3 ม.ค. 2021 เวลา 04:30 • การศึกษา
ดินแดนลังกาสุกะ...ปลายด้ามขวาน EP3
Minority ใน Majority (ด้านภาษา)
จุดแข็งด้านภาษา !!!
เปิดดิกชันนารี..กันนิดครับ
Minority : ส่วนน้อย
Majority : ส่วนใหญ่
คำทักทายคำว่า “ซาลามัต = สวัสดี”
เป็นคำทักทายภาษามาเลย์ - อินโดนีเซียที่ใช้กันในแหลมมลายู
หมู่เกาะทั้งหมดในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์
🔻ดินแดนด้ามขวานของเรา สามารถใช้ภาษามลายูถิ่นราว 1.6 ล้านคน
(ในประเทศไทยภาษามลายูถิ่น จึงเป็นเพียง minority)
🔻ภาษามลายูถิ่น(ปัตตานี) สามารถสื่อสารกับประชากรประเทศย่านใน
อาเซียน คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย จำนวนราว 250 ล้านคน
*** ภาษามลายูถิ่น (ปัตตานี) กับภาษามาเลย์ - อินโดนีเซีย***
สำเนียงจะเพี้ยน ในลักษณะคล้ายกับคนเหนือ พูดกับคนกลาง
🔻ภาษามาเลย์ -อินโดนีเซีย ใช้กันมากเป็นอันดับ 6 ของโลก
(เป็นภาษาที่เป็น Majority ในภูมิภาคอาเซียน)
2
🔻การสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน คือ ประตูบานแรกในความรู้สึกที่ดี
 
ลองจินตนาการไปพร้อมๆกัน..นะครับ
หากคนมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย เดินทางมาประเทศไทย
มาใช้บริการการรักษาโรงพยาบาล (เอกชน)ในประเทศไทย
และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสื่อสารด้วยภาษามาเลย์ - อินโดนีเซีย
แทนที่จะเป็นภาษาอังกฤษ...ผมว่าจะสร้างความประทับใจไม่น้อยนะครับ
😊😊😊😊😊
1
จุดแข็ง ที่ควรเป็นจุดแข็งอีกด้านนึงของคนปลายด้ามขวานคือ..
ภาษาครับ ภาษาที่เป็น Majority ในภูมิภาคอาเซียน
-
-
ส่งเสริมจุดแข็ง ให้เป็นจุดแข็ง..
-
-
ใช้ภาษา..เป็นตัวเปิดทาง..เชื่อม สานสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
ทั้งด้านวัฒนธรรม การค้า ธุรกิจ ฯลฯ
จบโพสต์นี้ด้วยคำว่า..
Terima kasih ในภาษามาเลย์ - อินโดนีเซีย = ขอบคุณครับ
-
-
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
1
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในแบบอีกมุมมองนึง..ในซีรีส์ข้างล่างครับ 👇🏼
1
เครดิตภาพ : pexels.com
โฆษณา