4 ม.ค. 2021 เวลา 14:32 • ไลฟ์สไตล์
🎆 Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ เบื่อเซ็งกับงาน ไม่ไหวแล้วววว ทำไงดี 🤔
4 มกราคม 2564 (4/365)
เบิร์นเอ้าท์ซินโดรม (Burnout Syndrome) 😐
เพื่อนๆรู้มั้ยว่ามันเป็นภาวะที่ใครก็เป็นกันได้จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ขึ้นทะเบียนเป็นโรคกันเลยทีเดียว ต้องรุนแรงแค่ไหนถึงจัดได้ว่าเป็นโรคนี้
Burnout Syndrome คือภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดสะสมจากการทำงาน ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
Miller & Smith (1993) แบ่งการทำงานซึ่งนำไปสู่ภาวะหมดไฟและการฟื้นตัว ดังนี้
1. 😍 ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มต้นทำงาน ยังเบิกบานอยู่ คนทำงานมีความตั้งใจ เสียสละเพื่องานเต็มที่ พยายามปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร
2. 😉 ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า
3. 😐 ระยะไฟตก (brownout) คนที่งานรู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน อาจมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง อาจเริ่มมีการแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง
4. 😑 ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตนเองไป มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่
5. 😏 ระยะฟื้นตัว (the phoenix phenomenon) หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย
⭐ วิธีรับมือและป้องกันอาการหมดไฟ
1. Sleep well -- นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา อย่าเสียเวลาไปกับความกังวลในเรื่องงานของคุณ และพยายามพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา
2. Eat wisely -- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ
3. Reduce stress -- ลดความเครียดลง โดยการหากิจกรรมทำนอกเวลา ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย เป็นไปได้ลาพักร้อนเป็นระยะเวลาสั้นๆ
4. Be adaptive -- ปรับทัศนคติในการทำงาน ทำความเข้าใจในเนื้องาน และองค์กรที่ทำงานด้วย
5. Be open-minded -- เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน พยามหลีกเลี่ยงกับคนที่มีความคิดในแง่ลบ ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน
Hello ผู้อ่าน 😄
ก่อนจะ Say Goodbye
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ 😉😊
มาพัฒนาตัวเองไปด้วยกันค่ะ 💓
ฝากกดติดตาม กด like เพื่อเป็นกำลังใจให้กันนะคะ
โฆษณา