30 ธ.ค. 2020 เวลา 04:49 • ดนตรี เพลง
“ฟังเพลง ลาวดวงเดือน แบบนักดนตรี”
องค์เจ้าชายเพ็ญพัฒน์ กับ เจ้าหญิงชมชื่น
“โอ้ละหนอดวงเดือนเอย
ข้อยมาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง....”
ประวัตินักดนตรีไทย เจริญชัย ชนม์ไพโรจน์
จากเพลงไทยเดิม “ลาวดำเนินเกวียน มาเป็น “ลาวดวงเดือน” เป็นเพลงไทย สำเนียงลาว อัตราจังหวะ 2 ชั้น หน้าทับลาว ลีลาการดำเนินทำนองลูกกลอน โดยใช้โน้ต 5 เสียง “โด เร มี ซอล ลา” เป็นหลัก เนื้อหาของเพลงกล่าวถึงการอาลัยอาวรณ์พลัดพรากจากกัน มีการพร่ำรำพันให้อารมณ์ความรู้สึก ในบรรยากาศยามค่ำคืนที่เห็น
”เดือนแรม เริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า เห็นมืดมนพี่ทนทุกข์ทุกข์ทน โอ้เจ้าดวงเดือนเอย”
แสดงให้เห็นการประพันธ์เพลงในบรรยากาศยามราตรีอันมืดมิด เป็นสื่อสร้างจินตนาการ บทเพลงนี้ถือเป็นวรรณกรรมทรงคุณค่า (ศรขัย เต็งรัตน์ล้อม:ศศ.ม(ดุริยางค์ไทย) ม.ราชภัฎลำปาง)
คำว่า “ลาว” หมายถึงผู้สูงศักดิ์ในแว่นแคว้นทางเหนือ มิใช่หมายถึงคนลาวหรือประเทศลาวอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
เพลงลาวดวงเดือน องค์ชายทรงนิพนธ์ปี 2451
องค์ชายเพ็ญพัฒน์
หรือก่อนหน้านี้ (ประวัติศาสตร์นักดนตรีไทย เจริญชัย ชนม์ไพโรจน์ ,2513) บทเพลงนี้หากขาดซึ่งที่ไปที่มาก็คงไม่สมบูรณ์ไปได้ แต่ดังที่หลายๆท่านคงเคยค้นอ่านเรื่องราวของพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ที่ไม่สมหวังในความรักแม้จะได้เพียรพยายามสู่ขอตามราชประเพณีแล้วก็ตาม ทางผู้ปกครองขององค์หญิงชวนชื่นก็จะอ้างเหตุผลต่างๆ นานา ซึ่งเสด็จองค์เจ้าชายเองก็ทรงเข้าใจเหตุผลที่ยกขึ้นมาดี
(ในมุมมองของผมเอง หากไปไล่เรียงลำดับพระประยูรญาติแล้วจะพบว่าทางเจ้าปกครองนครเขียงใหม่ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราชวงศ์จักรี จึงไม่น่าแปลกใจที่ จะปฏิเสธโดยการหาเหตุผลที่นุ่มนวล เช่นอายุของเจ้าหญิงยังน้อยไป หรือ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นสะใภ้หลวงและได้รับยศตามฐานะ มิฉะนั้นเจ้าหญิงจะเป็นเพียงพระสนม ในขณะที่ข่วงนั้นก็มีข่าวออกมาว่าพระองค์เจ้าชายเพ็ญทรงมีชายา และหม่อม ทั้ง 2 องค์อยู่แล้ว (facebook paisal puechmongkol)
แต่มีอีกหนึ่งมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ “เรื่องการเมือง”
ในสมัยนั้นหัวเมืองทางเหนือ มีความสัมพันธ์ทั้งกับสยามและพม่า เป็นความสัมพันธ์ที่สยามมองว่ามีเหตุผลเคลือบแคลงและไม่น่าไว้วางใจ ดังนั้นจึงเกิดโศกนาฏกรรมความรักในลักษณะนี้อีกหลายครั้งในสมัยนั้น เหตุก็เป็นเพราะการเมืองนั่นเอง(facebook:ประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อนและหลัง 2475)
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยเขียนอธิบายไว้ในหนังสือ “โน้ตเพลงเล่ม 1 “ ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญ ทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นยอด และมีวงปี่พาทย์ของพระองค์เองเยี่ยงเจ้านายของวงอื่นๆ
พระองค์เจ้าชายเพ็ญ
กรมหมื่นพิชัยฯ ทรงโปรดทำนองและลีลา “เพลงลาวดำเนินทราย” เป็นเพลงสำเนียงลาว ซึ่งอาจารย์ทางดนตรีได้เลียนทำนองมาจากการร้องสักวาของเก่าที่ชื่อว่า “สักวาลาวเล็ก” เป็นอันมาก
ระหว่างทรงเกวียนไปตรวจราชการที่ภาคอีสาน ช่วงที่มีการพักแรมตามทาง จึงทรงแต่งเพลงให้มีทำนองเป็นสำเนียงลาวขึ้น โดยมีลีลาแบบเพลงลาวดำเนินทราย ขึ้นชื่อว่า “ลาวดำเนินเกวียน” ให้เป็นเพลงคู่กัน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จครั้งนี้ และยังทรงพระนิพนธ์บทร้องประจำกับเพลงนี้ด้วย
“อาจารย์สง่า อารัมภีร์” เขียนไว้ในหนังสือ ”ความเอย-ความหลัง” ว่า พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ยังทรงโปรดเพลง “ตับลาว เจริญศรี” เป็นพิเศษ
อายุเยาวเรศรุ่น เจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดั่งอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย
เนื่องจากเป็นเพลงที่มีทำนองความไพเราะอ่อนหวานแล้ว เนื้อร้องก็ทำให้พระองค์ครุ่นคิดถึงโฉมอันพิลาสของเจ้าหญิงชมชื่นอีกด้วย จึงทรงระบายความรัก ความอาลัยต่อเจ้าหญิงชมชื่น ออกมาเป็นบทกลอนในพระนิพนธ์บทร้อง “ลาวดวงเดือน” ซึ่งพระองค์ทรงโปรดนักโปรดหนา
1
ที่มา:
ทำนองเพลงและการแปรทำนอง
เพลงลาวดวงเดือน สองชั้น ท่อนที่หนึ่ง เปรียบเทียบทำนองร้องที่แท้จริงกับทำนองร้องที่ปรุงแต่งเสียงดังนี้
ลาวดวงเดือน ทำนองเพลงหลัก
หากปรุงแต่งเสียง ทั้งให้เกิดความไพเราะ และความถูกต้องตามระดับเสียงในหลักไวยากรณ์จะได้ดังนี้
ลาวดวงเดือน ทำนองเพลงปรุงแต่ง
จะเห็นว่าทำนองร้องทั้งสองแบบ มีความไพเราะต่างกันมาก
เมื่อนำเพลงลาวดวงเดือนออกมาขับร้องและบรรเลงก็ได้รับความนิยมจากวงการดนตรีไทยอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นบทเพลงอันแสนไพเราะ หวานซึ้ง มีกลิ่นอายแห่งความรักมิรู้คลาย ทั้งยังชวนให้เข้าถึงจิตใจของพระองค์เจ้าชายในช่วงเวลานั้น....
“โอ้ละหนอดวงเดือนเอย
ข้อยมาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง....
...ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย
บ่เหมือนทรามเชยเราละหนอ”
ไม่ว่าบทเพลงนี้จะถูกขับขาน บรรเลง โดยเครื่องดนตรีสมัยใด แต่บทเพลงยังคงความอมตะ มีกลิ่นหอม รสหวานซึ้งใจ ราวกับได้ย้อนกลับไปสัมผัสเหตุการณ์ในเวลานั้น ประหนึ่งใจที่ถูกลมพัดลอยล่อง ฟุ้งกระจายทั่วแผ่นดินสยามตราบนานเท่านาน///|||
ท้ายเรื่อง
พระองค์เจ้าเพ็ญ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดามรกฎ ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ มีความสามารถทรงเล่นดนตรีได้หลายชนิด พระนิพนธ์เพลงทั้งคำร้องและทำนองได้ไพเราะ โดยมีเพลงใหม่ๆ ออกมาเสมอ
1
สายสกุลทางเจ้าจอมมารดามรกฎ มีความสามารถด้านดนตรี และบ้านเดิมของพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีละครและดนตรีวงใหญ่ ดังนั้นพระองค์เจ้าชายเพ็ญ จึงได้รับเขื้อสายนักดนตรี และโปรดดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์
พระยามหินทรศักดิ์ธำรง
“ชายเพ็ญ”ทรงตั้งวงดนตรีชื่อ “พิณพาทย์พระองค์เพ็ญ” นักดนตรีฝีมือเอกชื่อ ครูหวาด บัวทั่ง ครูปั้น บัวทั่ง บางคราวขอตัวพระยาประสานดุริยศัพท์ ครั้งเป็นนายแปลก ประสานศัพท์ ไปช่วยต่อเพลง
พระยาประสานดุริยศัพท์
ระหว่าง พ.ศ.2450-พ.ศ.2452 ทรงพระนิพนธ์บทร้องเพลงไว้เป็นอันมาก เช่น บทร้องเพลงลาวคำหอม 2 ขั้น ลาวดำเนินทราย เพลงแป๊ะ 3 ชั้นลาวดำเนินเกวียน
กรมหมื่นพิไชยฯ ทรงมีพระชายาพระองค์แรก คือ ม.จ.วรรณวิไล กฤดากร มีโอรสองค์หนึ่ง สิ้นพระชมน์แต่ยังทรงพระเยาว์ และพระธิดาองค์หนึ่งคือ ม.จ.พรรณเพ็ญแข กฤดากร(11 กันยายน พ.ศ. 2448 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์
1
องค์ชายเพ็ญ หม่อมเจ้าวรรณวิไล เจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข เพ็ญพัฒน์
เจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข
และมีโอรสกับหม่อมเทียม (คชเสนี) อีกองค์หนึ่ง พระนามว่า ม.จ.เผ่าเพ็ญพัฒน์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 10 มกราคม พ.ศ. 2503) ซึ่งสืบสายราชสกุล “เพ็ญพัฒน์” มาจนทุกวันนี้
หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์
ทรงมีพระเชษภคินี คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี
พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในทางกวีนิพนธ์ เช่น ทรงร้อยเรียงนิราศหัวหินที่งดงามทั้งวรรณศิลป์และมีความไพเราะจับใจยิ่งนัก
นิราศหัวหิน (1)
นิราศหัวหิน (2)
พระองค์เจ้าจุฑารัตนฯ ทรงประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และพระวักกะ (ไต) สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 สิริพระชันษา 57 ปี
พระองค์ชายเพ็ญพัฒน์ ทรงสิ้นพระชนม์ (ประชวรพระโรคปอด) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒ มีพระชนมายุเพียง ๒๘ พรรษา
11 พย.2452 องค์ชายเพ็ญสิ้นพระชนม์
ผลงานของพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์
นิราศรักษาตัว (1)
นิราศรักษาตัว (2)
นิราศรักษาตัว (3)
นิราศรักษาตัว (4)
สุสานหลวงจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ วัดราชบพิตร
ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นที่บรรจุสรีรางคารของเชื้อพระวงศ์ ผมเดินไปทีอนุสาวรีย์ องค์ที่ 32 จากทั้งหมด 34 องค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดามรกฎ
ลำดับสายสกุลเพ็ญพัฒน์
อนุสาวรีย์องค์ที่ 32
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี พระธิดา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ท่านหญิงพรรณเพ็ญแข กฤษดากร หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ...(วันนี้ 05-02-2564 ผมได้นำพวงมาลัยสีเหลือง ไปกราบถวาย ยังหน้าอนุสาวรีย์ที่ประทับสุดท้ายขององค์ชายเพ็ญและพระประยูรญาติ)
เจ้าหญิงชมชื่น ณ เชียงใหม่
ประสูตร พ.ศ. 2377
ธิดาคนที่ 2 ของเจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ (ธรรมลังกา) กับเจ้าหญิงคำย่น ณ ลำพูน
เจ้าหญิงคำย่น ณ ลำพูน
เจ้าหญิงถือกำเนิดที่กรุงเทพพระมหานคร ในขณะที่เจ้าบิดาและเจ้ามารดา ไปพำนักอยู่ ณ บ้านฝั่งธนบุรี ตรงกับ พ.ศ.2430 เจ้าหญิงเติบโตในกรุงเทพฯ พออายุได้ 10 ปี จึงเดินทางกลับมานครเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ้าบิดาและเจ้ามารดากลับถิ่นเดิม
 
เจ้าหญิงชมชื่นได้สมรสกับเจ้าเมืองคำ มีบุตรชาย 1 คนชื่อ เจ้าวุฒิ ณ ลำพูน แล้วเจ้าเมืองคำก็เดินทางกลับนครลำพูน สมรสใหม่กับเจ้าหญิงนวลคำ ธิดาเจ้าราชบุตร นครลำพูน ในครั้งนั้นเจ้าหญิงชมชื่น ได้เขียนค่าวซอบันทึกไว้ จนเป็นที่ท่องจำถึงการณ์ที่เจ้าเมืองคำพรากรัก
รูปภาพเจ้าหญิงมาได้อย่างไร
ภาพนี้พระองค์ชายเพ็ญทรงเตรียมกล้องไปถ่ายภาพครอบครัวของเจ้าราชสัมพันธ์วงศ์พร้อมกับเจ้าหญิงคำย่น และเจ้าเผ่าพรหมพี่ชายของเจ้าหญิงชมชื่น ในปี 2446 ในรูปเจ้าหญิงชมชื่น นั่งใกล้เจ้าบิดา เด็กชายที่นั่งหน้าคือ เจ้ากุศลวงศ์ ณ เขียงใหม่ การถ่ายภาพครั้งนี้พระยานริศรราชกิจ (เฒ่าแก่) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพตามเสด็จ
ครอบครัวของเจ้าหญิงชมชื่น
บิดา เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์
มารดา เจ้าหญิง คำย่น
บุตร 4 คน
1. เจ้าเผ่าพรหม ณ เขียงใหม่
2. เจ้าหญิงชมชื่น ณ เชียงใหม่
3. เจ้าน้อยกุศลวงศ์ ณ เชียงใหม่
4. เจ้าหญิงบุญจักร์คำขจรศักดิ์
3 คนแรก เกิดที่กรุงเทพ ส่วนคนสุดท้ายเกิดที่นครเชียงใหม่
หลังปี 2460 (หลังพระองค์ชายเพ็ญสิ้นพระชนม์แล้ว 8 ปี ) พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ กับเจ้าหญิงส่วนบุญจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นชายาของเจ้าจักรคำและน้องเจ้าหญิงชมชื่น ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ
พระยานริศรราชกิจ อดีตข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพซึ่งชรามากแล้ว ได้นำภาพถ่ายใบนี้มามอบให้เจ้าหญิงส่วนบุญ พร้อมกับเรียนเจ้าจักรคำกับเจ้าหญิงส่วนบุญว่า
“ของฝากสำหรับเจ้าหญิง คือรูปถ่าย เจ้าพ่อ เจ้าแม่ และเจ้าหญิงชมชื่นพี่สาวของเจ้า ที่พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์ ทรงถ่ายเมื่อ 2446 ขณะเจ้าหญิงมีอายุเพียง 7 ขวบ มีใบเดียวเท่านั้น ขอฝากให้ไปด้วย”
สิ้นพระชนม์
28 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนา เลื่อนพระยศเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น
(มีต่อ)
ลาวดำเนินทราย
สักวารลาวเล็ก
ตับลาว เจริญศรี
ตับลาวเจริญศรี
ครูมนตรี ตราโมท
ครูมนตรี ตราโมท
