5 ม.ค. 2021 เวลา 02:18 • ธุรกิจ
วัฒนธรรมการแก้ปัญหา: Jidoka Principle ตอนที่ 3
มาต่อกันจากตอนที่แล้ว https://www.blockdit.com/articles/5ff199d71b2c040ce5727888 ครับกับที่มาของ Jidoka Principle
ตำนานเริ่มจากนาย Sakishi Toyoda นามสกุลคุ้นๆ มั้ยครับ คนนี้ล่ะครับผู้ก่อตั้ง Toyota เดิมทีเขาให้ความสนใจในเครื่องทอผ้า และมีการพัฒนาเครื่องทอผัามือมาตามลำดับ แต่เขาก็ยังไม่พอใจกับประสิทธิภาพของมัน
ใน ปี ค.ศ. 1896-1897 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจัาเกล้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 และเมืองไทยเพิ่งเริ่มมีการผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชนนั้น Sakashi Toyoda ได้ผลิตเครื่องทอผ้าแบบใช้พลังงานภายนอก ชื่อ Toyoda Power Loom
Toyoda Power Loom นี้ทอผ้าได้เร็วมาก เมื่อเทียบกับเครื่องทอผ้าอื่นในขณะนั้น แต่คุณภาพของเส้นด้ายในเวลานั้นยังไม่ได้ดีมาก เวลาที่ทอไป เส้นด้ายมักจะขาด และทำให้ผ้ารุ่ย และไม่ได้คุณภาพ จนต้องเสียผ้าทั้งผืนไป
เขาจึงออกแบบพิเศษที่ไม่มีใครทำ เส้นด้ายแต่ละเส้นจะถูกผูกเข้ากับอุปกรณ์แขวนด้านที่ทำจากเหล็ก ระหว่างการทอ หากเส้นด้ายเส้นใดขาด ระบบทอผ้านี้จะหยุดการทำงานทันที และคนงานจะต้องเข้ามาแก้ไข
และยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการทำให้กระสวยสามารถเปลี่ยนเส้นด้ายเวลาที่เส้นด้ายหมดม้วนในอัตโนมัติอีกด้วย กับ Toyoda Model G Loom ที่ออกขายในปี ค.ศ. 1924 ที่ถือว่าเป็นเครื่องทอผ้าที่ล้ำยุคที่สุดในยุคนั้น โดยคนงานเพียง 1 คนสามารถคุมเครื่องทอผ้าถึง 30-50 เครื่องไปพร้อมกันได้เลยทีเดียว
รายได้ของเครื่องทอผ้า และการขาย license ของเครื่องนี้แหล่ะ เป็นเงินก้นถุงที่มากพอ ทำให้เขาสามารถก่อตั้ง Toyota Motors จนกลายเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน
อาจจะดูเหมือนว่ามันก็เป็นแค่เครื่องจักรเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่เลย ความคิดล้ำยุคของเขาเป็นบ่อกำเนิดของเทคโนโลยีและแนวคิดมากมาย รวมทั้ง Jidoka Principle, Andon Cord, Toyota Production System, TQM, Lean, Zero Defect, Just In Time และอื่นๆ อีกมากมาย
Jidoka Principle หรือ Autonomation (Autonomous + Automation) เป็นการเล่นคำในภาษาญี่ปุ่น
Ji:自 แปลว่า ตัวเอง
Do:動 แปลว่า การเคลื่อนไหว
Ka:化 แปลว่า การเปลี่ยนแปลง
แต่ใน Toyota Production System ตัว 動 จะถูกเปลี่ยนเป็น 働 ซึ่งมีตัวขีดข้างหน้าเพิ่มขึ้นมา ที่แปลว่า งาน ซึ่งเกิดจากการเพิ่มเส้นอักษรที่แปลว่าคนมาอยู่ข้างหน้า 動 เพื่อสะท้อนว่า มันต้องอาศัยคนในการเปลี่ยนแปลงระบบให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น
Jidoka Principle ก็อาศัยหลักการเดียวกันกับเครื่องทอผ้า Sakishi นำไอเดียลักษณะเดียวกันนี้มาใช้ในกระบวนการผลิตของ Toyota ซึ่งมันเป็นการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ แต่มีการใช้คนเข้ามาช่วย ทำให้กระบวนการปรับตัวจากระบบที่ต้องทำมือไปเป็นระบบอัตโนมัติได้แบบชาญฉลาด เพราะในสมัยนั้น เครื่องจักรก็คือเครื่องจักร ไม่ได้มีระบบ AI เหมือนในสมัยนี้ ก็ต้องอาศัยมนุษย์ในการแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่แก้แต่ปัญหาเฉพาะหน้า ยังรวมไปถึงการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย เพราะหลักการมีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ คือ
1. ตรวจสอบความผิดปกติ
2. หยุด
3. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
4. หาต้นตอของปัญหา และแก้ปัญหา (countermeasure)
เหมือนกับเรื่องของ Amazon.com ที่ผมเล่าไปก่อนหน้าเลยใช่มั้ยล่ะครับ นี่ล่ะครับไอเดียที่เกิดขึ้นมาเกือบร้อยปีแล้ว
ส่วนในกระบวนการผลิตของ Toyota เองก็นำ Jidoka Principle โดยการคิดค้น Andon cord คำว่า Andon แปลว่าโคมไฟในภาษาญี่ปุ่น เพราะทีเป็นการแขวนโคมไฟที่มีสายลากต่อไปยังสวิทช์ พอดึงปุ๊บ โคมไฟก็จะติด ในปัจจุบันมักเป็นการแขวนสายเคเบิ้ลเส้นหนึ่งตลอดกระบวนการผลิต หากใครเห็นว่ามีอะไรผิดพลาด หรือผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะดึงสายนี้ทันที สายการผลิตจะหยุดลง และทุกคนจะพยายามรีบช่วยกันแก้ปัญหา
ภาพ Andon cord จาก https://www.shmula.com/about-peter-abilla/what-is-andon-in-the-toyota-production-system/
ในภายหลังบางที่ก็มีการเพิ่มสายเป็นสองเส้น คือ สายสีเหลืองสำหรับปัญหาที่ยังไม่รุนแรง หรือที่ยังไม่มีผลกระทบกับกระบวนการผลิต และสายสีแดงสำหรับปัญหาที่รุนแรง รวมไปถึงการพัฒนาเป็น Andon Board ที่เวลาดึงแล้วมันจะแสดงให้เห็นบนหน้าจอได้ทันทีว่าปัญหาเกิดขึ้นตรงไหน
ภาพ Andon Board จาก http://andon-display-board.blogspot.com/2016/01/
สิ่งที่น่าสนใจ คือ ใครก็ได้สามารถดึง Andon cord ได้ โดยคนดึงต้องคิดว่าปัญหานั้นคือปัญหาจริงๆ ไม่จำเป็นต้องรอความเห็นของหัวหน้าหรือคนอื่น เพราะปัญหาคือเรื่องที่ใครก็สังเกตได้ และสามารถทำให้เกิดกระบวนการในการพยายามแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่มีการซุกซ่อนปัญหา
นอกจากนี้การดึง Andon cord ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตหยุดนั้น เป็นการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่มีความผิดพลาด แทนที่จะปล่อยให้ทำจนเสร็จแล้วต้องกลับมาแก้ในภายหลัง
Andon Cord Credit: http://www.shmula.com/about-peter-abilla/what-is-andon-in-the-toyota-production-system
โฆษณา