Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เท่าคนญี่ปุ่น
•
ติดตาม
26 ธ.ค. 2020 เวลา 00:00 • สุขภาพ
10 อันดับ “โรคยุคใหม่” ที่พบบ่อยในช่วงโควิท19
(จัดอันดับโดยคุณหมอชาวญี่ปุ่น)
2
สวัสดีค่ะ
ช่วงนี้ ข่าวโควิทระรอกใหม่ที่ไทย กำลังเป็นที่น่าจับตา
ต้องคอยเช็คสถานการณ์ข่าวกันรายวัน
ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นนั้น ก็ยังน่าเป็นห่วงไม่แพ้กันค่ะ
แค่ที่โตเกียวที่เดียว ยอดผู้ติดเชื้อก็เกินวันละ 800 คนแล้ว
วันนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอ ก็คือ
“10 อันดับ โรคยุคใหม่ ที่พบบ่อยในช่วงโควิท19”
จัดอันดับโดยคุณหมอชาวญี่ปุ่น 120,000 คน
1
มาดูกันว่าที่ญี่ปุ่นนั้น นอกจากผู้ป่วยโรคโควิทแล้ว
ยังมีพบโรคอะไรอีกบ้างที่เป็น “โรคยุคใหม่” ในช่วงนี้
เพื่อนๆ อย่าลืมตรวจเช็คสุขภาพของตัวเองกันดูนะคะ
มาเริ่มกันที่
อันดับที่ 10 “ตาเหล่”
คือ อาการที่ลูกตาดำเลื่อนเข้ามาตรงกลาง เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตาด้านใน
มักพบมากในหมู่วัยรุ่นและเด็กเล็ก
สาเหตุหลักเกิดจากการมองโทรศัพท์มือถือใกล้ๆ เป็นเวลานาน
อาจมีอาการภาพซ้อน หรือมองเห็นได้ชัดกว่าเมื่อใช้ตาเพียงข้างเดียว
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ก็อาจจะเริ่มเป็นโรคตาเหล่ได้ค่ะ
คำแนะนำของคุณหมอ คือให้มองโทรศัพท์มือถือห่างจากตัว มากกว่า 30 เซนติเมตร
อันดับที่ 9 “ เอ็นข้อมืออักเสบ“
วิธีการตรวจสอบว่าเป็นโรคเอ็นข้อมืออักเสบหรือไม่? ให้เช็คแบบนี้ค่ะ
1
1. ยกแขนข้างที่ถนัดขึ้นให้ตั้งฉากกับลำตัว แล้วยืดแขนให้ตรง
2. พับนิ้วโป้งเข้ามาที่กลางฝ่ามือ แล้วกำนิ้วมือที่เหลือเข้าด้วยกัน
3. โยกข้อมือลงด้านล่าง ดึงข้อมือตึง
หากมีอาการเจ็บที่ข้อมือด้านบน
แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นข้อมืออักเสบค่ะ
ซึ่งสาเหตุเกิดจากการถือโทรศัพท์มือเดียวและใช้นิ้วโป้งสไลด์หน้าจอ
วิธีการป้องกันคือ ให้ใช้นิ้วชี้อีกข้างนึงสไลด์หน้าจอแทน
อันดับที่ 8 “โรคปวดหลังที่พบในเด็ก”
พบมากในเด็กประถม เนื่องจากไม่สามารถออกไปเล่นข้างนอกได้ในช่วงโควิท
ทำให้กำลังในร่างกาย, แรงกล้ามเนื้อ และความสมดุลย์ลดลง
ซึ่งอาการปวดหลังที่พบในเด็กญี่ปุ่นนั้น
สาเหตุนึง ก็มาจากการสะพายกระเป๋านักเรียนที่มีน้ำหนักมากเกินไป
เนื่องจาก เด็กสมัยนี้ ต้องเรียนหนังสือมากกว่าเมื่อก่อนหลายเท่า
ปริมาณหน้าของหนังสือจึงเพิ่มมากกว่าเมื่อก่อนถึง 75%
คำแนะนำของคุณหมอคือ ปรับสายสะพายเป้ให้พอดีกับหลังของเด็ก
ไม่ให้เกิดช่องว่างที่ด้านหลัง
ซึ่งจะช่วยลดน้ำหนักกระเป๋าที่ถูกถ่ายเทไปยังสะโพกได้
1
อันดับที่ 7 “โรคสมองเสื่อม”
เกิดจากการใช้ หรือเสพติดอุปกรณ์ดิจิตอลมากเกินไป
ซึ่งมีผลทำให้ ความสามารถในการจดจำลดลง และสมาธิสั้นลง
มักเกิดในวัยรุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงที่สมองกำลังมีการพัฒนา
เนื่องจาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายขึ้น
จึงทำให้ผู้คนขี้เกียจจดจำข้อมูลกันมากขึ้น
1
มีวิธีตรวจเช็คมาแนะนำค่ะ
10 วิธีตรวจเช็คว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่?
1. หยิบมือถือขึ้นมาดูทุกครั้ง ที่มีเวลาว่าง
2. ใช้มือถือถ่ายรูปข้อมูลที่ต้องการจะจดจำ
6
3. จำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่ไม่ได้
2
4. เช็คข้อมูลตลอดเวลา เพราะกลัวพลาดข่าวสาร
4
5. สะกดคำไม่ถูก
3
6. ไม่ชอบจดจำข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอินเตอร์เน็ต
3
7. ไปในสถานที่ใหม่ๆไม่ถูก ถ้าไม่มีแผนที่ในมือถือนำทาง
1
8. นึกชื่อคนรู้จักไม่ออก
9. ไม่มีสมาธิและทำเรื่องโก๊ะๆบ่อยครั้ง
1
10. รู้สึกเหนื่อยล้าทั้งร่างกาย และสมอง
หากคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 5 ข้อ แสดงว่าเริ่มเป็นโรคสมองเสื่อม
1
วิธีการแก้ไขคือ ให้คุณอยู่ห่างจากอุปกรณ์ดิจิตอลเหล่านี้บ้าง
หรือเรียกว่า “Digital Detox”
อีกหนึ่งฟังก์ชั่น ที่มีอยู่ในมือถือระบบ iOS คือ “Screen Time ➡︎ App Limits”
ซึ่งช่วยจำกัดระยะเวลาในการใช้งานมือถือได้
1
อันดับที่ 6 “ดิจิตอลเจ็ตแล็ก”
อาการดิจิตอล Jet Lag นี้ พบมากถึง 60% ในคนช่วงอายุ 20 ~ 29 ปี
สาเหตุเกิดมาจากแสงสีฟ้า ( Blue light ) จากโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์
ทำให้นาฬิกาในร่างกายปั่นป่วน จำกลางวันและกลางคืนสลับกัน
พบมากในคนที่ชอบเล่นมือถือในที่มืด
1
คำแนะนำของคุณหมอก็คือ ใส่แว่นตาตัดแสง Blue light
หรือติดฟิล์มกรองแสงที่จอคอมพิวเตอร์
และงดเล่นมือถือตอนนอน
1
อันดับที่ 5 “โรคกลัวการพบปะผู้คน”
พบมากในคนที่มีมักมีมนุษยสัมพันธ์แบบผิวเผิน แต่ไม่สามารถลงลึกกับใครได้
โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นในสมัยนี้ ที่ไม่รู้จักวิธีการสื่อสารกับคนอื่น
หรืออาจเคยถูกหักหลังจากการไว้ใจ หรือผิดหวังจากการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง
วิธีการป้องกันคือ ให้หาเพื่อนที่มีความสนใจแบบเดียวกับเรา
เป็นกลุ่มคนที่เราสบายใจ เมื่อได้พูดคุย
1
อันดับที่ 4 “โรคจิตตก ล้างมือบ่อยเกินไป”
พบมากในคนที่ชอบล้างมือบ่อยๆ เนื่องจากกลัวการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
เป็นได้ง่าย ในคนที่อนามัยจัด หรือรักสะอาดอยู่แล้ว
แม้การล้างมือบ่อยๆในช่วงที่โควิทกำลังระบาดจะเป็นเรื่องดี
แต่หากมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการ “จิตตก” ได้
และยังส่งผลเสีย ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ
ซึ่งหากผิวหนังเป็นผื่น อาจจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
วิธีการแก้ไขคือ กำหนดจำนวนครั้งที่จะล้างมือ / 1วัน
และใช้ครีมทามือบ่อยๆ
อันดับที่ 3 “กล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ”
