26 ธ.ค. 2020 เวลา 11:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
'' SUPER : บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ''
.
จากหุ้นอิฐมวลเบาที่มีความผันผวนสูง
สู่หุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดในไทยและเวียดนามที่มีความยั่งยืน
ธุรกิจ : โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ, โรงไฟฟ้าพลังงานลม / ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำ
.
**ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าในพอร์ตดังนี้**
ภาพรวมบริษัท ณ มิถุนายน 2020 (จาก Oppday ล่าสุด)
โรงไฟฟ้า Solar (แสงอาทิตย์)
ไทย - 563.6 MWp / เวียดนาม - 286.72 MWp / Equity MWp - 720.96
โรงไฟฟ้า Waste (ขยะ)
GPE - 9 MWp / SSE6 - 9 MWp
.
ภาพรวม รายได้
เฉพาะ Solar (หน่วยพันล้านบาท)
2018 – 5,376
2019 – 5,675
2020 – (คาดว่า) 5,975
2021 – (คาดว่า) 7,899
รายได้รวม (หน่วยพันล้านบาท)
2018 - 5,729
2019 – 6,214
2020 – (คาดว่า) 6,944
2021 – (คาดว่า) 9,890
2022 – (คาดว่า) 13,349
.
จะเห็นว่าการคาดการณ์ของรายได้จากปีนี้ไปจะมีแนวโน้มก้าวกระโดดจากปี 2019 เป็นเท่าตัว ซึ่งมีแนวโน้มว่ากำไรก็จะแปรผันตามไปด้วย และเป็นการเติบโตที่ยั่งยืน จากการมีสัญญาขายไฟในระยะยาว
ซึ่งอัตรากำไรสุทธิ (npm) โดยปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 20-22% และมีโอกาสสูงมากกว่านั้นได้ในอนาคตจากโครงการที่เข้ามามี npm ที่มากขึ้น (เช่นโรงไฟฟ้าพลังงานลม) และโครงการบางโครงการเช่นขยะ หรือบริหารจัดการน้ำเริ่มมีกำไรมากขึ้น รวมไปถึงโครงการ solar ที่เวียดนามตั้งอยู่ในจุดที่มีกำลังผลิตสูงมาก ทำให้โครงการในเวียดนามมี npm ที่สูงกว่าไทย
*** ใครที่สนใจธุรกิจโรงไฟฟ้าการบ้านคือ ต้องพอหาตัวเลขให้ได้ว่าโรงไฟฟ้าแต่ละชนิด สร้างผลกำไรต่อ1MWเท่าไหร่ เพื่อชั่งน้ำหนักว่าราคาปัจจุบันตอบรับกับโครงการอนาคตแล้วหรือยัง ***
.
**จุดเปลี่ยนสำคัญธุรกิจ**
เกิดจากการตั้งกอง SUPEREIF เพื่อขายโรงไฟฟ้าบางส่วนเข้ากองทุนและได้เงินสดมาจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปขยายโครงการโรงไฟฟ้าในเวียดนาม ซึ่งเริ่มเห็นผลตั้งแต่หลังจากมีการตั้งกองทุนเมื่อปี 2019 การจัดตั้งกองทุน ณ ตอนนั้นให้ผลตอบแทนสูงถึง 7% สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน ในสภาวะตอนนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำจะเป็นผลดีต่อบริษัท หาก super จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มอีกรอบก็ไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มทุน เพียงแต่หาโรงไฟฟ้าขายเข้ากองทุนเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ราคาดีกว่าการขายรอบแรกด้วย
1
.
**การเติบโตในอนาคต** (3-5ปี)
1.) โครงการในอนาคต
- โครงการในไทย
Solar : 1.5 MWp
Waste : หนองคาย : 6 MWp, เพชรบุรี : 8 MWp, นนทบุรี : 16 MWp, นครศรีธรรมราช : 16 MWp
- โครงการในเวียดนาม
มี 3 โครงการ solar 550 MWp (COD เดือน ธันวาคม 2020)
โครงการ wind - Offshore 141+30 MWp
โครงการ wind - Onshore 200+50 MWp
โครงการเหล่านี้มีสัญญารับซื้อไฟที่แน่นอน ซึ่งจากประสบการณ์ของทีมบริหาร การพัฒนาโครงการให้ทันเวลาและจ่ายไฟตามกำหนดมีความเป็นไปได้สูง โครงการเหล่านี้จะเริ่มออกผลสร้างรายได้จนถึงปี 2022 เป็นต้นไป ดังนั้นจาก Q1/2021 เป็นต้นไปเราจะเห็นรายได้ที่รับรู้มากขึ้นตามการCOD
1
.