นักดนตรีไทยขาวจังหวัดสุพรรณบุรี แต่งเพลงไว้ในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นจำนวนไม่น้อย มีความเชี่ยวชาญทั้งในการประพันธ์ บทเพลง บทร้อง และยังมีความสามารถในการแต่งเพลงประกอบการแสดง ระบำต่างๆ มีผลงานมากมายสุดจะพรรณนาได้ เพลงที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ขึ้นชื่อมากมีหลายเพลง เช่น โสมส่องแสง เขมรปี่แก้วทางสักวา จะเข้หางยาวทางสักวา นางครวญเถา นกขมิ้นเถา พม่าเห่เถา และพระจันทร์ครึ่งซีกเถา เป็นต้น(พูนพิศ อมาตยกุล; 2524: 20)
ครูสง่า อารัมภีร
ภาพจากอินเตอร์เน็ต ครูสง่าฯ
สง่า อารัมภีร หรือ ครูแจ๋ว (แจ๋ว วรจักร์) (11 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2542) เป็นนักเขียนและศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) เมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นนักแต่งเพลงซึ่งแต่งทำนองเพลงอมตะหลายเพลง เพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "น้ำตาแสงไต้" และ "เรือนแพ"(th.m.wikipedia.org)
ครูหวาด บัวทั่ง (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๔๘๕)
(ไม่พบรูป)
นามานุกรมศิลปินเพลงไทย
นายหวาดบัวทั่ง
ครูหวาด บัวทั่ง เป็นบุตรของ ครูปั้น และแม่เปลี่ยน บัวทั่ง เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘ มีน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๒๕) คือ นายเฉลิม บัวทั่ง (ต่างมารดา) ซึ่งมีอายุห่างกันถึง ๓๕ ปี
เนื่องจากครูปั้น ผู้เป็นบิดา เป็นนักดนตรีอยู่ในบ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ครูหวาด จึงได้เรียนดนตรีจากบิดาตั้งแต่ยังเล็กและได้ติดตามบิดาเข้าไปเล่นดนตรีอยู่ในบ้านเจ้าพระยามหินทร์ ฯ จนโตเป็นหนุ่ม และได้ภรรยาชื่อประนอม ซึ่งเป็นนักแสดงละครคนหนึ่งในบ้านเจ้าพระยามหินทร์ ฯ มีธิดาด้วยกัน ๑ คน ชื่อ ไสว ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับนายเฉลิม บัวทั่ง
ครูปั้นกับครูหวาด ได้ถวายตัวเป็นนักดนตรีในวังของพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ กรมหมื่นพิไขยมหินทโรดม เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๔๕๐ พร้อม ๆ กับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ซึ่งขณะนั้นท่านพระยา ฯ อายุได้ประมาณ ๔๐ ปี ครูปั้น อายุประมาณ ๕๐ ปี และครูหวาดอายุประมาณ ๓๐ ปี
จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๒ กรมหมื่นพิไชยมหินทรโรดมสิ้นพระชนม์ วงดนตรีพระองค์เพ็ญ ก็ยุบลง ครูปั้นกับครูหวาดก็ออกจากวังกรมหมื่นพิชัย ฯ ไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี รับงานปี่พาทย์ทั่วไป จนถึงปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ ครูปั้นก็ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๖๖ ปี ครูหวาดจึงได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีแทนบิดา
ครูหวาด มีฝีมือดีในทางปี่พาทย์ สามารถบรรเลงได้รอบวง ได้แต่งเพลงไว้เพลงหนึ่ง ชื่อว่า “เพลงสำเนียงอรชร 3 ชั้น” เป็นเพลงมีลูกล้อลูกขัด ตอนขึ้นต้นบรรเลงคล้ายเพลงคุณลุงคุณป้าตอนกลางคล้ายเพลงนางครวญ เป็นเพลงสองท่อนแบบลดเสียง นำมาใช้บรรเลงเป็นเพลงโหมโรงได้ไพเราะ น่าฟังมากเพลงหนึ่ง
ศิษย์ของครูหวาด นอกจากนายเฉลิม ผู้น้องชายแล้ว ยังมี นายปุ่นและนายแถม คงศรีวิไล โดยเฉพาะนายแถม ได้เรียนปี่จากครูหวาดจนมีฝีมือดีมาก
เมื่อเข้าสู่วัยชรา ครูหวาดได้มอบวงดนตรีของท่านให้นายเฉลิมและนางไสวควบคุมต่อมา ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ รวมอายุได้ ๖๗ ปี (ที่มา ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์)
ครูปั้น บัวทั่ง (กำลังค้นหาประวัติ)
ครูปั้น บัวทั่ง (30/01/2564)
นายปั้นบัวทั่ง
ในที่สุดผมก็ได้พบกับหลานชายของครูปั้น บัวทั่ง นักดนตรีฝีมือดีของวง “องค์เจ้าชายเพ็ญ” คือครูพัฒน์ บัวทั่ง ซึ่งเป็นบุตรชายคนหนึ่งของครูเฉลิม บัวทั่ง
ครูเฉลิม บัวทั่ง
ปัจจุบันท่านอายุเกือบ 80 ปีแล้ว ท่านพักอยู่แถวๆ ตลาดดวงแก้ว ก่อนถึง รร.พระหฤทัยคอนแว้นท์ นนทบุรี โดยเปลี่ยนชื่อเป็น พีรศิษย์ บัวทั่ง
ป้ายพีรศิษย์ บัวทั่ง
ได้พูดคุยเกี่ยวกับประวัติ ผลงาน ของครูปั้น บัวทั่ง (คุณปู่) แต่ท่านก็รับรู้ได้ไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของพ่อครู คือครูเฉลิม บัวทั่ง ผู้เป็นบิดา ครูพัฒน์ฯ ท่านเล่าให้ฟังอย่างภาคภูมิใจว่า
“ช่วงที่ครูเฉลิมฯ อยู่กับพระยาประสานดุริยศัพท์ หากแขกไปใครมา จะให้ครูเฉลิมคอยเสริฟน้ำเสริฟท่า และนั่งอยู่ใกล้ๆ คอยรับใช้” ครูพัฒน์ก็เล่าต่อว่า
“เมื่อแขกกลับไปแล้ว หากเป็นการพูดคุย และมาเล่นดนตรี เช่นระนาดให้ดู พระยาประสานจะถามว่า จำได้ไหม หากตอบว่าได้ ท่านก็ให้ลงมือเล่นให้ฟัง โดยครูเฉลิมฯ ไม่เคยทำให้ท่านผิดหวังเลย พร้อมกับตัวครูเฉลิมฯ เองก็ได้ระนาดมาเป็น 10 ทาง” ท่านพูดได้คล่องแคล่ว
1
ถ่ายจากรูปที่ตู้บ้านครูพัฒน์
ในรูปสมเด็จพระเทพฯ (อายุ 14) ทรงขับร้อง ฟ้าหญิงจุฬากรณ์ทรงนั่งอยู่ด้านข้าง “มีคราวหนึ่งสมเด็จพระบรมราขินีนารถในรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่าให้เล่นเพลงลาวดวงเดือน”
หนังสือสยามสังคีต นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล
ครูพัฒน์ ซึ่งเล่นดนตรีต่อหน้าพระพักตร์ล้นเกล้าทั้ง 2 พระองค์ เล่าให้ฟัง
อังกะลุง ทำด้วยมือ ที่รอการหีบห่อ
อังกะลุงหีบห่อแล้ว รอส่ง
นำไม้ไผ่มาทำเครื่องดนตรีแบบกด
ห้องทำงานครูพัฒน์
ความสุขของครู
ทุกวันนี้ท่านยังผลิตอังกะลุงแบบ3 กระบอก ด้วยมือ ( Angkhalung by Hand Made) จำหน่ายให้แก่ สถาบันการศึกษา ผู้ที่สั่งจอง รวมถึงรับซ่อมเครื่องดนตรีไทยอีกด้วย ลองโทรไปสอบถามท่านได้ครับ ท่านอารมณ์ดี สนทนาสนุกสนาน ความรู้มากมายอย่างกับหอจดหมายเหตุเคลื่อนที่เลยครับ โดยเฉพาะผู้เรียนสายดนตรีไทย
ครูพัฒน์รับพระราชทานรางวัล
ครูพัฒน์ (พีรศิษย์) บัวทั่ง โทร. 0927891516
“น้ำลาย ไอปาก” เป็นคำที่ครูพัฒน์เอ่ยไว้ถึงพระคุณของครูที่พร่ำสอนซึ่งศิษย์ควรระลึกและมีความกตัญญูกตเวที
ปล.ผมจะต้องหาโอกาสไปกราบครู เพื่อขอฟังเพลง “ลาวดวงเดือน” บรรเลงโดยระนาดฉบับครูพัฒน์ ให้ได้ครับ
เอกสารหายาก
ปล. ผมจะเขียนต่อเติมไปเรื่อยๆ จะดูว่าเรื่องราวจะจบลงอย่างไร เพราะมีปมประวัติศาสตร์หลายปมที่ยังไม่ถูกเคลียร์
1.ภาพ ประวัติหม่อมเทียม คขเสนี
2. ประวัติครูปั้น ภาพครูหวาด บัวทั่ง 2 ครูพ่อ ลูก
3. ทำนองเพลงลาวดวงเดือนต้นฉบับ
4. การประชันวงพิณพาทย์ในปร 2449 ในงานเปิดวังบางขุนพรหม มีวงไหนไปบ้าง รายชื่อคนในวง ใครเป็นคนตัดสิน กติกาเป็นอย่างไร ใครชนะ
โฆษณา