สาเหตุเกิดจาก การถือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
จึงทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณกล้ามเนื้อหุ้มกระดูกข้อศอก
พบมากในหมู่วัยรุ่นที่ชอบดู YouTube หรือวิดีโอเป็นเวลานานๆ
โดยเฉพาะคนที่ชอบจดจ่อ จะเป็นง่ายโดยไม่รู้ตัว
วิธีการแก้ไขคือ ใช้อุปกรณ์ขาตั้งมือถือ, ลดระยะเวลาในการจับมือถือ และสลับเปลี่ยนมือถือกับข้างที่ถนัด
อันดับที่ 2 “โรคติดหน้ากาก”
เป็นอาการทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งจะรู้สึกไม่สบายใจ เมื่อไม่ได้สวมหน้ากาก แม้จะอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม
พบมากในผู้หญิงญี่ปุ่นอายุ 20 ถึง 30 ปี
1
ซึ่งอาจจะเป็นอาการร่วม ของคนที่กลัวการพูดคุยกับคนอื่น
หรือไม่มั่นใจในหน้าตาของตัวเอง
ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อต้องถอดหน้ากากต่อหน้าผู้คน
1
อาการนี้เป็นได้ง่าย กับคนที่แคร์สายตาคนอื่นมากเกินไป หรือกลัวการทำสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
คำแนะนำของคุณหมอคือ ให้หาเวลาไปท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น ภูเขาหรือทะเล ด้วยตัวคนเดียว
แล้วลองถอดหน้ากากออก สูดลมหายใจลึกๆ ให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย
อันดับที่ 1 “แพ้หน้ากาก”
หน้ากาก คือสิ่งจำเป็นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
แต่การที่ต้องสวมใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลาเป็นเวลานานๆ
ก็อาจทำให้เกิดอาการ ผิวแพ้ง่าย เป็นผื่น หรือสิวได้
สาเหตุเกิดมาจากการเสียดสีของหน้ากากกับผิวหนัง และความอับชื้นใต้หน้ากาก
เมื่อถอดหน้ากากออก จึงทำให้ผิวเกิดการแห้งอย่างกระทันหัน
มักเกิดขึ้นง่าย กับคนที่เหงื่อออกเยอะ, คนที่ไม่รักษาความสะอาด หรือขนาดของหน้ากากเล็กไม่พอดีกับใบหน้า
วิธีการแก้ไขก็คือ เปลี่ยนจากสวมหน้ากากอนามัยมาใช้หน้ากากผ้าแทน
หรือใช้ผ้าคอตตอนคั่นระหว่างหน้ากากอนามัยกับผิวหน้า
หากมีอาการแพ้มาก ควรใช้ยาสเตียรอยด์ทาร่วม ตามที่แพทย์สั่งด้วย
1
เป็นยังไงบ้างคะ? กับ 10 โรคยุคใหม่
เชื่อว่ามีหลายคนอินเทรนกับโรคยุคใหม่นี้
เพราะแอดมินเอง ก็เข้าข่ายหลายข้อเลยค่ะ ^^;
ยังไงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ
1
แอดมินขออวยพรให้ “ผู้อ่านทุกท่าน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงค่ะ”
หยุดปีใหม่ปีนี้ ก็ขอให้ทุกคน
“อยู่ห่างๆ กันอย่างห่วงๆ” นะคะ
ขอบคุณค่ะ
/ ฮิเมะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก 世界一受けたい授業
2
47 บันทึก
79
7
154
47
79
7
154
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย