6 ม.ค. 2021 เวลา 01:29 • สุขภาพ
นำความรู้เล็กๆ น้อยมาฝากค่ะ
ระบบเลือดเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันอย่างไร? และทำไมยุคนี้ที่เรากลัวโควิดจึงต้องทานเคโอเพิ่อดูแล เพิ่มภูมิต้านทาน...
รู้จัก...ระบบภูมิต้านทาน
.
ใครจะไปคาดคิดนะคะว่า สถานการณ์ไวรัส Covid 19 จะลากยาวกันมาได้เป็นปี ทำท่าเหมือนจะดีๆ อยู่แล้วเชียว แต่ก็อย่างว่านะคะ ศัตรูของเราคือ "ไวรัส" ค่ะ การควบคุมก็ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ แน่นอน
.
วันนี้ เราเลยถือโอกาสเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องของ "ภูมิต้านทาน" กันหน่อยค่ะ (ขออนุญาตลูกเพจหน่อยนะคะ จริงๆ จะว่าไปเรื่องนี้ก็เกี่ยวกับเรื่องของระบบเลือดและหัวใจอยู่ด้วย ไปเกี่ยวกันอย่างไร อ่านบทความไปเรื่อยๆ นะคะ)
ในร่างกายของเรามีเกราะป้องกันชีวภาพที่สามารถปรับตัวได้ดีตามสภาพแวดล้อมติดตัวมาตั้งแต่เกิดกันทุกคนนะคะ นี่เป็นกลไกหนึ่งที่ธรรมชาติให้มา เพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่และปรับตัวได้ค่ะ (จะบอกว่าจริงๆ ระบบนี้ของเรา พัฒนาได้เหมือนเราวิจัยในห้องแล๊ปเลยนะคะ แต่นี่คือ ร่างกายเราวิจัยเอง ปรับตัวเองเลยค่ะ)
.
1. มารู้จัก อวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของเราก่อนค่ะว่า มีอะไรบ้าง
เซลหลักๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเราจะเป็น "เซลเม็ดเลือดขาว" ค่ะ โดยเซลเม็ดเลือดขาวนี้ จะกระจายสะสมอยู่ตามอวัยวะและระบบต่างๆ ของเราเช่น ต่อมทอมซิล ต่อมไทมัส ไขกระดูก ระบบน้ำเหลือง ระบบเลือด ม้าม
(pencil) 2. กลไกในการทำงาน เมื่อร่างกายของเราได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ร่างกายจะมีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานให้ตอบสนอง โดยระบบภูมิต้านทานนี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบหลักๆ คือ
2.1 กลไกการทำงาน แบบไม่จำเพาะ
2.2 กลไกการทำงาน แบบจำเพาะ
(pencil) 3. มารู้จักแบบไม่จำเพาะก่อนค่ะ เพราะไม่ยาก 555 กลไกนี้เปรียบเสมือนด่านแรก ของการป้องกัน ที่จะปกป้องตัวเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เราสังเกตเห็นได้ง่ายๆ เลยค่ะ เช่น
- ขี้หู ดักจับฝุ่น แมลง
- ผิวหนัง ป้องกัน เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม
- น้ำตา มีเอนไซม์ย่อยผนังแบคทีเรีย
- ท่อลม มีเมือก ดักจับฝุ่น เชื้อต่างๆ แล้วกระตุ้นให้เราเอาออกด้วยการไอ หรือจาม
- เหงื่อ นำมันจากผิวหนัง ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด
- กระเพาะอาหาร มีกรดทำลายแบคทีเรีย
ในกรณีที่ด่านแรกของเรา "ถูกทำลาย" เช่น ได้รับบาดแผล หรือมีเชื้อโรคจำนวนมากผ่านเข้ามา ก็จะเข้าสู่กลไก ด่านที่ 2
(pencil) 4. กลไกการทำงานแบบจำเพาะ (อันนี้ล่ะค่ะ ที่จะเกี่ยวข้องกับ ไวรัส)
เมื่อสิ่งแปลกปลอมทะลุปราการด่านแรกของเราเข้ามาภายในตัวเราได้แล้ว ร่างกายจะมีการกระตุ้นกลไกการป้องกันตัวเองแบบจำเพาะ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ "เม็ดเลือดขาว" ค่ะ
โดยหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวนี้ จะมีหลากหลายกันไป เช่น
- สร้าง สร้างแอนติบอดี เพื่อจับกับสิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะ และทำให้หมดสภาพ
- ทำลาย เป็นลักษณะการเข้าทำลายเซลที่ติดเชื้อ หรือ สิ่งแปลกปลอม (กรณีนี้ เราจะเห็นผลงานก็คือ หนองขาวๆ เวลาที่เรามีแผลเกิดขึ้นนั่นล่ะค่ะ)
- เปลี่ยนสภาพเป็นเซลความจำ เพื่อจดจำลักษณะเฉพาะของสิ่งแปลกปลอม หากเกิดเหตุการณ์บุกรุกในครั้งหน้า ระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำและสามารถทำงานได้ "เร็วขึ้น"
(pencil) 5. เราจะเห็นได้ว่า กลไกในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมนั่น มีความละเอียดอ่อนในหลายขั้นตอน ซึ่งร่างกายของเราได้มีการออกแบบระบบป้องกันไว้อย่างดีแล้วค่ะ เพียงแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ระบบของหลายๆ คนอาจจะไม่สามารถปรับตัวได้อย่าง "รวดเร็ว แข็งแรง" เพียงพอต่อสถานการณ์