2.) การเติบโตผ่าน M&A (Merger and Acquisition)
- การเริ่มเข้าไปพัฒนาโครงการตั้งแต่ปี 2017 ที่เวียดนามเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ super โดดเด่นเหนือกว่าหุ้นโรงไฟฟ้าอื่นๆ ในไทย เพราะเข้าร่วม MOU กับทาง Congly (ผู้พัฒนาพลังงานลมเจ้าใหญ่ของเวียดนาม) ซึ่งมีลุงตู่ และคุณวิษณุ เครืองามเป็นประธานในพิธีด้วยทำให้ super เริ่มต้นพัฒนาโครงการต่างๆ ในเวียดนามได้สำเร็จ
- ปัจจุบันมีผู้พัฒนาหลายรายที่ได้ PPA รวมถึงผู้ที่ได้พัฒนาโครงการแล้ว เข้ามาติดต่อ super เพื่อดีลซื้อกิจการเพิ่มเติม ซึ่งด้วยกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะมีถึง 1 หมื่นล้านต่อปี จะเป็นโอกาสที่ทำให้ super โตต่อได้อีก (ณ วันที่ 24 ธค. ก็มีข่าวว่ามีดีลซื้อกิจการเพิ่มอีก 700-800 MW)
- หลายโครงการที่ทาง super ต้องปฏิเสธไป(เช่น กับพาร์ทเนอร์ Congly และโครงการที่ Loc Nihn) ในอนาคตก็มีโอกาสที่จะใช้กระแสเงินสดซื้อโครงการเหล่านั้นมาในพอร์ตเพราะต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการณ์ในเวียดนาม
.
3.) จุดสำคัญของกำไรของธุรกิจโรงไฟฟ้าคือส่วนดอกเบี้ยที่จะมีผลต่อกำไรมาก โดยภาพรวมอัตราดอกเบี้ยของ super จนถึงปัจจุบันเป็นดังนี้
อัตราดอกเบี้ย
Q2/19 : 5.32%
Q3/19 : 5.11%
Q4/19 : 4.65%
Q1/20 : 4.34%
Q2/20 : 4.07%
ซึ่งจะเห็นได้ว่า แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่ได้ลดลงเรื่อยๆ เกิดจากแนวโน้มของกิจการที่แข็งแกร่งขึ้น กระแสเงินสดที่สูงถึงปีละ 5พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทริสเรทติ้งปรับเรทติ้งให้กับ super เพิ่มขึ้น2 ปีซ้อน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ BBB stable
จุดนี้เองจะทำให้ในอนาคตดอกเบี้ยจากหุ้นกู้มีแนวโน้มที่จะลดลงได้อีก ส่งผลให้กำไรเติบโตขึ้น ปัจจุบันหนี้ของ super มีอยู่ที่ราว 4 หมื่นล้านบาท หากลดดอกเบี้ยได้อีก 1% จะส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้นได้อีก 400 ล้านบาททันที
.
4.) กรณีไม่มีการเติบโตด้านการลงทุนเพิ่ม กระแสเงินสด ในอนาคตที่ปีละ 1 หมื่นล้านบาท (ประเมินโดยบริษัท และทริสเรทติ้ง) ก็จะทำให้การคืนทุนเกิดได้ใน 4-5 ปีทันที ซึ่งต้นทุนดอกเบี้ยปีละ 1600 ล้านบาทตอนนี้จะสามารถกลับมาเป็นกำไรให้ทางบริษัทได้ทันที
***ความเสี่ยง***
1. ความเสี่ยงเรื่องพัฒนาโครงการไม่ทันตามกำหนด COD ส่งผลให้โดนปรับลดราคาขายไฟ – จุดนี้ทางผู้บริหารเองก็มีประสบการณ์พัฒนาโครงการในเวียดนามมาไม่น้อย ทำให้โอกาสเกิดความเสี่ยงจุดนี้ต่ำ รวมถึงมีทำสัญญาค่าปรับกับผู้พัฒนาโครงการให้กับทาง super ด้วยกรณีเสร็จไม่ทัน
 
2. เงินทุนไม่เพียงพอ – จุดนี้มีกอง supereif ที่คอยเป็นแบ็คอัพให้หากมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน
3. ค่าเงิน - ปกติแล้วที่เวียดนามสัญญาซื้อขายไฟเป็นUSD ทำให้ รายได้และรายจ่ายทุกอย่างเป็น natural hedging มีเพียงแต่เมื่อแปลงกำไรกลับมาเป็นเงินบาท หากเงินบาทแข็งมากก็จะกำไรลดลง แต่ถ้าเงินบาทอ่อนมากกำไรก็จะเพิ่มขึ้น
4. ภัยธรรมชาติ - มีการทำสัญญากับประกันไว้เป็นปกติ เหมือนโครงการที่สระแก้วที่เกิดภัยน้ำท่วมทำให้ต้องหยุดจ่ายไฟ Q4/2020 ไปบางเดือน และจะได้เงินประกันรายได้คืนจากบริษัทประกันใน Q1/2021
ข้อมูลเกือบทั้งหมดมาจากOppdayของบริษัท สามารถฟังเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขคาดการณ์กำไร อัตราดอกเบี้ย และ โครงการอื่นๆในอนาคต
ปล.บทความเขียนโดยทีมงานเพจคนใหม่ ''นักลงทุนหมายเลข13'' นะครับ
#หุ้นSUPER
โฆษณา