1 ม.ค. 2021 เวลา 10:09 • ธุรกิจ
Concorde เครื่องบินโดยสารเร็วที่สุดในโลก ที่อาจจะกลับคืนสู่ท้องฟ้าอีกครั้ง
1
Concorde เป็นชื่อของเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงที่เปิดให้บริการในช่วงปี ค.ศ. 1976 - 2003
1
แนวความคิดที่จะสร้างเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยความร่วมมือระหว่าง France‘s Aerospatiale ของประเทศฝรั่งเศส กับ British Aircraft Corporation (BAC) ของประเทศอังกฤษ
การออกแบบ Concorde (ภาพจาก Keystone)
หลังจากศึกษาและออกแบบมาระยะเวลาหนึ่งก็สามารถสร้างเครื่องต้นแบบได้สำเร็จในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1969
1
เริ่มบินทดสอบครั้งแรกในชื่อเที่ยวบิน Concorde 001 หลังจากนั้นพัฒนาต่ออีก 4 ปี จึงผลิตได้จริงในปี ค.ศ. 1973
เที่ยวบินทดสอบ Concorde 001 (ภาพจาก Samchui)
สรุปแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งผลิตเครื่องบิน ต้องใช้เวลาพัฒนากว่า 13 ปี และทุ่มเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านปอนด์ หรือ 40,000 ล้านบาท
1
การสร้าง Concorde ต้องคำนึงถึงการบินด้วยความเร็วสูงเป็นหลัก ทำให้ต้องออกแบบส่วนหัวเครื่องบินมีลักษณะคล้ายจรวด ลำตัวเรียวยาว และมีปีกเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหรือเรียกว่า Delta wing เพื่อช่วยลดแรงต้านในความเร็วสูง
1
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุให้ Concorde มีรูปร่างที่โดดเด่นกว่าเครื่องบินทั่วไป
Concorde ติดตั้งเครื่องยนต์แบบสันดาบท้าย (Afterburner) จำนวน 4 เครื่อง รุ่น Olympus 593 ผลิตโดย Rolls-Royce/Snecma ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องบินรบ
สร้างพละกำลังมหาศาลให้เจ้า Concorde ทำความเร็วได้ 2.04 มัค หรือ 2,490 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าความเร็วเสียง 2 เท่า และมีเพดานบินสูงถึง 60,000 ฟุต หรือประมาณ 18 กิโลเมตร จากพื้นโลก
6
ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องบินโดยสารในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความเร็วเฉลี่ยแค่ 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่านั้น
1
เปรียบเทียบการสันดาบท้ายระหว่าง Concorde กับเครื่องบินรบ F-35
ด้วยความเร็วระดับนี้ การเสียดสีระหว่างเครื่องบินกับอากาศในขณะที่ใช้ความเร็วสูงสุด อาจทำให้อุณหภูมิของลำตัวเครื่องบางจุดสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส ชิ้นส่วนเหล่านี้จึงต้องผลิตจากโลหะผสมพิเศษ
3
นอกจากนี้ ก็ยังมีเทคโนโลยีการบินหลายอย่างที่ถูกคิดค้นให้ Concorde ไม่ว่าจะเป็น ระบบการบินอัตโนมัติ (Autopilot) ระบบควบคุมการบินแบบ fly-by-wire หรือระบบ Air Data Computer (ADC)
ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนเป็นต้นแบบที่นำมาพัฒนาและติดตั้งลงในเครื่องบินโดยสารสมัยใหม่
1
การให้บริการบน Concorde (ภาพจาก Popularmechanics)
การบินเชิงพาณิชย์ของ Concorde เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 โดยสายการบินบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France)
1
เส้นทางแรกคือลอนดอน-บาห์เรน และปารีส-ริโอเดอจาเนโร
ซึ่ง Concorde ทำลายสถิติความเร็วของเครื่องบินโดยสารอื่นได้อย่างราบคาบและถือว่าเป็นการบินเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของการบินพลเรือน
เส้นทางบินระหว่างปารีสหรือลอนดอนไปนิวยอร์ก มีระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตร ถ้าเป็นเครื่องบินโดยสารอื่นต้องใช้เวลา 8 ชั่วโมง แต่ Concorde ใช้เวลาบินเพียง 2 ชั่วโมง 53 นาที เท่านั้น
วิวจากห้องโดยสารที่ความสูง 60,000 ฟุต (ภาพจาก Aerotime)
ถึงแม้ว่าผู้โดยสารจะได้รับความรวดเร็วในการเดินทางแต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าโดยสารที่แพงหูฉี่
2
เนื่องจาก Concorde ผลาญน้ำมันถึง 25,000 ลิตร ต่อชั่วโมง ซึ่งมากกว่าเครื่องบินโดยสารทั่วไปถึง 4 เท่า ประกอบกับห้องโดยสารที่มีลักษณะเรียวยาวและสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เพียง 120 คน
5
เมื่อเทียบกับเครื่องบินโดยสารอย่าง Boeing 747 ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 400 คน ทำให้ค่าโดยสารของ Concorde มีราคาสูงมาก
4
ยกตัวอย่างค่าโดยสารในปี ค.ศ. 1997 ตั๋วไป-กลับเที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์กมีราคา 7,995 เหรียญสหรัฐ ถ้าคิดเป็นค่าเงินปัจจุบันจะมีราคา 12,700 เหรียญสหรัฐ หรือราว 380,000 บาท
4
ถ้าอยากรู้ว่าแพงขนาดไหน เทียบกับค่าโดยสารในปัจจุบันตั๋วชั้นประหยัดไป-กลับในเส้นทางเดียวกันนี้ของสายการบินบริติชแอร์เวย์ มีราคาประมาณ 400 ยูโร หรือราว 15,000 บาท เท่านั้น จะเห็นได้ว่าการเดินทางด้วย Concorde มีราคาแพงกว่าถึง 25 เท่า
2
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของเสียงเครื่องยนต์ที่ดังสนั่นและการเกิดคลื่นกระแทก (Sonicboom) ขณะใช้ความเร็วเหนือเสียง ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงอย่างมาก จนหลายประเทศไม่ยอมให้เข้าน่านฟ้า
2
ถ้าคิดไม่ออกว่าเสียงดังอย่างไร ก็ให้นึกถึงเสียงของเครื่องบินรบที่บินโชว์ในงานวันเด็กนั่นละครับ
การเกิดคลื่นกระแทก (Sonicboom) (ภาพจาก Wikipedia)
ดังนั้นการให้บริการของ Concorde จึงไม่ใช่แค่การเดินทางที่รวดเร็วเท่านั้น
ด้วยค่าโดยสารที่แพงมากจึงกลายเป็นสัญลักษณ์การเดินทางของคนมีเงินหรือไม่ก็คนที่ยอมอดออมเก็บเงินเพื่อให้ได้สัมผัสกับเที่ยวบิน Concorde สักครั้งหนึ่งในชีวิต
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาอย่างดีและมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับโชคชะตา
ความโชคร้ายมาเยือน Concorde ในวันที่ 25 กรกฏาคม ค.ศ. 2000 เที่ยวบินแอร์ฟรานซ์ที่ AFR 4590 เส้นทางปารีส-นิวยอร์ค
2
ในวันนั้นเครื่องบินมีสภาพสมบูรณ์และพร้อมบิน แต่ในขณะที่กำลังเร่งความเร็วเต็มที่เพื่อวิ่งขึ้นจากรันเวย์ ล้อของเครื่องบินได้วิ่งไปทับเศษโลหะที่มีความยาวประมาณ 1 ฟุต ที่หลุดออกจากเครื่องบินลำที่ได้บินขึ้นไปก่อนหน้านี้
3
ทำให้ยางล้อระเบิดและเศษชิ้นส่วนของยางกระแทกเข้ากับตำแหน่งใต้ปีกซ้าย ส่งผลให้ถังเชื้อเพลิงแตก มีเชื้อเพลิงรั่วฟุ้งกระจายติดไฟ
1
เครื่องบินต้องบินขึ้นทั้งๆ ที่มีเพลิงลุกไหม้ นักบินไม่สามารถทำการเก็บฐานล้อได้
 
