Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ATPSERVE
•
ติดตาม
7 ม.ค. 2021 เวลา 07:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ผู้หญิงกับฐานะนักประดิษฐ์ในสิทธิบัตรไทย
การยื่นจดสิ่งประดิษฐ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี (ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปี 2020 มีจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่นจดเข้ามาประมาณ 140,000 กว่าฉบับ) แต่รู้หรือไม่ว่า มีไม่ถึง 20% (ประมาณ 17%) ที่มีผู้หญิงร่วมเป็นนักประดิษฐ์
แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ยังไม่สูงมาก แต่สัดส่วนสิทธิบัตรที่มีนักประดิษฐ์ผู้หญิงร่วมอยู่ด้วยนั้น เติบโตขึ้นกว่า 80% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
รายละเอียดเป็นอย่างไร ATPSERVE จะอธิบายให้ฟัง
หน้าปก
สัดส่วนนักประดิษฐ์หญิง
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เรามีสัดส่วนงานประดิษฐ์ที่มีนักประดิษฐ์ผู้หญิงประมาณ 14% และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงในปี 2563 ที่ผ่านมา แม้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อจำนวนการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรพอสมควร (งานประดิษฐ์ยื่นจดทะเบียนลดลงประมาณ 1 พันฉบับ) แต่จำนวนงานประดิษฐ์ที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างปกติ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 30% ของคำขอสิทธิบัตรที่ยื่นจดทะเบียนเข้ามาในปี 2563
สัดส่วนสิทธิบัตรที่มีนักประดิษฐ์หญิงต่อสิทธิบัตรทั้งหมด
อัตราการยื่นคำขอของนักประดิษฐ์หญิง
สอดคล้องกับสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น คืออัตราการยื่นคำขอสิทธิบัตรของงานประดิษฐ์ที่มีผู้หญิงเป็นนักประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปี โดยในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นถึง 80%
แต่ทั้งนี้แม้ตัวเลขจะดูน่าสนใจ แต่ในถาพรวมยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับคำขอสิทธิบัตรทั้งหมดที่ยื่นเข้ามา เพราะสิทธิบัตรในรอบ 10 ปี มีกว่า 140,000 ฉบับ แต่มีคำขอที่มีนักประดิษฐ์เป็นผู้หญิงเพียง 25,000 กว่าคำขอเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 17% ของคำขอทั้งหมด
อัตราการยื่นสิทธิบัตรที่มีนักประดิษฐ์หญิงร่วมอยู่ด้วย
ทำไมสิทธิบัตรจากนักประดิษฐ์หญิงถึงน้อย?
แม้การยื่นจดสิทธิบัตร ผู้หญิงล้วนมีสิทธิในการได้รับสิทธิบัตรเทียบเท่ากับผู้ชาย แต่การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Yale University พบว่าผู้ยื่นคำขอเพศหญิงมีโอกาสได้รับการจดสิทธิบัตรน้อยกว่าเพศชาย สอดคล้องกับการศึกษาจากองค์กรสิทธิบัตรโลก (WIPO) บอกว่า ผู้หญิงมักมีแนวคิดทางด้านการค้า (Commercialization) น้อยกว่าเพศชาย
1
แต่ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งอาจนำมาอธิบายบริบทในประเทศไทยได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์
อันที่จริงแล้ว เราอาจต้องไล่มาตั้งแต่พื้นฐานด้านความสนใจในวิทยาศาสตร์
การศึกษาของสถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่านักเรียนชายมีผลการประเมินวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนหญิงและมีจุดแข็งด้านวิทยาศาสตร์มากกว่าด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ อีกทั้งนักเรียนชายแสดงออกว่ามีความมั่นใจเมื่อเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนหญิง
ความใส่ใจในวิทยาศาสตร์นี่เอง อาจจะส่งผลในทางหนึ่งให้เกิดการคิดค้นและประดิษฐ์ที่มากกว่า (เป็นเพียงแค่การอนุมานของเราเท่านะ)
และแน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่มีส่วนในการประดิษฐ์จะได้รับการใส่ชื่อในสิทธิบัตร กล่าวคือบางงานอาจมีนักประดิษฐ์หญิงร่วมอยู่ด้วย แต่เวลาใส่ชื่อ อาจจะใส่แค่หัวหน้าทีมซึ่งเป็นผู้ชายเท่านั้น
อาหารและเครื่องดื่ม คืองานประดิษฐ์ที่เท่าเทียมกัน
ส่วนส่วนประเภทของงานประดิษฐ์
เมื่อสืบค้นลงลึก เราจะพบประเภทงานประดิษฐ์ 5 อันดับแรก ที่มีนักประดิษฐ์ผู้หญิงร่วมจดทะเบียน พบว่าสูงที่สุดเป็นงานเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอร์ ซึ่งเมื่อพิจารณาในกลุ่มดังกล่าว จะพบว่าเกือบ 50% เป็นงานประดิษฐ์ที่ผู้หญิงมีส่วนในการประดิษฐ์
รองลงมาคือ งานเกี่ยวกับเภสัชกรรมและทันตกรรม บรรจุภัณฑ์ เครื่องประดับและเฟอร์นิเจอร์ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ATPSERVE มองว่า แม้จำนวนนักประดิษฐ์ผู้หญิงจะมีสัดส่วนที่น้อย แต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีที่เราจะเห็นนักประดิษฐ์ผู้หญิง ร่วมขับเคลื่อน และพัฒนางานประดิษฐ์และนำมาจดสิทธิบัตรมากยิ่งขึ้นในอนาคต
1
ที่มา
-บทความจาก ATPSERVE :
https://www.atpserve.com/นักประดิษฐ์/
- การศึกษาใน Yale University :
https://www.nature.com/articles/nbt.4120.epdf
- การศึกษาของ WIPO :
https://www.wipo.int/wipo_magazine/en/2018/02/article_0001.html
- การศึกษาสถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี :
https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-40/
3 บันทึก
2
5
3
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย