11 ม.ค. 2021 เวลา 11:00 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ 52 วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม The Art of Thinking Clearly
มนุษย์ทุกคนมีความคิดแต่ไม่ใช่ทุกความคิดที่เรียกว่า “เฉียบคม” อะไรคือคำว่า “เฉียบคม” และการคิดแบบเฉียบคมมีผลดีกับชีวิตอย่างไร นี่คือสุดยอดหนังสือที่จะเปลี่ยนรูปแบบการคิดจากธรรมดาให้กลายเป็น “เฉียบคม” มากขึ้น และเมื่อทุกอย่าง “เฉียบคม” มากขึ้นสิ่งดีๆ ก็จะตามมาในชีวิตอย่างไม่รู้ตัว
เขียน : Rolf Dobelli / รอล์ฟ โดเบลลี
แปล : อรพิน ผลพนิชรัศมี
 
ราคา : 250
จำนวนหน้า : 312
หมวด : จิตวิทยา
หนังสือขายดีจากเยอรมันนี ที่มียอดขายมากกว่า 1 ล้านเล่ม โดย รอล์ฟ โดเบลลี จะแนะนำ 52 วิธี ที่ช่วยให้ความคิดของคุณชัดเจนขึ้น
 
แค่นำไปปรับใช้ คุณก็สามารถคิดได้อย่างเฉียบคมอ่านสถานการณ์ได้ขาด ตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น
 
รอล์ฟ โดเบลลี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขา เศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยเซนต์กัลเลนในสวิตเซอร์แลนด์ เขาเคยดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทในเครือสวิสแอร์
และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท getAbstract ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสรุปเนื้อหาของหนังสือน่าอ่านและส่งไปให้ผู้บริหารทั่วโลก เป็นผู้ก่อนตั้งเว็บไซต์ Zurich.minds เป็นชุมชนออนไลน์ของนักคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในหลากหลายสาขา ทั้งนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และศิลปิน
 
นอกจากจะเป็นนักธุรกิจมืออาชีพแล้ว ยังเป็นนักเขียนด้วยมีผลงานทั้งสารคดี และนวนิยาย
 
โซโลมอน แอช นักจิตวิทยาระดับตำนาน
 
ต้นทุนจม ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด เมื่อเราทุ่มเทเวลา เงินทอง พลังงานหรือความรักไปมากมายกับบางสิ่งและ การทุ่มเท ดังกล่าวก็กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้เรายังคงเดินหน้าต่อแม้ว่ามันจะดูไร้ประโยชน์แค่ไหนก็ตาม
 
ยิ่งทุ่มเทมากเท่าไหร่ “ต้นทุนจม” ก็ยิ่งทรงพลังมากเท่านั้น ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันมหาศาลให้เรา “ยังคงทำต่อไป”
 
