Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไดโนสคูล
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2021 เวลา 03:59 • ปรัชญา
🎐นกอาสา สื่อธรรมะดังตฤณ
สวัสดี 2564 HNY2021 💖
เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกของปี ด้วยการตั้งใจใช้ชีวิต แบบ 'ไม่ประมาท' กันนะคะ ... คำโปรย น้าเอ้ แอดมิน
https://www.facebook.com/groups/DharmaDungtrin/permalink/3648918211818042/
* * * * * * * * *
ถาม : แค่ไหนเรียก ‘ประมาท’ แค่ไหนเรียก ‘มีวินัย’
https://www.facebook.com/groups/DharmaDungtrin/permalink/3648918211818042/
ดังตฤณ : คำว่า ‘ประมาท’ ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ชัดๆ
คือ "ความเมา" ของจิต
ที่พระองค์ตรัสไว้ในหลายที่ ก็คือ
ความเมาในวัย ในสภาพร่างกาย
ที่ยังมีความพร้อมให้เราใช้ทำกิจต่างๆ ตามกิเลส
เป็นความประมาทที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่แรก
ไปห้ามความประมาทไม่ได้
.
ธรรมะของพระพุทธเจ้า มีหลายระดับ
จะมีระดับที่ไปบวช ใช้เวลาเต็มที่ เพื่อเจริญสติ
ทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง
เรียกว่า เป็นความไม่ประมาทแบบ พระ
เป็นความไม่ประมาท ในระดับของการใช้ชีวิตในอุดมคติ
แบบที่พุทธศาสนาสอน
.
ถามว่าเราเป็นฆราวาส ยังจัดว่าประมาทอยู่ไหม?
โดยเพศของความเป็นฆราวาส ที่ไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมด
ในการทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง
เวลาพระอรหันต์มองมา ท่านจะเรียกแบบนี้ว่า ประมาท
.
แต่มีคำหนึ่งของพระสารีบุตรว่า ฆราวาสเกรด A
คือ พวกที่รู้ว่า ยังมีความสุขแบบอื่น นอกจากกามสุข
แค่ "รู้" อยู่ในใจ ก็เรียกว่าไปลดทอนความประมาทลงแล้ว
ส่วนที่ว่า ฆราวาส
ควรใช้เวลาในการเจริญสติแค่ไหน ถึงเรียกว่าไม่ประมาท
เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลแล้ว
.
ยกตัวอย่างผมเอง (คุณดังตฤณ)
จะตั้งไว้กับใจตัวเองว่า เวลาใดที่รู้สึกเข้ามาในกายใจได้เต็มที่
เวลานั้น คือ เวลาเจริญสติ
.
ไม่มีการกะเกณฑ์ว่า ต้องกี่ชั่วโมง
จับจุดตรงที่ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ "รู้" เข้ามาในกาย ในใจนี้เต็มๆ
แล้วเห็นเป็นสภาวะ รู้สึกว่า มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงให้เห็น
กำลังแสดงความไม่ใช่ตัวตนให้รู้
นั่นคือ เวลาที่จะบอกตัวเองได้ว่า เราอยู่ในจุดที่ไม่ประมาทแล้ว
.
พูดง่าย ๆ ว่า
เมื่อไหร่ก็ตามที่มีประสบการณ์ทางสภาวะขึ้นมา ทำเลย
และไม่สนใจด้วยว่า กำลังทำอะไรอยู่
ให้ความสำคัญกับการเห็นสภาวะก่อน
เพราะกำลังได้ที่ จิตกำลังอยู่ในสภาพพร้อมที่จะได้เห็น
ก็จะเหมือนกับว่าทำอยู่ทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งธงว่าจะต้องทำกี่ชั่วโมง
.
ถ้าเราตั้งธงไว้ว่า เมื่อไหร่ก็ตาม ที่สภาวะอยากให้เราเห็น
แล้วจิตของเรา พร้อมที่จะเห็น
เราเอาเลย เต็มที่ เราลงจิตให้กับตรงนั้นทันที
โดยไม่มาคำนึงว่าจะต้องทำไปนานเท่าไหร่
มันแสดงกี่นาที เราก็ดูเท่านั้น
บางทีมีค่ามากกว่าที่เราไปตั้งธง ว่าวันละกี่ชั่วโมง!
.
เพราะอะไร? เพราะใครจะรู้ว่าตรงนั้น
มาถึงจุดที่เราสมควรจะมีสิทธิ์ได้เข้าถึงธรรมแล้วหรือยัง
.
การเจริญสติเพื่อเข้าถึงธรรม ก็เหมือนขึ้นบันได มาทีละขั้น
ตอนที่อยู่พื้นดิน จะมองไม่เห็นว่าบันไดสูงกี่พันหรือกี่หมื่นขั้น
แต่พอเดินขึ้นไปตามลำดับ อยู่ระหว่างทาง
ตอนที่อยู่ในจุดที่สูง จะไม่มีวินาทีใดวินาทีหนึ่ง ที่ตัดสินว่านี่สูงแล้ว
มีแต่ว่ามองย้อนกลับไป แล้วรู้สึกว่ามาไกลแล้ว
.
