Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Pipe Hitters
•
ติดตาม
13 ม.ค. 2021 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
MARSOC ?
สำหรับผู้สนใจในเรื่องราวของหน่วยรบพิเศษในประเทศไทย คงจะคุ้นเคยกันดีกับหลักสูตรการรบพิเศษแขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก และจู่โจมนาวิกโยธิน หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า หลักสูตรรีคอน และบางส่วนอาจรู้จักเครื่องหมายอาร์มแขนกะโหลกตาแดงมีไม้พายไขว้ของ กองพันลาดตระเวน สังกัดกองพลนาวิกโยธิน ซึ่งรูปแบบการจัดกำลังแบบนี้นั้น เรานำมาจากการจัดกำลังของกองทัพนาวิกโยธินสหรัฐ
ซึ่งการจัดกำลังแบบนี้นั้นบางครั้งนำมาสู่ความสงสัยว่า พลทหารที่สังกัดกองพันลาดตระเวนนั้นถือว่าเป็นรบพิเศษหรือไม่ แล้วอย่างนี้จะหมายความว่าพลทหารก็มีสิทธิในการฝึกหลักสูตรรบพิเศษหรือไม่ ซึ่งจะขัดแย้งกับความเชื่อทั่วไปดั้งเดิมที่ว่าทหารในระดับประทวนและสัญญาบัตรเท่านั้นที่มีสิทธิฝึกหลักสูตรรบพิเศษของกองทัพไทย
เราไปดูพัฒนาการของหน่วยรบพิเศษของกองทัพนาวิกโยธินสหรัฐกันก่อน แรกเริ่มเดิมทีนั้นกองทัพนาวิกโยธินของสหรัฐอเมริกาเป็นเหล่าทัพแรกที่ได้ก่อตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นมา ซึ่งได้รับการคัดเลือกและฝึกฝนอย่างเข้มข้นเพื่อทำภารกิจเหนือกว่าทหารราบทั่วไป โดยตั้งชื่อว่า Marine Raider ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำหน้าที่เป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ทำการบุกเคลื่อนพลจากแนวชายฝั่งและแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่หลังแนวข้าศึก แต่ด้วยความต้องการของแต่ละปฏิบัติการและการนิยมใช้กำลังจำนวนมากเคลื่อนพลเข้าโจมตีจพร้อมกันจากชายฝั่ง Marine Raider จึงมักถูกใช้ผิดบทบาทในรูปแบบของทหารราบปกติที่รบตามแบบ และด้วยแนวคิดหลักของนาวิกโยธินที่ว่า กำลังรบอื่นอื่นนั้นมีหน้าที่เพื่อสนับสนุนกำลังราบหลัก Marine Raider จึงถูกยุบและย้ายไปสังกัด หรือย้ายไปก่อตั้งกองพลนาวิกโยธินอื่นอื่นแทน
จากนั้นต่อมาด้วยความจำเป็นของการที่ต้องเป็นหน่วยพร้อมรบตลอดเวลา (RDF) และตามการจัดกำลังหลักแบบ MAGTF (Marine Air-Ground Task Force) เพื่อให้สามารถรบอย่างเต็มรูปแบบได้ด้วยตัวเอง ในแต่ละกองพลนาวิกโยธินจึงทำการจัดตั้ง Reconnaissance Battalion หรือ กองพันลาดตระเวนขึ้นมา โดยกองพันลาดตระเวนนี้มักจะถูกเรียกกันว่า Division Recon เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันกับหน่วยที่ทำหน้าที่ลาดตระเวนอีกหน่วยอย่าง Force Recon โดย กองพันลาดตระเวนนี้มีภารกิจหลักก็คือ การลาดตระเวนตามแนวชายฝั่งและการลาดตระเวนบนบก โดยเป็นสมบัติโดยตรงของผู้บังคับบัญชาของแต่ละ MEU(Marine Expeditionary Unit)
ส่วน Force Recon นั้นเดิมทีเป็นกองร้อยที่สังกัด MEU โดยตรงบ้าง สังกัดกองพลนาวิกโยธินบ้าง แต่การจัดกำลังล่าสุดนั้นถูกจัดให้เป็นกองร้อยหนึ่งในกองพันลาดตระเวน โดย Force Recon นั้น มีความแตกต่างกับ Division Recon ในแง่ของความยากและความซับซ้อนของภารกิจ โดย Force Recon นั้นจะปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนที่มีความเฉพาะมากกว่าและลึกเข้าไปในแนวข้าศึกมากกว่า ซึ่งมีความยากลำบากทั้งในแง่ของการเดินทางพร้อมสัมภาระเป็นระยะทางไกล และการขาดกำลังบำรุงเป็นระยะเวลายาวนาน รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการปะทะหลังแนวข้าศึก ซึ่งจะเสียเปรียบในแง่ของจำนวนกำลังพลอย่างมหาศาล
โดย Division Recon และ Force Recon นั้น ต่างก็ผ่านการฝึกฝนในลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยต้องผ่านหลักสูตร Basic Reconnaissance เหมือนกัน ต่างกันเพียงแค่เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าฝึกรวมถึงการฝึกของหน่วยหลังจากที่ได้เข้าประจำการแล้ว ซึ่งด้วยภารกิจของ Force Recon ทำให้ต้องมีการเน้นสมรรถภาพทางร่างกายในระดับสูงสุด และอีกหนึ่งความแตกต่างก็คือ Division Recon จะมีกำลังพลที่ผ่านการฝึกหลักสูตรการส่งทางอากาศและหลักสูตรนักประดาน้ำจู่โจมจำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา แต่ว่าในส่วนของ Force Recon นั้น กำลังพลทุกคนต้องเป็น Parachutist Qualified และ Combatant Diver Qualified
โดยจริงจริงทั้ง Division Recon และ Force Recon นั้น ก็ถือว่าเป็นหน่วยรบที่มีขีดความสามารถสูง เป็นหน่วยงานที่ special operation capable ทั้งคู่ โดยเฉพาะ Force Recon นั้นถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษคุณภาพสูงมากในระดับเดียวกันกับ Navy Seal หรือ Green Beret เลย แต่เช่นเดียวกันกับที่ 75th Ranger Regiment ไม่ได้ถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษ Force Recon เองก็ไม่ถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษ เพราะปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการทำงานของทหารราบนาวิกโยธินเท่านั้น เป็น asset เฉพาะของผู้บัญชาการของ MEU หรือของกองพลนาวิกโยธิน
75th Ranger Regiment นั้น แม้จะสังกัด USSOCOM โดยตรง ก็ไม่ได้รับการจัดว่าเป็นหน่วยรบพิเศษ โดยถูกจัดว่าเป็นหน่วยทหารราบประสิทธิภาพสูงเท่านั้น ถึงแม้จะปฏิบัติงานใกล้เคียงกับหน่วยรบพิเศษมากในช่วงหลังหลัง โดยภารกิจหลักของหน่วยรบพิเศษสามภารกิจคือ Direct Action, Deep Reconnaissance และ Foreign Internal Defense . Army Ranger ก็ไม่ได้ทำเพียงแค่ภารกิจเดียวเท่านั้นก็คือ FID แต่การเข้าจู่โจมเป้าหมายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานที่มั่นหรือแกนนำของกลุ่มก่อการร้ายด้วยหน่วยทหารขนาดเล็กนั้น Ranger แทบจะเหมาภารกิจเหล่านี้ซักครึ่งหนึ่ง – Force Recon ก็เช่นเดียวกันที่ไม่ได้ปฏิบัติภารกิจ FID แต่จะมีองค์ประกอบของ Reconnaissance หนักว่า 75th ranger regiment และ Force Recon ไม่ได้สังกัด USSOCOM)
โดยการจัดกำลังของไทยนั้นก็ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งออกเป็น กองพันลาดตระเวน และกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่สังกัดในกองพันลาดตระเวนอีกที และของเราจะมอบปีกติดหน้าอกให้กับผู้ที่ผ่านการฝึกหลักสูตรการรบพิเศษแขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก และจู่โจมนาวิกโยธิน โดยเปิดให้นายทหารระดับประทวนและสัญญาบัตรเท่านั้นเข้ารับการฝึก ระยะเวลาของการฝึกประมาณสามเดือน ส่วนทหารเกณฑ์ที่เข้าประจำการในกองพันลาดตระเวนนั้นก็จะได้อาร์มติดแขนประจำหน่วยของกองพันลาดตระเวน และมีระยะเวลาของการฝึกประมาณสองเดือน เท่ากันกับ Basic Reconnaissance Course ของนาวิกโยธินสหรัฐ
เกริ่นนำกันยืดยาด เราจะได้เข้าเรื่องกันแล้วครับ 55555 ……. ในการก่อตั้ง USSOCOM ในปี 1986 เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพให้เป็นหนึ่งเดียวนั้น ทางกองทัพนาวิกโยธินสหรัฐปฏิเสธที่จะส่ง Force Recon เข้าร่วม โดยให้เหตุผลว่า การให้หน่วยรบใดอยู่แยกออกไปต่างหาก และไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของกองทัพนาวิกโยธินอาจทำให้เสียเอกภาพโดยรวม ซึ่งมีหลักการว่า กำลังอื่นอื่นนั้นมีอยู่เพื่อสนับสนุนกำลังทหารราบ –
จุดเปลี่ยนอยู่ตรงที่เมื่ออเมริกาเริ่มต้นทำสงครามต่อต้านการก่อร้ายไปทั่วโลก และบทบาทของหน่วยรบพิเศษเริ่มกลายเป็นเสาหลักในการทำสงครามของอเมริกัน กองทัพนาวิกโยธินจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการเข้าร่วม USSOCOM จึงได้ก่อตั้งโครงการนำร่องขึ้นมา เป็นหน่วยงานขนาดเล็กชื่อว่า MCSOCOM Detachment One โดยนำกำลังทั้งหมดมาจาก Force Recon และส่งไปปฏิบัติภารกิจเคียงคู่กับ Seal Team 1 และจากนั้นก็ร่วมปฏิบัติภารกิจกับอีกหลากหลายหน่วยของ USSOCOM โดยผลลัพธ์ของการปฏิบัติภารกิจปรากฏออกมาว่ามีประสิทธิภาพมาก จึงมีมติให้ก่อตั้ง MARSOC (Marine Special Operation Command) หรือก็คือหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษนาวิกโยธิน ขึ้นมาในปี 2006 และขยายกำลังไปถึงสามกองพัน
MSOR หรือ MARSOC operator จึงเป็นหน่วยรบพิเศษที่แท้จริงของกองทัพนาวิกโยธินสหรัฐที่สังกัด USSOCOM โดยตรง ซึ่งผ่านการฝึกและคัดเลือกอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกับหน่วยรบพิเศษของเหล่าทัพอื่นอื่น เพื่อปฏิบัติภารกิจหลักสามประการของหน่วยรบพิเศษ ก็คือ Direct Action, Reconnaissance และ Foreign Internal Defense โดยในมุมผู้เขียนนั้น MSOR จัดวางตัวเองอยู่ระหว่าง Green Beret ซึ่งถนัดภารกิจ FID และ Navy Seal ซึ่งหลังหลังถนัดภารกิจ Direct Action แม้จะปฏิบัติการบนบก โดย MSOR นั้นต้องเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของพื้นที่ปฏิบัติการและเน้นการฝึกซ้อมการจู่โจมเป้าหมายสำคัญอย่างทันทีทันใด โดยในปี 2014 ทาง MARSOC ได้มีมติเปลี่ยนชื่อจาก Marine Special Operation Regiment ไปเป็น Marine Raider เพื่อสื่อนัยยะถึงหน่วยรบพิเศษของนาวิกโยธินที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยถึงแม้ Marine Raider จะได้รับการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว เพื่อทำภารกิจที่ได้รับโดยตรงจาก USSOCOM แต่ทาง Force Recon หน่วยรบที่มีความสามารถพิเศษเท่าเทียมกัน ก็ยังคู่มีอยู่คู่กันไปแต่ว่าได้รับภารกิจจาก Marine Corps ส่วน Division Recon ก็ยังคงเป็น ground asset ที่สำคัญในการปฏิบัติภารกิจของ กองพลนาวิกโยธิน หรือ Marine Expeditionary Unit – โดยการเกิดขึ้นมาของ Marine Raider ก็ทำให้ Force Recon สามารถโฟกัสไปที่ภารกิจ Reconnaissance โดยเฉพาะเจาะจงได้ เพราะ Marine Raider ก็ตรงตามชื่อ คือมุ่งเน้นไปที่การ raid หรือการจู่โจมอย่างฉันพลัน
Debit :
https://m.pantip.com/topic/36140794
?
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย