chocolate Factory น่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
2
The Chocolate Factory ก่อตั้งขึ้นในปี 2556
โดยคุณน้ำหนึ่ง เอี่ยมเจริญยิ่ง และครอบครัว
จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจขนมของคุณน้ำหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว
ซึ่งเธอมักจะใช้เวลาทำขนมร่วมกับพี่น้องอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ของเธอจึงได้ผลักดันให้เธอทำขนมเค้กไปวางขาย
และเปิดเป็นร้านขนมเล็กๆ ที่เขาใหญ่ อยู่ช่วงหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า “piece of cake”
ต่อมา คุณน้ำหนึ่ง ก็ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษ ด้านบัญชีและการเงิน ที่ University of Warwick
หลังเรียนจบ คุณน้ำหนึ่งก็กลับมายังประเทศไทย และเข้าทำงานที่ธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง
1
แต่ทว่าครอบครัวของคุณน้ำหนึ่งกลับอยากให้คุณน้ำหนึ่งมีธุรกิจเป็นของตัวเองมากกว่า
1
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ คุณน้ำหนึ่งและครอบครัวจึงเริ่มวางแผนว่าร้านที่กำลังจะเปิดควรเป็นแบบไหน
พวกเขาจึงนึกย้อนกลับไปในขณะที่คุณน้ำหนึ่ง และพี่น้องเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ
2
โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อและคุณแม่ของเธอแวะไปเยี่ยม
และทั้งครอบครัวได้ขับรถท่องเที่ยวในยุโรปด้วยกัน
ทำให้คุณน้ำหนึ่งได้เห็นธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ร้านคราฟต์ช็อกโกแลต”
2
ยิ่งในสวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยียม ก็จะมีร้านคราฟต์ช็อกโกแลตตั้งอยู่เรียงรายในทุกๆ เมือง
เสมือนกับร้านกาแฟที่ตั้งอยู่ทุกหัวมุมถนนของไทย
1
โดยในแต่ละร้านคราฟต์ช็อกโกแลต จะไม่ใช่แค่การรับช็อกโกแลตจากโรงงานมาวางขาย เหมือนตามซูเปอร์มาร์เกต ซึ่งส่วนใหญ่ช็อกโกแลตเหล่านั้น จะมีส่วนผสมหลักคือ น้ำตาล
2
แต่สำหรับร้านคราฟต์ช็อกโกแลต จะเป็นช็อกโกแลตแท้ๆ และเน้นไปที่การชูรสชาติของช็อกโกแลต มากกว่าการเทน้ำตาลและส่วนผสมอื่น ซึ่งจะทำให้กลบรสของช็อกโกแลต
นอกจากนี้ร้านคราฟต์ช็อกโกแลต ยังมีโกโก้หรือช็อกโกแลตให้เลือกจากหลากหลายแหล่ง
และที่สำคัญ ช็อกโกแลตทุกชิ้น จะถูกผลิต และขึ้นรูป (Tempering) ด้วยมือ
2
ด้วยลักษณะของธุรกิจร้านคราฟต์ช็อกโกแลต ที่น่าสนใจ
และยังใหม่มากสำหรับประเทศไทยในสมัยนั้น ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคช็อกโกแลตเริ่มแพร่หลายมาในเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น
1
คุณน้ำหนึ่งจึงเล็งเห็นว่าในอีกไม่ช้า กระแสนี้ย่อมจะเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน
ซึ่งเธอจึงกลับมาคิดทบทวน และให้คนในครอบครัวช่วยกันระดมสมอง
จนในที่สุดก็เกิดเป็นร้าน The Chocolate Factory
3
โดย The Chocolate Factory เปิดให้บริการครั้งแรกที่เขาใหญ่ ในปลายปี 2556
1
ซึ่งสาเหตุที่เลือกเปิดร้านที่นี่ก็เพราะ เขาใหญ่เป็นที่ซึ่งเธอมักจะใช้เวลาอยู่กับครอบครัว
คุณน้ำหนึ่ง จึงอยากให้ร้านนี้ เป็นสถานที่ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เวลากับครอบครัวเช่นกัน
The Chocolate Factory มาพร้อมกับคอนเซปต์ “คราฟต์ช็อกโกแลต” ที่มีช็อกโกแลตนำเข้าจากหลายประเทศมาให้ลูกค้าเลือก
พร้อมกับการทำครัวแบบใส เพื่อให้ลูกค้าสามารถมองเห็นขั้นตอนการทำช็อกโกแลต ราวกับหลุดเข้ามาในโรงงานช็อกโกแลตขนาดย่อม
2
นอกจากนี้ ทางร้านยังสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ
ได้ทดลองทำช็อกโกแลตด้วยตัวเองอีกด้วย
ในทางกลับกัน ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว
ร้านสไตล์ The Chocolate Factory ยังเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับประเทศไทย
ซึ่งนี่ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับร้าน The Chocolate Factory พอสมควร
เพราะถ้าหากเปิดไปแล้วคนไทยไม่ชอบ หรือมีกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบค่อนข้างเล็ก ก็อาจทำให้ธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้
