31 ธ.ค. 2020 เวลา 23:43 • การตลาด
หลายคนคงรู้จักกับ SWOT Analysis ที่ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจ ซึ่งมองในมุมมองของทั้งในมุมบวก และมุมลบ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
แต่ปัจจุบันนี้แค่ SWOT Analysis นั้นอาจไม่เพียงพอแล้ว เพราะด้วยสภาพแวดล้อมของการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ SWOT ขาดข้อมูลในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่บริษัทกำลังทำและเป้าหมายในอนาคตขององค์กร ทำให้ SOAR Analysis กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรควรให้ความสนใจ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ เพื่อสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรเชิงบวก และเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น โดย SOAR Analysis จะมุ่งไปที่จุดแข็ง โอกาส เป้าหมาย และผลลัพธ์องค์กรที่ตั้งไว้ จึงทำให้ SOAR Analysis เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประยุกต์วางแผนกลยุทธ์ รวมไปถึงการนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรเพื่อก้าวไปสู่องค์กรยุคใหม่ที่มุ่งไปสู่พลังงานบวก
แนวคิด SOAR Analysis จึงเป็นการนำแนวคิด AI และ SWOT เข้าด้วยกัน โดยตัดเอาจุดอ่อน และ ภัยคุกคามออก ทำให้ SOAR Analysis เป็นกระบวนการที่ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมธุรกิจที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในองค์กร โดยเข้าใจถึง จุดแข็ง (Strenght) โอกาส (Opportunity) แรงบันดาลใจ (Aspiration) และ ผลลัพธ์เชิงบวก (Result) ซึ่ง SOAR เป็นกระบวนการที่พัฒนามาจากฐานของ Appreciative Inquiry (AI) หรือ สุนทรียสาธก หรือถ้าพูดง่ายๆก็คือ การค้นหาสิ่งดีๆในองค์กรผ่านการตั้งคำถามในเชิงบวก เพื่อดึงเอาสิ่งดีๆเหล่านั้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
โฆษณา