27 ธ.ค. 2020 เวลา 14:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดไป
ถ้าเราจะเกาะมันไปเราต้องพึงระวังไว้เสมอ
Price to earning ratio
พูดง่ายๆคือเราใช้เงินลงทุนไปเท่าไหร่ (P)
เมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท(E)
จากภาพด้านล่างนี้ทุกคนจะเห็น
S&P 500 Price to earning ratio
ซึ่งบังก็ได้เลือกช่วงแล้วเวลาตั้งแต่ปี 1871 จนถึงปี 2020 ในปัจจุบัน
0-6 Stocks are extremely undervalued
 
7-13 Stocks are undervalued
13-15 Fair Value
15-20 Stocks are overvalued
20-25 Stocks are in a buble
25+ Stocks are in an extreme bubble
ตอนนี้เรากำลังยืนอยู่ในจุด extreme bubble อย่างไม่ต้องสงสัย
เราจะเห็นได้ว่าตั้งเเต่ช่วงปี 1871-1998
Price to earning ratio ของ S&P 500
จะเเกว่งตัวอยู่ในกรอบ 5-20 ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลานั้นๆ (เส้นสีดำ)
เเต่การที่ตลาดหุ้นอยู่ในจุด Overvalued ไม่ได้หมายความว่าตลาดหุ้นจะพังลงมาในวันพรุ่งนี้
สัปดาห์หน้า หรือปีหน้า
ตลาดหุ้นสามารถคงสถานะ Overvalued
ได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังนั้นสำหรับการเทรดในระยะสั้น หรือการเก็งกำไรในระยะกลาง การที่เรา Bias ไปในทางขาขึ้นในราคาสินทรัพย์จะทำให้เราได้เปรียบกว่าการที่เราเก็งกำไรไปกับการปรับตัวลดลงของราคาเนื่องจากตลาดได้เข้าสู่ภาวะฟองสบู่ไปเเล้ว
**พูดง่ายๆคือขา Long
จะได้เปรียบกว่า ขา Short นั้นเองครับ
ย้อนกลับไปในปี 1997 ตลาดหุ้นก็อยู่ในสถานะฟองสบู่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และก็ยังคงอยู่ในสภาวะฟองสบู่แบบนั้นไปอีกสามถึงสี่ปีเลยทีเดียว(เส้นสีเเดง)
และในช่วงเวลาตลาดกระทิงเเบบนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นฟองสบู่แต่ช่วงเวลานั้นก็ได้สร้างกำไรมหาศาลให้เหล่า Trader ที่สามารถจับเทรนด์ได้ เเละก็ทำให้หลายๆคนต้องขาดทุนกันมากมายหลังจากฟองสบู่ลูกนี้ได้
เเตกออกไป
บังจะไม่ใช้อัตราส่วน
Price to earning ratio สำหรับการเทรดนะครับ
เเต่ บังจะใช้ Price to earning ratio มาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในระยะยาว จะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น ว่าเราควรเเบ่งสัดส่วนเงินในการลงทุนยังไง
** ถ้าเรารู้ว่าการลงทุนในหุ้น ตอนนี้มันคือ Bubble ดังนั้นความรู้สึกลึกๆของเรามันจะทำให้เราลดสัดส่วนการลงทุนไปโดยปริยาย
**(เเต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน)
ทีนี้มาต่อกันอีกหัวข้อสำหรับ Chart นี้อีกนะครับ
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะของ S&P 500 Price to earning ratio คือการเข้ามาของหุ้น Tech นั่นเองครับ
ก่อนจะเกิดวิกฤติ Dot-com เราจะได้เห็นการแกว่งตัวของ S&P 500 Price to earning ratio ในกรอบ 5-25 มาตลอด เเต่หลังจากการมาของหุ้น Tech ทำให้มีนักลงทุน price in เข้ามามากมาย หวังจะให้หุ้น Tech เหล่านั้นเป็น Growth monsters เลยก็ว่าได้ครับ
พอเราเจอหุ้น tech ที่ในอนาคตมีแนวโน้มหรือความสามารถในการเติบโต มันคือการเดิมพันไปกับอนาคตถูกไหมครับ
เเบบนี้มันคือการ invest หรือ speculation ?