2
แต่เหตุผลที่ทำให้คุณน้ำหนึ่งกล้าที่จะตัดสินใจทำธุรกิจนี้ ก็เป็นเพราะคุณน้ำหนึ่งอยากทำในสิ่งที่มีคนทำน้อย และอยากเป็นผู้บุกเบิก ถึงแม้ว่าการเดินในเส้นทางนี้อาจจะเหนื่อย แต่เธอก็มั่นใจในผลลัพธ์
2
ซึ่งสิ่งที่เธอคิด ดูเหมือนว่าจะมาได้ถูกทาง
เพราะในปีแรกที่เปิดร้าน The Chocolate Factory ที่เขาใหญ่
ร้านก็ได้รับการตอบรับดี เกินว่าที่คุณน้ำหนึ่งคิดไว้
ผู้คนต่างพากันมาใช้บริการจนเต็มร้าน และพูดกันปากต่อปาก
จนทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
2
ปี 2557 รายได้ 29 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 42 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 116 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 213 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 269 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 283 ล้านบาท
4
ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมานี้ รายได้ของบริษัทเติบโตเฉลี่ยถึง 58%
โดยหลังจากที่ร้านสาขาเขาใหญ่เริ่มมีชื่อเสียง
ก็ทำให้มีผู้คนจากจังหวัดอื่นๆ ติดต่อเข้ามาเพื่อเสนอพื้นที่ให้ไปเปิดร้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
1
เพราะกลุ่มลูกค้าหลักของ The Chocolate Factory
คือ “กลุ่มครอบครัว” และ “นักท่องเที่ยว”
จุดขายของร้านก็เป็นทั้ง ร้านขนม ของฝาก และอาหาร
จึงกลายเป็นแหล่งที่ลูกค้า จะซื้อขนมติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่รู้จัก
และเรื่องนี้ ก็ยังเป็นเหมือนการโฆษณาให้ร้านไปในตัว
ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา The Chocolate Factory
ก็เป็นแบรนด์ที่ไม่ค่อยได้ทำการตลาดมากนัก
1
ส่วนใหญ่จะแค่ เป็นการแนะนำให้ลูกค้าได้รู้จักตัวตนของร้าน และให้พวกเขาได้มาสัมผัสประสบการณ์ ซึ่งถ้าสินค้าและบริการดีจริง ลูกค้าก็จะทำหน้าที่เป็นคนโฆษณาให้กับร้านเอง
4
และในปีนี้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต้องเผชิญปัญหาอย่างหนักจาก COVID-19
แต่สำหรับ The Chocolate Factory ที่ก็พึ่งพาลูกค้านักท่องเที่ยวเป็นหลักเช่นกัน กลับไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนัก
เพราะแม้ว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ยังมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากกลุ่มคนไทยที่นิยมไปเที่ยวต่างประเทศ หันมาท่องเที่ยวในประเทศกันมากขึ้น
ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ก็ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออีกด้วย จึงยิ่งส่งผลดีให้กับร้านมากขึ้นไปอีก
นอกจากนั้น The Chocolate Factory ยังใช้โอกาสนี้ ทำในสิ่งที่ต่างออกไป
นั่นก็คือ การเริ่มขยายสาขาเข้ามาในกรุงเทพฯ อย่างรวดเร็ว
ทั้งสาขา เมกาบางนา, แฟชั่นไอส์แลนด์ และเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว
เมื่อสถานการณ์รอบๆ เปลี่ยน คุณน้ำหนึ่งจึงเลือกปรับโมเดลธุรกิจใหม่ไปด้วย
จากการตั้งสาขาสแตนด์อโลน ขนาดใหญ่ ที่มีพร้อมทั้งอาหารและขนม เป็นการเน้นเปิดสาขาแบบคาเฟ่เล็กๆ อยู่ตามห้างสำคัญในกรุงเทพฯ
เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่ และขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น
2
และยังเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าในกรุงเทพฯ
สามารถมาใช้บริการได้โดยไม่ต้องรอไปถึงต่างจังหวัด
2
อ่านมาถึงตรงนี้ เรื่องราวของคุณน้ำหนึ่ง และ The Chocolate Factory
ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีสำหรับใครหลายๆ คน
เธอมองเห็นสิ่งที่เมืองไทยยังขาด นั่นก็คือร้านช็อกโกแลตที่มีการนำเสนอแบบใหม่ ไว้เป็นจุดแวะพักสำหรับนักท่องเที่ยว
วิธีคิดของเธอเป็นตัวอย่างของการหาสิ่งที่แตกต่าง หรือกลยุทธ์ที่เรียกว่า Differentiation ซึ่งถ้าความแตกต่างนี้มันตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจริง มันก็จะสำเร็จเหมือน The Chocolate Factory..
2
Reference:
-สัมภาษณ์โดยตรงกับ The Chocolate Factory
โฆษณา