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาทีเครื่องก็สูญเสียการควบคุมและตกกระแทกเข้ากับโรงแรมแห่งหนึ่ง
 
มีผู้เสียชีวิต 113 คน ในจำนวนนั้นเป็นพนักงานของโรงแรมจำนวน 4 คน ส่วนที่เหลือเป็นลูกเรือกับผู้โดยสารที่มากับเครื่องบิน
1
อุบัติเหตุเที่ยวบินแอร์ฟรานซ์ AFR 4590 (ภาพจาก AP Images)
หลังจากโศกนาฏกรรมครั้งนั้น Concorde ก็กลับมาบินใหม่อีกครั้งพร้อมมาตรการความปลอดภัยที่รัดกุมกว่าเดิม
แต่สุดท้ายแล้วจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ตามมาด้วยเหตุการณ์ 9/11 ในเดือนกันยายน ปีค.ศ. 2001 ทำให้ธุรกิจการบินซบเซา
ประกอบกับ Concorde มีจำนวนฝูงบินที่ให้บริการแค่ 14 ลำ จึงมีค่าบำรุงรักษาที่สูงกว่าเครื่องบินโดยสารทั่วไป
ต้นทุนการบินของ Concorde ก็สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อต้นทุนสูงขึ้นมากจนไม่คุ้มค่าที่จะบินต่อไป สายการบินบริติชแอร์เวย์และแอร์ฟรานซ์จึงตัดสินใจร่วมกันยุติการให้บริการด้วย Concorde ในปี ค.ศ. 2003
โดยมีเที่ยวบินเส้นทางลอนดอน-นิวยอร์กในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย
1
ทิ้งไว้เพียงประวัติศาสตร์การเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียงกว่า 50,000 เที่ยวบิน ที่อยู่ในความทรงจำของผู้โดยสาร 2.5 ล้านคน และยังไม่มีใครทำลายสถิติได้
 
ทุกวันนี้ Concorde ได้จอดสงบนิ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทางอากาศหลายแห่งทั่วโลก
2
แต่ล่าสุดในปี 2020 นี้ มีข่าวดีว่า Virgin Galactic กับ Rolls-Royce อาจจะร่วมมือกันพัฒนาเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงอีกครั้ง
โดยจะออกแบบให้มีความเร็วเพิ่มเป็น 3 มัค หรือ 3,675 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และปรับปรุงข้อเสียทั้งหมดของ Concorde เดิม
2
สักวันหนึ่ง เราอาจจะได้เห็น Concorde กลับมาเป็นราชินีแห่งท้องฟ้าอีกครั้งก็ได้ คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
โฆษณา