22 ธ.ค. 2020 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
Grab vs Gojek กับสมรภูมิ "แอพเรียกรถ"
ถ้าพูดถึงตลาดแอพเรียกรถชื่อดังก็คงไม่พ้น grab , lineman , foodpanda , เเละก็ Gojek (ที่เข้ามาทำตลาดจริงจังในไทยจากการเปลี่ยนชื่อจากแอพ Get) ตลาดแอพนี้เรียกได้ว่ามีการเเข่งขันกันสูงมากชนิดที่หลายคนขาดว่ามันจะมีผู้ชนะในตลาดนี้เพียงเเค่คนเดียวเท่านั้น วันนี้ ThaiTechTalk จึงอยากมาวิเคราะห์ถึงสมรภูมินี้ที่มีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดอย่าง Grab เเละ Gojek กันคับบ
เราลองมาดูกันก่อนว่าธุรกิจนี้มีขั้นตอนยังไงเเละทำไมตลาดแอพเรียกรถถึงมีความดุเดือดกันอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ธุรกิจแอพเรียกรถ(Ride hailing business) นั้นมี business model ง่ายๆนั้นคือเป็น platform เชื่อมระหว่างผู้ต้องการขนส่ง ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง การส่งอาหาร ส่งพัสดุ กับขนขับ/ขนส่งที่พร้อมจะบริการให้กับเรา เเละก็เก็บค่าธรรมเนียมจากการเรียกเเต่ละครั้ง รวมไปถึงถ้าเป็นการส่งอาหารก็อาจจะเก็บค่า GP (ส่วนแบ่งการขาย) จากทางร้านที่ร่วมเป็น partner เป็นต้น
ความยากของตลาดนี้คือถึงเเม้จะเป็น platform business model เเต่ถึงเเม่จะมีจำนวน user เเละคนขับที่เพิ่มมากขึ้นเเต่เมื่อถึงจุดหนึ่งกลับไม่ได้เป็นการการันตีว่าลูกค้าจะยึดอยู่กับบริษัทนั้นตามหลัก network effect เช่นสมมุติว่า ผมจะเรียกสั่งอาหารจาก grab เเต่ gojek ให้ข้อเสนอส่วนลดที่มากกว่า ผมก็คงไม่คิดมากเเละย้ายไปใช้ gojek ทันที นั้นก็คือเนื้อเเท้ของธุรกิจนี้ มี switching cost ที่ต่ำมากเพียงเเค่ส่วนลดถูกกว่านิดหน่อยหรือรถเจ้าไหนมาเร็วกว่าลูกค้าก็พร้อมที่จะย้ายทันที นั้นทำให้เเต่ละบริษัททั้ง Grab เเละ Gojek ต้องฝาดฟันกันเอาเงินมาดึงลูกค้ากันอยากไม่หยุดหย่อนเเละไม่ได้มีความสุขในการครองตลาดสักที สงครามนี้จึงชอบมีคนตั้งชื่อว่า "Money war"
นั้นคือใครเงินเหนือกว่ากว่าก็เป็นผู้ชนะไป เเต่ถว่าความคิดนี้กลับไม่น่าจะสุขดีเท่าไหร่ เพราะไม่ว่าจะ Grab เเละ Gojek ก็มีทุนหนาไม่เเพ้กัน ถ้าเเข่งกันเผาเงินต่อไปคงต้องจบไม่สวยเท่าไหร่
ซึ่งถ้าอ่านมาตรงนี้ จุดจบของสงครามนั้นยังเป็นที่อะไรที่ไม่เเน่นอน จากบทความวิเคราะห์มีความเห็น ว่าในตลาดเรียกรถนั้นผู้ชนะควรจะมีเพียงเจ้าเดียวหรือสองเจ้าใหญ่
อารมณ์เหมือน Coke เเละ Pepsi นั้นคืออาจจะเป็นเจ้าใหญ่อย่าง Grab เเละ Gojek หรืออาจจะต้องยอมรวมเข้ากัน (Merge)เพื่อแบ่งตลาดก็เป็นได้ หรืออีกความเป็นไปได้หนึ่งคือแอพใดที่ไปถึง super app (แอพที่ทำได้ทุกอย่างในแอพเดียว ตั้งเเต่เรียกรถ ยัน จ้างคนมาซ่อมท่อที่บ้าน) อาจจะเป็นผู้ชนะเพราะสามารถที่จะเเก้ปัญหา switching cost ที่กล่าวไปข้างต้นเเละมี *payment gateway advantageจากการที่มีบริการที่หลายหลาย(PGA ไว้อธิบายเพิ่มเติมในบทความอื่น)
ซึ่งอนาคตของตลาดแอพเรียกรถจะออกมาเป็นไงหรือจะมีเจ้าใหม่มาอีกไหมเป็นเรื่องน่าคิดเเละคงต้องติดตามกันต่อไปครับ
# มุมมองที่น่าคิด : ถึงเเม้ธุรกิจเรียกรถนั้นดูเเล้วจะอยู่ใน Red ocean (ตลาดที่เเข่งขันสูง) เเละดูจะไม่มีวี่เเววกำไรเเม้เเต่น้อย เเต่ทำไมนักลงทุนถึงยังคงถยอยลงเงินไปเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆเเล้วมีหลายสาหตุนอกจากการขาดหวังว่าตลาดจะถูกบีบเเละผู้ชนะจะผูกขาดได้
ในอีกเเง่มุมหนึ่งคือพวกเขาอาจจะลงทุนในเทคโนโลยีเเห่งอนาคต อย่าง Dara Khosrowshahi CEO ของ Uber แอพเรียกรถเจ้าใหญ่จากฝั่งตะวันตกเคยให้สัมภาษณ์ว่าเทคโนโลยีรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ(Self-driving car) นั้นจะก้าวหน้ามากในอนาคตซึ่งทำให้ค่าบริการลดลงไปถึงจุดที่คุ้มทุนเเละทำให้บริษัทกำไรมหาศาลจนได้ในที่สุด นับว่าดูเหมือนฟันเฟ้อ เเต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ใช่ไหมละคับบ
เขียน โดย Sam
โฆษณา