22 ธ.ค. 2020 เวลา 01:18 • ธุรกิจ
[สรุป] NO RULES RULES กฎที่ไม่มีกฎ
หลักการบริหารองค์กรด้วยแนวคิดอิสระแบบสุดโต่ง ของ Netflix
1
ลาพักร้อนกี่วันก็ได้ - นั่ง Business Class ไปทำงานแล้วมาเบิกก็ได้ - เงินเดือนสูงที่สุดในตลาด - ตำแหน่งเล็กแต่มีอำนาจตัดสินใจแบบไม่จำกัดวงเงิน - บริหารแบบหลวมๆแต่ไปในทิศทางเดียวกัน
1
นี่คือความอิสระที่คุณจะได้รับในการทำงานกับ Netflix แต่ก็ต้องแลกมาด้วยผลงานระดับ Top เพราะ ถ้าความสามารถคุณไม่ถึง Netflix พร้อมจะเชิญออกและให้ค่าชดเชยที่สมน้ำสมเนื้อแน่นอน
และนี่คือเรื่องราวการบริหารแบบแหวกแนว ที่ได้จากการอ่านหนังสือ NO RULES RULES ที่ผมจะนำมา”เล่า”ให้ฟังกันวันนี้ครับ
1
Freedom & Responsibility (F&R)- ความอิสระที่มาพร้อมความรับผิดชอบ
หลักการนี้คือหลักการที่เป็น Core Culture ของ Netflix เลยครับ เมื่อทุกคนมีความรับผิดชอบที่สูงพอ Reed (CEO) ก็พร้อมที่จะให้อิสระในการทำงาน เพื่อให้เป็นประโยชน์กับองค์กร
เพราะเค้าเชื่อว่าองค์กรอย่าง Netflix ที่ต้องการนวัตกรรม (Innovation) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยอย่างรวดเร็วนั้น เหมาะกับการบริหารแบบอิสระนี้มากกว่าการตีกรอบให้พนักงานแบบบริษัททั่วๆไป
การที่จะให้อิสระใครซักคนในการทำงาน คนๆนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบเสียก่อน ไม่เช่นนั้น อิสระที่ให้ไปจะวกกลับมาทำลายบริษัทอย่างแน่นอน
1
ยกตัวอย่างเช่น Netflix เองก็เคยเจอพนักงานแบบขี้โกง ที่ใช้ความอิสระที่ได้มาเพื่อประโยชน์ของตนเอง ทั้งพาครอบครัวไปทำงานต่างประเทศด้วยแล้วแอบเอามาเบิกบริษัท หรือ จัด Meeting กันที่ร้านอาหารหรูระดับ Michelin แล้วกลับมาเบิกบริษัทเช่นกัน
3
*** ที่ผมยกตัวอย่างด้านลบของระบบนี้มา เพราะก่อนจะอ่านผมก็คิดแบบนี้เช่นกันครับ ว่าเห้ย ถ้าเราให้อิสระขนาดนั้นแล้วมันจะไม่กระทบบริษัทหรอ ?
มันกระทบแน่นอนครับ ยิ่งคนใช้อิสระในทางที่ผิดเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลเสียกับองค์กรเท่านั้น แต่ที่ Netflix ที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาหลายปี ทำให้ Reed สามารถหาวิธีที่ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินไปด้วยความอิสระได้
3
อย่างแรกคือใช้แนวคิดที่ว่า การตัดสินใจที่อิสระทุกอย่างนั้นต้องทำไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของ Netflix (Act in Netflix Best Interest) ร่วมกับปัจจัยหลัก 2 ข้ออย่าง Talent Density และ Candor (Feedback) นั่นเองครับ
Talent Density - ความหนาแน่นของคนเก่ง
หรือก็คือจะต้องเป็นองค์กรที่มีคนเก่งอยู่รวมกันเยอะๆครับ เพราะ Reed เชื่อว่า ยิ่งนำคนเก่งมาอยู่รวมกันได้มากเท่าไหร่ คนเก่งเหล่านั้นจะยิ่งผลักดันคนอื่นๆให้เก่งมากขึ้นไปเรื่อยๆนั่นเองครับ
*** จริงๆแนวคิดนี้ Reed ได้มาโดยบังเอิญเพราะบริษัทประสบปัญหาหนักจนต้อง lay off พนักงานออกไปส่วนนึง จึงจำเป็นต้องคัดเลิอกเฉพาะคนที่มีความสามารถสูงเอาไว้ นั่นส่งผลให้บรรยากาศและประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทกลับดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
นั่นจึงไปกระตุ้นแนวคิดการบริหารแบบอิสระ Freedom & Responsibility ของ Reed มากขึ้นไปอีกครับ เพราะเค้าสังเกตเห็นแล้วว่าถ้าคนของเค้าเก่งพอเค้าจะสามารถให้อิสระในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ออกมาได้ด้วย
นำไปสู่หลักการในการเพิ่ม Talent Density ของ Netflix ทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่
- Great work Place is Stunning Colleagues : เลือกเฉพาะคนที่เก่ง ระดับ top เท่านั้น
เพราะมีการวิจัยสนับสนุนว่า ถ้าในทีมคุณมีคนที่ทำงานปกติ หรือทำงานแย่ๆ อยู่มันจะไปฉุดการทำงานของทั้งทีมให้ช้าลงไป 30-40%
1
- Pay Top of Personal Market : จ่ายเงินเดือนให้สูงที่สุดของตำแหน่งงานนั้นๆ
1
ทุกตำแหน่งงานจะมีความต้องการในตลาดอยู่ ถ้าคุณต้องการพนักงานระดับ top ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ในระดับ top ด้วยเช่นกัน เพื่อจูงใจ ปละป้องกันการโดนแย่งพนักงานไปในตัว
1
- The Keeper Test : ตั้งคำถามกับพนักงานทุกคนว่า ถ้าเค้าจะลาออกเราจะอยากยื้อเค้าไว้หรือไม่ ?
2
คำถามนี้จะใช้เพื่อทดสอบว่าพนักงานที่เรามีอยู่นั้น อยู่ในระดับสูงพอที่จะรั้งไว้ที่บริษัทหรือไม่ ? ถ้าไม่ดีพอ Netflix ก็ไม่รีรอที่จะเชิญออกและให้ค่าชดเชยที่สมน้ำสมเนื้อ เพราะ Reed ต้องการที่จะจ้างคนที่เก่งที่สุดของทุกๆสายงานอยู่แล้ว
ส่งผลให้พนักงานเองก็ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นก็เตรียมหางานใหม่ได้เลยครับ
1
Candor / Feedback - ให้คำแนะนำกันอย่างเปิดเผย และจริงใจ
อีกปัจจัยนึงที่จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานนั้นดี และสามารถมอบอิสระแก่หนักงานได้นั้นคือการให้ Feedback กันอย่างตรงไปตรงมา
อะไรดีก็สนับสนุน อะไรไม่ดีก็ต้องปรับปรุง แบบ Real Time เลย นั่นจะทำให้พนักงานทุกคนสนับสนุนและส่งเสริมกันในทางที่ดี และมีประโยชน์กับองค์กรในภาพรวม
*** ที่ผมเน้นว่า Real-Time นั่นเพราะยิ่งการให้ Feedback เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี คุณอาจจะฟังผู้บริหารพูดอยู่ในห้องสัมมนาแล้วเห็นข้อผิดพลาด หลายคนอาจคิดว่ารอให้จบงานแล้วค่อยไปให้ Feedback ก็ได้ แต่ Netflix จะสนับสนุนให้คุณยกมือบอกตอนนั้นเลย/ตอนพักเบรคก็ได้เช่นกัน ซึ่งชาวอเมริกันจะไม่ถือว่าเป็นการหักหน้ากันเท่าชาวเอเชียบ้านเราครับ
4
หลัการในการให้ Feedback นั้นมีดังนี้
- Say What You Really Think : คิดอะไรให้พูดออกไปแบบนั้นเลย
แต่ไม่ใช่ว่าพูดว่าคนอื่นเสียๆหายๆได้นะครับ การตำหนิ หรือให้ feedback ใดๆจัต้องอยู่ในพื้นฐานของการให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาการทำงาน โดยจะยึดหลัก 4A คือ
1
ผู้ให้จะต้อง Aim to Assist (มีเป้าหมายในทางที่ดี), Actionable (เป็นคำแนะนำที่ทำได้จริง)
1
ส่วนผู้รับก็ต้อง Appreciate (เชื่อ และรับฟังอย่างจริงใจ) และ Accept/Discard (เลือกคำแนะนำที่ดีไปใช้ ส่วนที่ไม่ดีก็ปล่อยผ่านไป)
1
- Open The Books : ทำตัวให้โปร่งใสเหมือนหนังสือที่เปิดอยู่ตลอดเวลา
ความโปร่งใสคือปัจจัยสำคัญของวัฒนธรรมแบบ F&R ที่เน้นหลักๆคือความโปร่งใส่ในเรื่องของการทำงานและเชิญออก ถ้าผู้บริหารตัดสินใจผิดพลาด จะต้องบอกให้ทุกคนรู้ว่าตนผิดพลาดตรงไหนและรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
หรือถ้าพนักงานคนไหนถูกเชิญออก ทางผู้บริหารจะมีการบอกล่วงหน้า และจะชี้แจงเหตุผลของการเชิญออกอย่างเปิดเผย เช่นผลงานไม่ดี, ทุจริต หรือ ปัญหาสุขภาพ เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย คนที่ยังอยู่ก็จะรู้ว่าจะต้องไม่เอาเป็นแบบอย่างในสิ่งที่ไม่ดี
3
- A Circle of Feedback : ให้ Feedback กันในกลุ่มอยู่เป็นประจำ
1
การให้คำแนะนำกันในกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้น Netflix จึงจัดให้มีการล้อมวงเพื่อแจ้ง Feedback กันเป็นประจำ ซึ่งมักจะกินเวลานานหลาย ชม.
อาจจะไปทำให้เวลาทำงานลดลงแต่ผลที่ได้รับนั้นดีมาก เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งทีมได้อย่างดีเยี่ยม
2
Remove Controls - ลดกฎเกณฑ์และการควบคุมให้น้อยที่สุด
เมื่อองค์กรมีทั้ง Talent Density และ การให้ Feedback ที่ดี จึงทำให้สามารถใช้หลักการบริหารแบบ Freedom & Responsibility ได้ จึงนำไปสู่การลดการควบคุม ลดกฎเกณฑ์ต่างๆที่ตีกรอบพนักงานออกไป และมอบอิสระในการทำงานและการตัดสินใจให้มากขึ้น เพื่อเพิ่ม Creativity ในการทำงาน
กฎเกณฑ์ต่างๆที่ Netflix เอาออกไปมีดังนี้ครับ
- Remove Vacation Policy : ไม่มีนโยบายการลาพักร้อน หมายความว่าจะลากี่วันก็ได้
เพราะ Reed มองว่าการจำกัดวันลาเป็นการไม่ให้อิสระกับพนักงาน จึงนำกฎข้อนี้ออกไปเลย ทำให้จะลากี่วันก็ได้แต่งานต้องเสร็จ ในช่วงแรกๆพนักงานก็ไม่ค่อยกล้าลากันเท่าไหร่ Reed จึงกระตุ้นให้ผู้บริหารทำเป็นตัวอย่าง แล้วกลับมาชวนให้พนักงานออกไปเที่ยวกันมากขึ้นด้วย
6
- Remove Travel and Expense Approval : เอากฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางและทำงานออก
แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องอยู่ภายใต้ Best Interest of Netflix เช่น สามารถนั่ง Business Class ไปทำงานต่างประเทศได้ แต่ต้องมีเหตุผล เช่นเป็นการบินข้ามคืนแล้วต้องไปทำงานต่อทันทีไม่ได้พักผ่อน เป็นต้น ถ้าเป็นกร๊ที่ไม่ได้จำเป็นและเร่งด่วน Netflix จะให้บินแบบ Economy ไปก่อนหนึ่งวัน และยอมออกค่าที่พักให้แทน
- No Decision-Making Approval Needs : การตัดสินใจต่างๆไม่ต้องขอคำอนุมัติจากหัวหน้า
1
ใครรับผิดชอบงานไหน ก็สามารถตัดสินในงานของตัวเองได้เลย เพราะการมารอให้คนข้างบนตัดสินใจนั้นนอกจากจะเสียเวลาแล้ว บางเรื่องคนหน้างานจะมีความเชียวชาญมากกว่าด้วย ยกตัวอย่างเช่น การตัดสินใจซื้อสารคดี Icarus ที่จ่ายไป 4.6 ล้านดอลลาร์ ก็เป็นการตัดสินใจของพนักงานคนนึง
- Lead with Context, not Control : นำองค์กรโดยบริบท ไม่ใช่การควบคุม
การนำด้วยบริบท คือการกำหนดบริบทในการทำงานแบบกว้างๆให้แก่พนักงาน เช่น CEO เน้นการเติบโตไปทั่วโลก / ผู้บริหารบอกให้เน้นเจาะตลาด Animation และ ส่งเสริมคุณภาพของ Content ให้อยู่ในระดับสูง แล้วนอกเหนือจากนั้นให้แต่ละแผนกไปกำหนดทิศทางในการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทดังกล่าวเอง
2
อะไรที่คิดว่าดีก็ทำไปเลย ถ้าประสบความสำเร็จก็ดี ถ้าล้มเหลวก็ไม่เป็นอะไร แต่จะต้องมาแชร์กับคนทั้งบริษัทว่าล้มเหลวเพราะอะไร และจะปรับปรุงอย่างไรในอนาคต
1
อย่าลืมนะครับว่าทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กร (Act in Netflix Best Interest) เมื่อทุกคนเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกันมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน องค์กรก็สามารถเดินไปข้างหน้าถึงแม้จะไม่มีกฎเกณฑ์ในการควบคุมก็ตาม และสามารถประสบความสำเร็จได้เหมือน Netflix นั่นเอง
1
*** ก่อนจบทางผู้เขียนได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าระบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับทุกบริษัทนะครับ โดยจะเหมาะกับบริษัทที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ส่วนถ้าเป็นบริษัทที่เน้นการผลิต หรือความปลอดภัยเช่น โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการควบคุมพนักงานเหมือนเดิมอยู่ดีครับ
5
และนี่คือความอิสระในการทำงานที่ Netflix ครับ แต่ความอิสระนั้นย่อมแลกมาด้วยความรับผิดชอบตามหลักการของ Freedom & Responsibility นั่นเอง เป็นเหมือนกุศโลบายและข้อคิดว่า ถ้าคุณยังไม่เก่งและรับผิดชอบไม่มากพอ ก็ยังไม่ควรได้รับอิสระในการทำงานที่มากเกินไปครับผม
3
วันนี้จบเพียงเท่านี้ครับ เนื้อหาในหนังสือเยอะกว่านี้ มีตัวอย่างจากเหตุการณ์จริงอีกเพียบเลย ใครสนใจสามารถไปหามาอ่านได้เลยนะครับ เล่มนี้ดีมาก
2
ถ้าต้องให้คะแนนผมให้ 10/10 เลย ชอบมากๆ
ถ้าใครชอบเนื้อหาเน้นๆตามสไตล์เพจ “เล่า” ของผมก็สามารถกด Like เพจเพื่อติดตามเนื้อหาใหม่ๆของทางเพจได้นะครับ จะมีมาเล่าให้ในหลายๆเรื่องเลย ตามเพจเล่าไม่มีเบื่อแน่นอน เพราะแอดมินขี้โม้ หามาเล่าได้ทุกเรื่องครับ 😂😂
อยากให้เล่าเรื่องไหน รีเควสได้ ถ้าไม่นอกเหนือความสามารถก็จะไปหามาให้ครับ 😎😎
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่าน facebook ได้ที่
ติดต่อโฆษณา หรือ ติดต่อร่วมงานกับเพจ “เล่า” ได้ที่อีเมล์ ptns81@gmail.com
1
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้ #NoRulesRules #Netflix
วันนี้เพจเล่ามี 📚Secret Library 📚 แห่งใหม่ใจกลางเมืองสุขุมวิทมาแนะนำกันครับ นั่นคือ Reading Space ของ HOM Hostel & Cloud Kitchen อยู่ที่ชั้น 4 ของ Nana Square ระหว่าง BTS นานา และ เพลินจิต
มีหนังสือให้เลือกอ่านได้มากมาย เน้นไปที่ Non-Fiction เพราะทางเจ้าของเองชอบหนังสือแนวนี้มาก (เหมือนแอดมินเลย) มีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือยอดฮิตอย่าง Sapiens, Mindset และ Intelligent Investor หรือจะเอาหนังสือมาอ่านเองก็ได้ครับ จะนั่งจะนอนอ่านก็ได้หมด มีโต๊ะ, เก้าอี้, เตียงนอนพร้อม !! Make yourself at home ได้เลย
ส่วนค่าบริการอยู่ที่ 100 บาทสามารถอ่านได้ทั้งวัน
แต่ !!! คุณจะได้คูปองจำนวน 100 บาท สำหรับสั่งอาหารจาก HOM Cloud Kitchen ได้อีกต่อนึง
และนอกเหนือจากนั้นคุณจะได้มีส่วนร่วมในการทำบุญให้กับน้องๆมูลนิธิบ้านพระพรด้วยครับ เพราะทุกๆ 100 บาท = 1 อิ่มที่ทาง HOM จะทำอาหารไปเลี้ยงน้องๆทุกสัปดาห์ด้วย 👦🏻👦🏻👧🏻👧🏻
1
ใครสนใจไปใช้บริการสามารถสอบถามได้ที่ m.me/homcookinghostel
🟢 Line : @homcooking
🟠 Page : @HOM Hostel and Cloud Kitchen
1
ดูรีวิวได้ที่ : https://www.facebook.com/303489843920803/posts/689231182013332/
โฆษณา