และยิ่งตอนจะถึงขั้นสุดท้าย ก่อนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
ยิ่งไม่รู้เลยว่าเราจะมาถึงแล้ว ไม่มีนิมิตหมายบอก
มีแต่ว่าเราขึ้นมาเรื่อย ๆ พอจะถึงขึ้นมา
ก็ก้าวปกติของเรานั่นแหละ ออกแรงเท่าที่เคยออกแรง
มาในแต่ละก้าว ในแต่ละลำดับนั่นแหละ .. แล้วก็ถึง
.
ที่ถึง ไม่ใช่เพราะมีอุบายพิเศษ
แต่มาจากการที่เราขึ้นมาตามลำดับ
.
พอพร้อมจะถึง.. ใบไม้หล่นแค่ใบเดียว ก็ถึงได้
เหมือนในสมัยพุทธกาล ที่บางท่านบรรลุธรรมเพราะฟังเพลง
ท่านพิจารณาว่า ความบันเทิงที่เกิดจากเสียงเพลง
เป็นความปรุงแต่งของจิต
ไม่ใช่ว่า ฟังเพลงแล้ว ท่านจะบรรลุธรรมเสมอไปนะ
แต่ต้องวันนั้น ที่ท่านกำลังจะก้าวมาถึง ถึงได้เขี่ยผงในตาออก
แล้วทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา
.
เห็นมาเรื่อย ๆ แล้วจิตจะรู้ว่า
เพราะเห็นมาเรื่อย ๆ โดยไม่ทิ้งไม่ขว้างนี่แหละ
ถึงได้ขึ้นบันไดมาตามลำดับ
1
.
แต่ถ้ากะเกณฑ์ว่า 1 ชั่วโมงถือว่าไม่ประมาท
อย่างนี้ 1 ชั่วโมงนั้น อาจจะทำให้เราประมาทยิ่งกว่าเดิมก็ได้
คือกระหยิ่มใจว่าได้ทำ 1 ชั่วโมง ตามกำหนดถือว่าพอแล้ว
เลยลืมสังเกตธรรมะข้อปกติข้ออื่น ๆ ที่อยากจะแสดงให้เราดูในระหว่างวัน
.
ที่อ่านมา ที่ฟังมา เวลาคนบรรลุธรรม
ไม่ใช่เพราะตั้งไว้ก่อนว่า จะบรรลุเพราะธรรมะข้อไหน
แต่บรรลุเพราะ ชีวิตปกติธรรมดาๆ นี่ กระตุ้นให้เกิด "ความซึ้ง"
เข้าไปว่า ภาวะที่กำลังปรากฏอยู่ตรงหน้านี้
เป็นของหลอก .. มันหลอกให้เรายึด
.
เหมือนเส้นด้ายที่พันกันหลาย ๆ สี
แล้วหลอกว่าเป็นรูปดอกไม้ รูปดอกบัว อะไรต่าง ๆ
ที่จริงก็เป็นแค่ด้าย ที่มาพันกันชั่วคราว
ณ วินาที ที่รู้ตัวว่า ถูกหลอก
แล้วเห็นสิ่งที่กำลังหลอกเราเป็นแค่มายากล
ที่มาหลอกเราชั่วคราว
ณ เวลานั้นแหละ ที่จิตจะมีกำลัง รวมลงเป็นฌานได้
.
กำลังของจิตที่รวมเป็นฌาน
ไม่ใช่เกิดจากการนั่งสมาธิวันละกี่ชั่วโมง
แต่เกิดจากการที่จิตของเรา
มีสัมมาทิฏฐิ ในการมองสภาพกายใจ
ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
.
ฉะนั้น วินัยของเราคือ ตั้งธงดีกว่าว่า
จะดูในระหว่างวันไปเรื่อย ๆ โดยไม่จำกัดเวลา!
คำถามเต็ม : อะไร แค่ไหน เรียกว่าประมาท
คำถามที่ 2 คือ นอกจากที่"รู้" ในชีวิตประจำวัน รู้ลมหายใจบ้าง เห็นอารมณ์แรง ๆ บ้าง มีสติในชีวิตประจำวัน ควรจะปฏิบัติธรรมอย่างน้อยวันละกี่ชั่วโมง ควรกะเกณฑ์ มีวินัยกับตัวเองไหม
ดังตฤณวิสัชนา @ ศูนย์เรียนรู้วรการ
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563
ถอดคำ : นกไดโนสคูล
ตรวจทาน / เรียบเรียง : เอ้
บันทึก
14
10
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นกอาสา : สื่อธรรมะดังตฤณ
14
10
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย