11 ม.ค. 2021 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
That Others May Live
Part.2
“เจ้าหน้าที่ PJ” เกิดจาก หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศ ซึ่งรวมเอาความสามารถด้านการปฏิบัติการพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน 3 หน่วย “เจ้าหน้าที่ PJ” ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่งที่อยู่ในนี้ โดยทั่วไปแล้วกำลังพลที่เข้ารับการฝึกจะต้องเข้าเรียนเนื้อหาหลักสูตรที่เหมือนกันทั้งหมดทุกคน ซึ่งในขณะนั้นเองยังไม่สามารถแยกได้ว่าใครต้องการทำงานด้านไหนหรือจะอยู่หน่วยไหน
โดยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ “เจ้าหน้าที่ PJ” อันเป็นพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ การฝึกการลงเชือกจากหน้าผา, การฝึกการลงเชือกทางดิ่งจากอากาศยาน ฮ., การฝึกลงเชือก Fast Rope, การฝึกการใช้ Hoist, การฝึกการเรียกอากาศยาน ฮ., การฝึกการช่วยเหลือทางน้ำ 10 feet 10 knot, การฝึกดำน้ำโดยใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น้ำขั้นต้น,
การฝึกการค้นหาและช่วยเหลือ, การฝึกการลาดตระเวนทางบกและทางน้ำ, การฝึกการดำรงชีพในป่า, การฝึกการใช้แผนที่เข็มทิศ, การฝึกบุคคลทำการรบ, การปฐมพยาบาลเวชกิจฉุกเฉินและการปฐมพยาบาลในพื้นที่การรบ, การฝึกโดดร่มแบบกระตุกเอง, การฝึกการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในพื้นที่การรบ เป็นต้น
โดยเฉพาะในรายวิชาที่เกี่ยวกับ การลงเชือกจากอากาศยาน ฮ., การฝึกการเรียกอากาศยาน ฮ., การฝึกการช่วยเหลือทางน้ำ 10 feet 10 knot และการลาดตระเวนค้นหา เนื่องจากวิชาเหล่านี้ถือเป็น “หัวใจของการค้นหาและช่วยชีวิต” ที่ไม่ว่านักเรียนจะจบออกไปแล้วจะอยู่หน่วยไหนก็ตาม COMMANDO หรือ CCT ก็ต้องทราบบทบาทและหน้าที่สำคัญของ “หน่วย PJ” ด้วยเพื่อดำรงความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันตามแผนป้องกันประเทศ ที่เตรียมไว้ในยามเมื่อเกิดสงคราม
และเมื่อนักเรียนหลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษจบการศึกษาแล้ว พวกเขาจะถูกคัดจำแนกตามคุณลักษณะบางประการที่มีความเหมาะสมในการเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษค้นหาและช่วยชีวิตมาประจำหน่วย จากนั้นพวกเขาจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 1 ปี ในการฝึกศึกษาการเป็น “เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษค้นหาและช่วยชีวิตขั้นสูง”
โดยจะมีรายละเอียดในการฝึกและวิชาความรู้ที่มากขึ้น เพื่อให้เกิดความชำนาญ และเกิดประสบการณ์ความรู้อย่างแท้จริงในการเป็น “เจ้าหน้าที่ PJ” จนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ความรู้ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat SAR), การปฐมพยาบาล (TCCC), การลงเชือกจากอากาศยาน ฮ. ที่ต้องใช้เทคนิคที่สูงขึ้นทั้งแบบ Fast Rope และ Rappelling,
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (CASEVAC) ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ, การฝึกใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Hoist” ในการช่วยเหลือผู้ป่วย, การโดดร่มทางยุทธวิธี (Military Free Fall : HAHO), การดำรงชีพในป่า (Jungle Survival), การฝึกการดำน้ำประกอบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ, การฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี, การฝึกการรบในสิ่งปลูกสร้าง (MOUT)
การฝึกทั้งหมดทั้งมวลนี้ของ “เจ้าหน้าที่ PJ” จะต้องทำการฝึกอย่างเข้มข้นจนสามารถใช้งานได้จริง ทั้งในยามปกติและยามสงคราม หากแม้ในปัจจุบันสงครามดังกล่าวได้จบสิ้นลงแล้ว แต่สิ่งที่ยังต้องดำรงก็คือ “การช่วยเหลือประชาชน” ในกรณีภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงกรณีที่มีการร้องขอเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเมื่อเครื่องต้องตกในพื้นที่ป่าเขา ซึ่งมีทั้งความยากและความอันตรายในการเข้าถึง
อีกทั้งยังดำรงไว้ซึ่งตามเจตนารมณ์สากลที่ว่า “That Others May Live” หรือแปลได้ว่า “เพื่อผู้อื่นอยู่รอด” นั่นเอง
โฆษณา