The Art of Thinking Clearly
-Rolf Dobelli -
1.เหตุผลที่ควรไปเยือนสุสาน
- อย่าประเมินว่ามีโอกาสสำเร็จสูงจนเกินไป
- ไตร่ตรองให้ดีเวลาถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ชวนเชื่อ
- ระวังแนวโน้มที่จะประเมินตัวเองสูงเกินไป
- พฤติกรรมของหมู่มาก สามารถบิดเบือนสามัญสำนึกได้
- ต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ปล่อยวางการขาดทุน
- เลี่ยงของแจก เพราะคนเราจะรู้สึกไม่ดีเวลารู้สึกมีอะไรติดค้างผู้อื่น
- ระวังอคติจากการเลือกรับข้อมูล
- รับข้อมูลโดยปราศจากอคติ เมื่อเชื่ออะไรต้องหาหลักฐานมาแย้ง
- อย่าให้ผู้มีอำนาจมีอิทธิพลทางความคิด
- ผลกระทบจากการเปรียบเทียบเปลี่ยนชีวิตคุณได้
2.แม้แต่เรื่องจริงก็ยังโกหกเรา
- คนเรามักใช้ข้อมูลที่หาได้ง่าย และตัดสินใจไปตามนั้นโดยไม่ระวัง
- ระวังคำพูดที่ว่า “มันจะแย่ลงก่อน แต่เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง”
- ทบทวนทุกอย่าง ตัดเรื่องราวทิ้งไป พิจารณาแต่ข้อเท็จจริง
- ควรจดสิ่งที่คาดการณ์เรื่องต่างๆลงไป
- ต้องดูให้ออกว่าใครมีความรู้ที่แท้จริง กับความรู้ที่มาจากการท่องจำ
- จดจ่อกับสิ่งสำคัญที่ควบคุมได้จริงๆ และปล่อยสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมไป
- จูงใจคนอย่างได้ผลต้องรวม เจตนาและสิ่งจูงใจเป็นสิ่งเดียวกัน
- ความสามารถคนเราไม่เสมอต้นเสมอปลาย มีทั้งดีขึ้นและแย่ลงได้
- หากปราศจาก ทุกอย่างก็จะพังไม่เหลือชิ้นดี
- อย่าประเมินผลการตัดสินใจจากผลลัพธ์
3.ยิ่งน้อยยิ่งดี
- การมีตัวเลือกจำนวนมากทำให้คนเราตัดสินใจได้แย่ลง
- อคติความถูกใจ ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือ หรือซื้อของมากขึ้น
- อย่ายึดติดกับสิ่งต่างๆ มองว่าของที่ครอบครองอยู่เป็นสิ่งชั่วคราวเท่านั้น
- เหตุการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
- ต้องกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
- ควรใช้การคำนวณเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ
- เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่แน่นอน
- ประเมินสินค้า บริการจากราคา และประโยชน์ใช้สอย
- ให้คิดถึงตัวเลือกที่เป็นไปได้มากกว่าคิดถึงสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
- สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
4.ทำไมคนในทีมถึงเกียจคร้าน
- เมื่อต้องคาดการณ์อะไรบางอย่าง คนเราจะใช้สมอทางความคิด ช่วยพิจารณา
- ความแน่นอนไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน ต้องเตรียมรับมือกับสิ่งไม่คาดฝันต่างๆ
- มนุษย์อ่อนไหวต่อเรื่องร้ายๆ และรู้สึกว่าการสูญเสียหนักกว่าการได้รับ 2 เท่า
- เมื่อคนเราทำงานร่วมกัน ประสิทธิภาพแต่ละคนจะลดลง
- อย่าให้ใครมาปั่นหัวด้วยอัตราการเพิ่มขึ้น
- เมื่อมีสิ่งที่อยากได้ อย่าจ่ายเงินเกินกว่าที่ตั้งใจ
- มนุษย์เราไม่ได้สมบูรณ์แบบ ไม่ได้ควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา
- การโยงเหตุและผลแบบผิดๆ ทำให้คนเราหลงผิด
- เลิกมองคนแค่รูปลักษณ์ภายนอก และมองถึงคุณสมบัติที่แท้จริง
- ความเสี่ยงไม่ใช่สิ่งที่มองเห็นกันได้ง่ายๆ ต้องพิจารณาทางเลือกอื่นๆให้ถี่ถ้วน
5.ทำไมคนเราถึงไม่เคยโทษตัวเอง
- ใช้วิจารณญาณให้ดีเวลาได้ยินคำทำนายจากผู้เชี่ยวชาญ
- เวลาตัดสินใจเรื่องสำคัญ ระวังเรื่องราวที่สอดคล้อง และดูมีเหตุผล
- เราไม่สามารถพิจารณาข้อดีข้อเสียได้ครบถ้วน ต้องตีกรอบเพื่อตัดสินใจ
- เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่แปลกใหม่หรือไม่ชัดเจน ให้รอดผุสถานการณ์ไปก่อน
- ถ้าคุณไม่ใช่นักแก้ปัญหา คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเสียเอง
- เลี่ยงอคติการคิดเข้าข้างตัวเอง และถ้าข้อดีข้อเสียของตัวเองจากคนอื่น
- ทำในสิ่งที่รักแม้ทำให้เสียรายได้บ้าง
- ระวังตกเป็นเหยื่อของการคิดไปเอง
- ควรสกัดแต่องค์ความรู้ออกจากประสบการณ์ แล้วปล่อยที่เหลือไว้อย่างนั้น
- ระวัง ถ้าทุกอย่างไปได้สวย เพราะอาจเป็นแค่ความโชคดี ไม่ใช่ความสามารถ
- คนเราจะรู้สึกอุ่นใจเมื่อได้โกหกตัวเอง
- ใช้ชีวิตแต่ละวันให้เหมือนเป็นวันสุดท้าย
1
อ้างอิงจาก https://bit.ly/34BQRGf
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา