5 ม.ค. 2021 เวลา 11:05 • สุขภาพ
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในปี 2020
จาก "โควิด" และ "อโควิด"
ว่าด้วยเรื่อง mask, ผู้เชี่ยวชาญ, การLockdown, ข้อน่าสังเกตของคนไทย และความเหลื่อมล้ำ
1. การใส่ Mask - บางครั้ง Common Sense ก็สำคัญ อย่ามัวแต่จะอ้างหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ถ้าจำกันได้ ช่วงแรกๆที่เริ่มมีการระบาดของโควิดนั้น องค์กรสุขภาพระดับโลกอย่าง WHO ได้ออกมาประกาศว่า คนที่มีสุขภาพดีนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ Mask เพราะมันไม่ได้มีหลักฐาน ว่าการใส่ mask นั้นลดการแพร่ระบาดของเชื้อ และหากใส่ mask ไม่ถูกวิธี จะอันตรายมากขึ้นเสียอีก เพราะคนนั้นจะไม่ระวังตน ทำตัวเผลอไผลไร้สติ [1]
ประเด็นคือ ในเมื่อช่วงต้นปี เราก็รู้แล้วว่า
1. เชื้อมันติดกันทางสารคัดหลั่ง หลายๆคนติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ
2. เรารู้ว่าเวลาหายใจออก ไอ หรือจามนั้น มันก็จะมีละอองสารคัดหลั่งออกร่างกายออกมา
3. หน้ากากอนามัย ไม่ว่าจะหน้ากากผ้า หรือแบบการแพทย์ ก็ล้วนแต่ป้องกันสารคัดหลั่ง ไม่ให้เข้า/ออก ได้ ได้มากได้น้อย ก็แล้วแต่คุณภาพ
4. เมื่อมันลดสารคัดหลั่งที่แพร่เข้ามาหรือแพร่ออกได้ = มันก็น่าจะลดการระบาดได้
มันจึงเป็นอะไรที่ Common sense สุดๆ และสุดท้าย WHO ก็ต้องออกมากลับลำเสียเอง ว่าแนะนำให้ทุกคนใส่ Mask
นี่จึงเป็นตัวอย่างในยามที่ Common sense ปะทะกับ "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์" ว่าบางทีถ้าเรามัวแต่เลือกจะเชื่อ/ไม่เชื่อ , เลือกที่จะทำ/ไม่ทำ โดยต้องรอให้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารับรองนั้น มันก็อาจจะเสียโอกาสไปมากแล้ว
2. "ผู้เชี่ยวชาญ" บนหอคอยงาช้าง นั้นน่ากลัว
ในที่นี้หมายถึงเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่คอยกำหนดนโยบายต่างๆในระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ ที่ไม่เคยออกมาดูหน้างาน ไม่เคยต้องออกมาเผชิญสถานการณ์เหมือนคนทั่วๆไป แต่ใช้ข้อมูล"วิชาการ" ข้อมูลที่คนอื่นป้อนให้ มาคิดนโยบายอีกที ซึ่งบางครั้งมันก่ออันตรายได้มหาศาล เช่น
1. นโยบายการใส่ Mask ในข้อหนึ่ง - ซึ่งส่วนหนึ่งเข้าใจว่าถ้าประกาศออกไปแล้วกลัวคนจะแย่ง mask จนหมอพยาบาลไม่มีใส่ ก็เลยหวังดีประกาศไปเช่นนั้น ประเด็นคือคงประเมินพลาดไปว่า คนเรานั้นสร้างสรรค์ และปรับตัวได้เก่ง อย่างคนไทยที่สามารถประยุกต์ใช้ผ้ามาทำหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหลือล้นได้รวดเร็วและสร้างสรรค์
2. นโยบาย Herd Immunity - ไม่รู้อะไรดลใจให้ผู้คิดนโยบายของประเทศเจริญแล้ว และมีการแพทย์ชั้นแนวหน้าอย่างอังกฤษและสวีเดน เลือกนโยบาย herd immunity แทนที่จะเลือกมาตรากรลดการสัมผัส หรือ lockdown แบบประเทศอื่นเขา
เมื่อมองย้อนกลับไป นโยบาย Herd Immunity นั้นสุ่มเสี่ยงมาก เพราะตอนนั้นเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าคนที่เป็นโควิดนั้น หายแล้วมีภูมิกี่ % หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้ไหม มันเป็นนโยบายที่สุ่มเสี่ยงมาก
ซึ่งภายหลังทั้งสองประเทศนั้นก็กลับลำมาใช้ แต่ชีวิตที่เสียไป เศรษฐกิจที่เสียหายไป มันมีมูลค่ามหาศาลไปเสียแล้ว
ถ้านายพล ตัดสินใจยกทัพโจมตีประเทศอื่น แล้วพ่ายแพ้ มีผู้เสียชีวิตมากมายจากสงคราม-> นายพลคนนั้นคืออาชญากรรมสงคราม และต้องโทษประหารชีวิต
แต่ "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่ออกนโยบายแบบไม่คิดให้รอบคอบ และทำให้มีคนตายมหาศาล -> ประกาศขอโทษ แล้วลาออก?
3. อย่าเอาจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิต มาเทียบกับตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน - มันเป็นคนละเรื่องกัน
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา มีคนตายจากอุบัติบนท้องถนนทั้งหมด 316 ราย ในขณะที่ผู้เสียชีวิตด้วยโควิตของไทยที่เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้วนั้น มีเพียง 65 คน ดังนั้นแล้วขับรถในถนนไทยนั้น เสี่ยงกว่าโควิดอีกไม่ใช่หรือ? จะกลัวโควิดไปทำไมมากมาย?
คงไม่ง่ายอย่างนั้น อย่าลืมว่าโควิดคือโรคระบาดใหม่ ที่ไม่มีใครในโลก เคยมีภูมิคุ้มกันกับมันมาก่อน ดังนั้น "โอกาส" ที่มันจะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาลได้ (Exponential risk) ต่างกับการเสียชีวิตจากรถชน ที่เรายังพอควบคุมมันได้ (linear risk)
เปรียบเทียบก็เหมือนกับไฟไหม้ เรารู้กันดีว่าไฟที่เริ่มจากจุดเล็กๆนั้น อาจจะลุกลามแค่เล็กน้อย หรือ มันสามารถสร้างความวอดวายได้มหาศาล ดังนั้นแล้วจึงต้องมีการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ เพื่อป้องกันเหตุไว้ เพื่อดับไฟแต่ต้นลม
4. คนตายจากโควิด คิดเป็น % แล้วน้อยมากๆ จะกลัวอะไรกันนักหนา - ความคิดนี้อันตราย
จริงอยู่ ประเทศที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งทะลุทุกแนวต้าน เช่น อเมริกา อังกฤษ นั้นมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 0.1% เทียบกับประชากรทั้งหมด ซึ่งมันอาจดูเล็กน้อยมากๆ แต่มันมีประเด็นที่ต้องขบคิดมากกว่านั้น เช่น
โควิด ทำให้เกิด"ค่าเสียโอกาส" ในผู้ป่วยโรคอื่น - เช่น พลาดโอกาสรักษามะเร็งไปแต่ต้นๆ เพราะรพ.ต้องเลื่อนนัด -> พอมาเจอหมออีกทีโรคก็เปลี่ยนระยะแล้ว , พลาดโอกาสผ่าตัด หรือ เตียงเต็มเพราะคนไข้โควิด ทำให้คนป่วยหนักโรคอื่นที่ปกติรักษาได้ ก็พลาดโอกาสไป
บางครั้งก็มีคนเอาตัวเลขมากางว่า "Lockdown" ทำให้ GDP ติดลบไปหลาย 10% แต่ช่วยให้คนตายน้อยลงแค่ไม่กี่ % - คำถามคือ เราเอาอะไรมาคิดว่า ค่าของคน = GDP กี่%
แล้วต่อให้คิดได้จริงๆ เราอยากได้หรือ "ขอให้ GDP ติดลบน้อยลงหน่อย สัก 5% แลกกับสังเวยชีวิตคนไป 5,000 คน เหมาะสมแล้ว" ?
5. Lockdown เป็นเรื่องจำเป็น - เพราะถ้าปล่อยให้ระบาดมากไป ยังไงก็กระทบเศรษฐกิจ
ในที่นี้หมายถึงเศรษฐกิจโดยรวม
ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโควิด ต่างก็มีมาตรการคล้ายๆกัน คือ Lockdown + Contract Tracing + Active Screening เมื่อใดที่ Flatten the curve ได้ ก็จะเริ่มผ่อนปรนมาตรการ เพื่อไม่ทำร้ายเศรษฐกิจมากเกินไป
การ Lockdown มันจึงจำเป็น เพราะถ้าปล่อยไป เราไม่รู้ว่าการระบาดจะลุกลามได้มากแค่ไหน มันอาจจะลามแบบกู่ไม่กลับเหมือนในสหรัฐ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่หดหู่มากๆ
การปล่อยให้มีการระบาดเป็นวงกว้าง ก็อาจจะทำร้ายเศรษฐกิจได้ไม่แพ้กัน เพราะถ้าคนติดเชื้อกันมาก ก็คงไม่มีใครกล้าออกไปไหน economic activity ก็จะลดลงอยู่ดี แม้ไม่ Lockdown
โจทย์ยากจึงเป็นการหาจุดสมดุล ระหว่างนโยบายควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ คือ ไม่ทำร้ายเศรษฐกิจมากไป และไม่ทำร้ายคนมากจนเกินไป
ซึ่งเราๆคนธรรมดา คงไม่มีปัญญาไปคิด มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องวางแผน และสื่อสารนโยบายออกมาสร้างความเชื่อมั่น ให้คนร่วมมือกันมากที่สุด
6. Lockdown คือการขอความช่วยเหลือจากภาคประชาชน ดังนั้นแล้ว ต้องมีการเยียวยาอย่างเหมาะสม และ"ทั่วถึง"
เพราะ การ Lockdown เป็นการ Disrupt วิถีชีวิตคนส่วนใหญ่อย่างกะทันหัน ทุกๆวันนี้วิถีชีวิตของแต่ละคนนั้นมันมีความเกี่ยวโยงกันเป็นห่วงโซ่ , การประกาศ lockdown จึงเหมือนกันปิดสวิตท์ จริงอยู่ที่ Lockdown มีทั้งแบบเล่นใหญ่เหมือนอู่ฮั่น หรือ soft lockdown เป็นหย่อมๆ แต่อยากให้มองว่าจะlockdownมากหรือน้อย มันก็ส่งผลกระทบกันหมดทั้งประเทศอยู่ดี
1
มันเป็นการขัดธรรมชาติคนมากๆ แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ เป็นสิ่งที่คนต้องให้ความร่วมมือ ดังนั้นรัฐก็ต้องหาวิธีมาดูแล ประคับประคอง ให้คนที่ได้รับผลกระทบมากๆ คนที่โดนมาตรการเข้าไปอย่างจังๆ นั้นผ่านพ้นไปได้ ไม่ปล่อยให้พวกเขาเอาตัวรอดอย่างเดียวดาย
แต่วิธีช่วยเหลือที่ผ่านมานั้น.... มันน่าหดหู่เหลือเกิน
7. คำกล่าวทำนองที่ว่า "ไม่รอดในยุคโควิด เพราะไม่ยอมปรับตัว" เป็นคำที่โหดเหี้ยม
จริงอยู่ที่ว่าโลกกำลังมุ่งสู่ยุคดิจิตัลแบบเต็มตัว
อีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าท่านยังไม่ยอมปรับทำงานแบบโบราณ ขายของรับแต่เงินสด ใช้สื่อโฆษณาsocial mediaไม่เป็น ลงเอยด้วยทำธุรกิจไม่รอด มันก็พอพูดได้ ว่าท่านไม่ยอมปรับตัวเข้ากับโลกเอง
วิกฤติโควิดนี้ มา disrupt วิถีชีวิตคนอย่างรวดเร็วและรุนแรง มันจึงไม่ใช่เรื่องของการปรับตัว (Adaptation) แต่เป็นเรื่องของการเอาตัวรอด (Survival)
การที่คนๆหนึ่ง จะเอาตัวรอดจากวิกฤติได้นั้น ก็คงต้องมีทุนทรัพย์ระดับหนึ่ง มีความรู้เรื่องแนวทางธุรกิจใหม่ๆระดับหนึ่งอยู่แล้ว จึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทัน ซึ่งต้องไม่ลืมว่า วิกฤตินี้มันไม่ได้กระทบแต่ชนชั้นสูง กลาง ชนชั้น start up แต่ มันกระทบหมด และคนที่ไม่ได้มีต้นทุนมาก คือคนที่ถูกกระทบกับการเปลี่ยนแปลงนี้มากที่สุด
บัตรประชาชนแบบฝังชิพ (Smart Card) ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ เริ่มมีตั้งแต่ปี 2547 แต่จนถึงตอนนี้ถามว่ามัน Smart มากขึ้นแค่ไหน? เรายังต้องซีร็อกสำเนาบัตรประชาชนกันอยู่เหมือนเดิม
ขนาดองกรณ์ยิ่งใหญ่ ยังปรับตัวสู่เทคโนโลยีอย่างเชื่องช้า แล้วท่านจะ หวังให้คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ มาปรับตัว Digitize ตัวเองอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วัน เปลี่ยน Business model ในเวลาไม่กี่เดือน? ท่านว่ามันไม่ใจร้ายโหดเหี้ยมไปหน่อยหรือ?
เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยาวแล้ว เลยจะขอต่อเป็น Part 2 นะครับ ถ้ามีผู้สนใจ
Reference
Disclaimer: บทความนี้เขียนด้วยความจำ และ Bias เป็นส่วนใหญ่
โฆษณา