(pencil) 6. วัคซีนที่กำลังจะมาถึง เป็นรูปแบบหนึ่งของ "การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน" ให้ร่างกาย "สร้างแอนติบอดี" ขึ้นมาแบบจำเพาะอย่างทันท่วงที (ในร่างกายของคนที่ไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว มันกระตุ้นช้า หรือ แทบไม่มีการกระตุ้นเลย นั่นล่ะค่ะ เวลาได้รับเชื้อมา จะแสดงอาการได้อย่างรวดเร็ว) เป็นกลไกหนึ่งในการควบคุมเชื้อโรค แบบระยะยาว
พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าร่างกายของเรา มี "แอนติบอดี" ที่จดจำไวรัสตัวนี้ได้แล้ว ต่อให้ได้รับเชื้อมาอีกในครั้งหน้า ระบบภูมิต้านทานของเราก็จะทำงานเร็วขึ้น ทำให้การแสดงอาการน้อยลง หรือ ไม่มีได้ค่ะ (คล้ายๆ เขาจำได้แล้วว่า ต้องทำอย่างไร รอบนี้ไม่ต้องคิดมากแล้วค่ะ)
(pencil) 7. ดังนั้น สิ่งที่แอดอยากจะบอกก็คือว่า "ระหว่างรอวัคซีน" อย่าให้ระบบภูมิต้านทานของเราต่ำเด็ดขาดค่ะ ซึ่งปัจจัยที่มีผลทำให้ภูมิของเราต่ำ มีดังนี้เลยค่ะ
- นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ออกกำลังกายน้อย
- รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์
- เป็นโรคเครียด
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน
- อายุที่มากขึ้น
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
(pencil) 8. หากเรามีสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เราจะเป็นคนกลุ่มหนึ่งเลยค่ะ ที่เสี่ยงต่อการ "แสดงอาการ" ของโรคได้อย่างง่ายดาย (ต่อให้ ได้รับวัคซีนเข้าไป การกระตุ้น การสร้างแอนติบอดี ก็อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรค่ะ)
.
.
(tennisball)(tennisball) พอเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบภูมิต้านของเรานะคะ นี่ล่ะค่ะอย่างที่บอกไว้อยู่ตลอดว่า ร่างกายของเราดูแลให้ดีที่สุดค่ะ เราไม่รู้หรอกว่า จู่ๆ วันรุ่งขึ้นก็จะมีเชื้อโรคชนิดใหม่เกิดขึ้น โดยที่การแพทย์ยังไม่สามารถตามรักษาได้ทัน
.
.
แต่ร่างกายของเรามีระบบป้องกันที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้วนะคะ เพียงแต่เราไม่รู้ค่ะว่าเรามี แล้วเราก็ทำลายระบบนี้ของเราด้วยตัวเองทุกวัน จนเมื่อถึงคราวที่เราจะต้องต่อสู้กับไวรัส เหมือนในสถานการณ์แบบนี้ เราจะมีความกัลวลมากมายเลยค่ะ
.
.
(rock)(rock) ในอนาคต ไม่มีใครรับประกันได้ค่ะว่า จะไม่มี Covid 21 22 23 เกิดขึ้นอีก แต่แอดเชื่อค่ะว่า โลกเราจะพัฒนาและสร้างสมดุลของตัวเองอยู่เสมอ และวิวัฒนาการทางชีวภาพแบบนี้ จะมีเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนค่ะ หน้าที่ของเราก็คือ รักษาสมดุลของร่างกายเราให้ดีที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ค่ะ (เราจะไม่รอจนป่วย แล้วหมอบอกให้ออกกำลังกายบ้างนะ ถึงไปออก แต่เราต้องไปออก โดยไม่ต้องรอหมอมาบอกค่ะ)
.
.
(wink)(wink) ก่อนจบบทความนี้ค่ะ หลายๆ คน อาจจะงงว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับระบบเลือดและหัวใจอย่างไร ง่ายมากๆ เลยค่ะ อวัยวะที่มีความเกี่ยวพันกับระบบภูมิคุ้มกัน ล้วนใช้เลือดขับเคลื่อน นำส่งสารอาหารทั้งนั้น ยิ่งถ้าเราเป็นคนที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมัน ความดันติดตัวแล้ว
โรคประจำตัวแบบนี้...ทำให้ภูมิของเราต่ำค่ะ นี่ล่ะค่ะ ความเสี่ยงของเรา
(ไม่อยากจะบอกเลยค่ะว่า คนทั่วไปต่อให้แข็งแรง แต่ถ้าสู้ไวรัสไม่ได้ โอกาสแสดงอาการก็จะมีอยู่แล้ว แล้วยิ่งเรามีโรคประจำตัวอยู่ด้วย เหมือนต้องต่อสู้กับไวรัส ด้วยแต้มติดลบค่ะ ความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก แอดถึงพยายามย้ำอยู่เสมอว่า เจอแล้ว รีบเคลีย รีบรักษา อย่าทำเฉย หรือไม่ใส่ใจนะคะ เราไม่รู้หรอกว่า สถานการณ์คาดเดาไม่ได้แบบโรคไวรัสนี้ จะโผล่มาเมื่อใด)
ปล. ท่านไหนรู้ตัวว่า เราเป็นคนที่ภูมิไม่ค่อยดี ป่วยง่าย อยู่ในเคสที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเสี่ยงหรือไม่ ลองสอบถามเรื่องของภูมิต้านทานเข้ามาได้นะคะ เราได้จัดชุดพิเศษ เพื่อลูกค้าสุดพิเศษเฉพาะในร้านนี้ สำหรับสถานการณ์ Covid 19 แบบนี้ไว้โดยเฉพาะเลยค่ะ
โฆษณา