Panic&Euphoria
จากภาพทุกคนจะได้เห็นการเปรียบเทียบ Sentiment ของตลาด ย้อนกลับไปตั้งเเต่ปี 1987
อย่างที่ทุกคนเห็นกันครับ ในช่วงเวลานี้ผู้คนกำลังรู้สึก Euphoria สูงมากๆ(ไม่กังวลหรือ Greed)
สูงกว่าวิกฤตปี 2008 เเละ วิกฤต Dot-com ไปเเล้ว
ความกลัวและความโลภ (Fear&Greed)
บังอยากให้ทุกคนดู Chart นี้ให้ดีนะครับ
จากภาพคุณจะเห็นว่าปัจจุบันนี้Fear&Greed
อยู่ในระดับ 100% เเละในตอนนี้ได้เกิดการปรับตัวลงมา ซึ่งพอเรานำไปเปรียบเทียบกับกราฟของดัชนี
S&P 500 เราจะเห็นว่าการเคลื่อนที่ของ Fear&Greed ในรูปเเบบ Double Top จะส่งผลให้เกิดการ
correction ในตลาดหุ้นในระยะเวลาถัดไป
**ลองดูเส้นสีเเดงที่บังวาดขึ้นมานะครับ
มันไม่ได้หมายความว่าตลาดจะเกิดการปรับตัวในรูปแบบเดิมนะครับ แต่มันก็เป็นหนึ่งในข้อมูลที่เราสามารถนำมาใช้พิจารณาการปรับตัวลดลงของตลาดในอนาคตได้
ดังนั้นจากกราฟนี้ถ้าเรามองให้ดี หลังจากปรับตัวลดลงของ Fear&Greed ครั้งเเรกก่อนจะทำโครงสร้าง Double top ตลาดหุ้นจะยังวิ่งขึ้นต่อครับ
เราได้เรียนรู้อะไรกันบ้างจาก 3 Chart ข้างบนนี้บ้าง?
Chart เเรก ( S&P 500 Price to earning ratio)
(1)เมื่อเรามองในมุมมองของ S&P 500 Price to earning ratio ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เราได้ยืนอยู่บนฟองสบู่ขนาดใหญ่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(2)เราก็ยังได้รู้อีกว่า การที่ตลาดหุ้นอยู่ในสถานะฟองสบู่ไม่ได้หมายความว่าฟองสบู่จะต้องแตกในเร็ววันนี้ ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ในระดับเดือนหรือระดับปี
(3) การที่ตลาดหุ้นถูกซื้อขายในราคาระดับนี้ เป็นผลมาจากการ Bet ไปที่อนาคต Bet ไปกับหุ้น Tech ที่จะ Growth มากกว่านี้เเบบทวีคูณ
Chart ที่สอง (Panic&Euphoria)
ตอนนี้กราฟนี้ได้เเสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของผู้คนในตลาดที่เอียงไปทาง Euphoria อย่างชัดเจน
สูงกว่าช่วง Dot-Com เเละสูงกว่าช่วง Great recession
Chart ที่สาม (Fear&Greed)
ตอนนี้กราฟ Fear&Greed ยืนอยู่ในระดับ 100%
จาก Chart ด้านบนนี้ ทุกครั้งที่ Fear&Greed ทำ pattern Double top จะเกิดการ Correction ตามมา
เเละการปรับตัวลดลงในครั้งเเรกของ Fear&Greed ก่อนจะทำยอด top ที่สอง ตลาดหุ้นจะยังคงวิ่งปรับตัวสูงขึ้นไปอีก..
ลองนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจ สำหรับการลงทุนของตัวเองนะครับ
เราควรจะวางเงิน จะเดิมพันกับสินทรัพย์แบบไหน
เเละที่สำคัญนะครับ เเยกตัวเองให้ออกนะครับ
ว่าเรากำลัง speculate หรือกำลัง Invest
1
ขอบคุณทุกคนที่ยังคงติดตามบังนะครับ
เพราะความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุด 📚
ตอนนี้บังได้สร้างซีรีส์อัลบั้มของบทความไว้เเล้ว
สำหรับคนที่สนใจสามารถติดตามอ่าน
ย้อนหลังได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะครับ
ถ้าตลาดหุ้นกำลังจะถล่ม
เราอยู่ในจุดที่ต่ำสุดเเล้วหรือยัง ?
โฆษณา