29 ธ.ค. 2020 เวลา 11:51 • ปรัชญา
มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
แปล : อมร ทองสุก
เสียงอ่าน : นลินรัตน์ ธรรมพุฒิพงศ์
มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "หฤทัยสูตร" นี้ เป็นพระสูตรที่พระถังซำจั๋งทำการแปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน ฉบับที่นำมาทำคลิปนี้เป็นฉบับที่ตัดย่อเฉพาะเนื้อความที่เป็นหัวใจของพระสูตร ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกแก่การสวดท่องและเรียนรู้นั่นเอง เนื้อหาฉบับย่อมีดังนี้
มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ครั้นทรงปฏิบัติปรัชญาปารมิตาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงพินิจเห็นเบญจขันธ์ล้วนว่างเปล่า แลพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง
สารีบุตร. รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างไม่ต่างจากรูป รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ประดุจเดียวกัน
สารีบุตร. อันสุญลักษณ์แห่งสรรพธรรม ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่ม ไม่ลด ฉะนั้น ในความว่างจะไร้รูป ไร้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไร้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ไร้จักษุธาตุ กระทั่งไร้มโนวิญญาณธาตุ ไร้อวิชชา อีกทั้งไร้การสิ้นไปแห่งอวิชชา กระทั่งไร้ชรามรณะ อีกทั้งไร้การสิ้นไปแห่งชรามรณะ ไร้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไร้ปัญญา อีกทั้งไร้การได้ ก็เพราะว่าไร้สิ่งที่ได้
พระโพธิสัตว์. ด้วยเหตุที่ทรงดำเนินตามปรัชญาปารมิตานี้ ใจจะไร้ความขัดข้อง ด้วยเหตุที่ไร้ความขัดข้องแล้ว ก็จะไร้ความหวาดวิตก และพ้นจากความวิปลาสเพ้อฝัน จนมีพระนิพพานเป็นที่สุด
พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล ด้วยเหตุที่ทรงปฏิบัติในปรัชญาปารมิตา จึงบรรลุในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้นจึงทราบว่า ปรัชญาปารมิตา คือมหาศักดามนตร์ คือมหาประภามนตร์ คืออนุตตรมนตร์ คืออสมสมมนตร์ สามารถขจัดความทุกข์ทั้งปวง อันเป็นสัจจาที่ไม่ลวงแต่ประการใด ฉะนั้นจึงประกาศปรัชญาปารมิตามนตร์ โดยประการฉะนี้
คเต คเต ปารคเต ปารสังคเต โพธิสวนหา
ส่วนฉบับเต็ม จะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
1
ดังที่เราได้สดับ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทับอยู่บนคิชกูฏบรรพตแห่งกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยหมู่ภิกษุและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสู่สมาธิ นามว่าไวปูลย
เพลานั้น ในที่ประชุมมีพระมหาสัตว์ นามว่าพระอวโลกิเตศวร ครั้นได้ทรงปฏิบัติปรัชญาปาริตาอย่างลึกซึ้งแล้ว ได้ทรงเพ่งเห็นว่าเบญจขันธ์ล้วนว่างเปล่า แลพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง ขณะนั้น ด้วยพุทธานุภาพแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสารีบุตรได้พนมกรแล้วทูลถามพระอวโลกิเตศวรมหาสัตว์ว่า “กุลบุตร หากมีผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้ในปรัชญาปารมิตาวัตรอันลึกซึ้ง พึงบำเพ็ญปฏิบัติเช่นไร?” พระสารีบุตรได้จบคำถามเพียงเท่านี้
เพลานั้น พระอวโลกิเตศวรมหาสัตว์ ได้ทรงมีพุทธบรรหารแด่สารีบุตรผู้ทรงวัยวุฒิ (อายุสมันต์) ว่า “สารีบุตร หากกุลบุตรกุลธิดาได้ปฏิบัติปรัชญาปารมิตาวัตรอย่างลึกซึ้งแล้ว พึงพิจารณาให้เห็นถึงความว่างเปล่าแห่งเบญจขันธ์
“สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างไม่ต่างจากรูป รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ประดุจเดียวกัน
“สารีบุตร อันสุญลักษณ์แห่งสรรพธรรม ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่ม ไม่ลด ฉะนั้น ในความว่างจะไร้รูป ไร้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไร้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ไร้จักษุธาตุ กระทั่งไร้มโนวิญญาณธาตุ ไร้อวิชชา อีกทั้งไร้การสิ้นไปแห่งอวิชชา กระทั่งไร้ชรามรณะ อีกทั้งไร้การสิ้นไปแห่งชรามรณะ ไร้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไร้ปัญญา อีกทั้งไร้การได้ ก็เพราะว่าไร้สิ่งที่ได้
“พระโพธิสัตว์ ด้วยเหตุที่ทรงปฏิบัติในปรัชญาปารมิตา ใจจะไร้ความขัดข้อง ด้วยเหตุที่ไร้ความขัดข้องแล้ว ก็จะไร้ความหวาดวิตก และพ้นจากความวิปลาสเพ้อฝัน จนมีพระนิพพานเป็นที่สุด
“พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล ด้วยเหตุที่ทรงปฏิบัติในปรัชญาปารมิตา จึงบรรลุในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้นจึงทราบว่า ปรัชญาปารมิตา คือมหาศักดามนตร์ คือมหาประภามนตร์ คืออนุตตรมนตร์ คืออสมสมมนตร์ สามารถขจัดความทุกข์ทั้งปวง อันเป็นสัจจาที่ไม่ลวงแต่ประการใด ฉะนั้นจึงประกาศปรัชญาปารมิตามนตร์
“โดยประการฉะนี้
คเต คเต ปารคเต ปารสังคเต โพธิสวหา
“ด้วยเหตุนี้ สารีบุตร สำหรับปรัชญาปารมิตาวัตร เหล่าพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงปฏิบัติเช่นนี้แล”
การแถลงไขได้จบลงเพียงเท่านี้
เพลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงออกจากไวปูลยสมาธิ แล้วตรัสชมพระอวโลกิเตศวรมหาสัตว์ว่า “สาธุ สาธุ อันกุลบุตร พึงเป็นเช่นนี้ พึงเป็นเช่นนี้ ดังที่เธอได้กล่าวมา ปรัชญาปารมิตาวัตรอันลึกซึ้งนั้น พึงปฏิบัติดังนี้ ครั้นได้ปฏิบัติดังนี้แล้ว เหล่าพระตถาคตจักร่วมอนุโมทนา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสจบ พระสารีบุตรผู้ทรงด้วยวัยวุฒิก็อิ่มเอิบด้วยความปีติเปรมปรีดิ์ พระอวโลกิเตศวรมหาสัตว์ก็ทรงบังเกิดมหาปีติเช่นกัน ฝ่ายเทวา มนุษย์ อสุรา คนธรรพ์ ที่อยู่ในที่ประชุม เป็นอาทิ ครั้นได้สดับพุทธบรรหารแล้ว ต่างเกิดความเกษมเปรมปรีดิ์ และน้อมรับนำปฏิบัติด้วยความศรัทธา
2
如是我聞
一時佛在王舍城耆闍崛山中,與大比丘眾及菩薩眾俱。時佛世尊即入三昧,名廣大甚深。
爾時眾中有菩薩摩訶薩,名觀自在。行深般若波羅蜜多時,照見五蘊皆空,離諸苦厄。即時舍利弗承佛威力,合掌恭敬白觀自在菩薩摩訶薩言:「善男子!若有欲學甚深般若波羅蜜多行者,云何修行?」如是問已。
爾時觀自在菩薩摩訶薩告具壽舍利弗言:「舍利子!若善男子、善女人行甚深般若波羅蜜多行時,應觀五蘊性空。
舍利子!色不異空,空不異色。色即是空,空即是色。受、想、行、識亦復如是。
舍利子!是諸法空相,不生不滅、不垢不淨、不增不減。是故空中無色,無受、想、行、識,無眼、耳、鼻、舌、身、意,無色、聲、香、味、觸、法,無眼界乃至無意識界。無無明亦無無明盡,乃至無老死亦無老死盡。無苦、集、滅、道,無智亦無得。以無所得故。
菩提薩埵依般若波羅蜜多故心無罣礙。無罣礙故,無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。
三世諸佛依般若波羅蜜多故,得阿耨多羅三藐三菩提。故知般若波羅蜜多是大神咒,是大明咒,是無上咒,是無等等咒。能除一切苦,真實不虛。故說般若波羅蜜多咒。」
即說咒曰:
「揭諦揭諦 波羅揭諦 波羅僧揭諦 菩提薩婆訶
「如是,舍利弗!諸菩薩摩訶薩於甚深般若波羅蜜多行,應如是行。」如是說已。
即時,世尊從廣大甚深三摩地起,讚觀自在菩薩摩訶薩言:「善哉,善哉!善男子!如是,如是!如汝所說。甚深般若波羅蜜多行,應如是行。如是行時,一切如來皆悉隨喜。」
爾時世尊說是語已,具壽舍利弗大喜充遍,觀自在菩薩摩訶薩亦大歡喜。時彼眾會天、人、阿修羅、乾闥婆等,聞佛所說,皆大歡喜,信受奉行。

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา