ดอกเบี้ยบ้านปี 2021 จะลดลงอีกไหมหรือจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แนวโน้มเป็นยังไง? | Guru Living
สรุปภาพรวมอสังหาปี 2020
- มาตรการ ltv ของธนาคารแห่งประเทศไทยส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนหายไปจากตลาด
- ผลของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ส่งผลกระทบทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินและลดค่าใช้จ่ายต่างๆรวมไปถึงด้านที่อยู่อาศัย
- ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการเปิดโครงการใหม่แต่เน้นระบายสต๊อกคงค้างโดยใช้กลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ทำให้ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯในภาพรวมปรับตัวลดลงอย่างมากจากรอบปี 2019
- พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยหันมาให้ความสนใจกับความสำคัญมาตราการการเว้นระยะห่าง Social distancing รวมถึงการใช้ชีวิตที่ต้องอยู่ติดบ้านมากขึ้นจากการที่ต้องทำงาน work from home จึงต้องมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้นและเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้นส่งผลให้ตลาดแนวราบเช่นบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมเติบโตขึ้นทั้งในแง่อุปสงค์และอุปทาน
แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564
ภาพรวมเศรษฐกิจ
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่คึกคักเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
โดย กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้อัตราดอกเบี้ยบ้านต่ำลงด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2564 ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องเผชิญรอบด้าน อาทิ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง
#ดอกเบี้ยบ้าน #ดอกเบี้ยบ้าน2021 #สินเชื่อบ้าน #แนวโน้มดอกเบี้ย #guruliving