7 ม.ค. 2021 เวลา 08:40 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์และตำนานของปราสาทหินวัดพูจําปาสักของสปปลาว.ปราสาทหินวัดพูจําปาสักเป็นที่รู้และกล่าวขาน.และเปันที่เคารพนับถือของชาวพี่น้องสปปลาว.เป็นสถานที่ที่ได้ลงขึ้นทะเบียนจัดให้เป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของประเทศลาวโดยองค์กรองUNESCO วันที่ 25 ปีพศ 2544.
วัดพูจำปาสักหรือปราสาทหินวัดพูเป็นสถานที่สร้างขึ้นในท้ายศตวรรษที่ 5ในสมัยของพระเจ้าวรมันหรือกษัตริย์วรมันเพื่อถวายให้พระศิละหรือเทพเจ้าสูงสุดของอินดูที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียนั้นและเป็นสถานที่ตั้งอยู่เทือกเขาที่มีชื่อว่าภูเก้า.
และนอกเหนือจากนี้ภูเก้าแห่งนี้ได้ถูกกล่าวเล่าขานกันมาว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือน้ำระดับประมาณ1,400 เมตรมีบ่อน้ำธรรมชาติไหลรินออกจากหน้าผาตลอดเวลาซึ่งเป็นเหตุให้ดินแดนแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์และคนส่วนมากก็ได้ขนานนามว่าน้ำเที่ยงโดยสถานที่แห่งนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บันดาลให้กษัตริย์ในสมัยโบราณเลือกเอาสถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนที่ตั้งของเคหสถานหรือปราสาทหินวัดพูจำปาสักเพื่ออุทิศให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย
ปราสาทหินวัดพูแห่งนี้มีหลักฐานจากศิลาจารึกในศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่าเเป็นเคหะสถานที่มีความรุ่งเรืองของชาวโขงเป็นโครงสร้างสถาปนิกของชาวอินดูและยังได้มีการบูรณะซ่อมแปลงดูแลในศตวรรษที่11และได้มีการแต่งเติมบางส่วน.มาที่ศตวรรษที่ 12 -13ปราสาทหินเริ่มมีการเก่าแก่.มาถึงปัจจุบันนี้มีอายุประมาณหลายกว่า 1,500 ปีลักษณะของปราสาทเป็นเคหะของชาวโขงและดูเหมือนคล้ายกับเขาพระวิหารของประเทศกัมพูชาหรือวัดปราสาทอังกอร์นั้นเอง.จำปาสักมีเมืองโบราณหรือปราสาทหินวัดพู.มีขอบเขตถึงประมาน3.6 กม. มณฑลออม.ออมรอบด้วยหินกำแพง 2 ชั้น.และปราสาทแห่งนี้ได้ปริ้นหน้าเข้าหาลำแม่น้ำโขงออมรอบไปด้วยบริเวณเขตสมบูรณ์ของชาวจำปาสัก(เขตธงเพียงกูเข้าอู่ป่า).วัดพูจําปาสักตามวิทยาศาสตร์ได้ถูกออกแบบแผนผังยึดเส้นแกนของทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นหลัก .และยังมีความเชื่ออีกว่าเนื่องจากว่าวัตพูตั้งอยู่เขตเทือกเขาสูงก็เปรียบเสมือนตัวแทนของสวรรค์ธงเพียงที่ออมรอบปราสาทวัดพูก็เปรียบเหมือนความอุดมสมบูรณ์ของโลกมนุษย์โป่งเปรียบเหมือนมาก.ส่วนแม่น้ำโขงก็เปรียบเหมือนมหาสมุทรใหญ่ซึ่งใน 3 ส่วนรวมกันนี้ก็เปรียบเสมือนจักรวาลของมนุษย์.ลักษณะศิลปะการแกะสลักของปราสาทหินวัดพูจำปาสักมันได้บ่งบอกถึงพื้นที่วัฒนธรรมของจำปาสักซาวโบราณในชนเผ่าลาวตอนใต้ของริมแม่น้ำโขง.และในทางทิศตะวันออกของปราสาทหินวัดพูสังเกตได้ว่าจะมีบ่อน้ำ2 บ่.ซึ่งในสมัยก่อนได้สันนิษฐานว่าเป็นบ่อที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อชำระสิ่งชั่วร้ายออกจากตัวและสิ่งไม่ดีไม่งามออกจากร่างกายของคนที่จะไปแสวงหาบุญ.แต่ต่อมาก็ตกในอิทธิพลของศาสนาพุทธบ่แห่งนี้ก็ได้ถูกนำใช้เป็นประโยคตัวอย่างเช่นเป็นที่กักเก็บน้ำและเป็นสถานที่ชลประทานแหล่งน้ำเข้าในกสิกรรม.ก่อนหน้าที่จะเป็นมรดกโลกประชาชนได้อาศัยอยู่ที่เขตนี้.และก็ได้มีการนำใช้น้ำในบ่อแห่งนี้เช่นเดียวกัน.
1
และเรียบแคมบ่ทางทิศตะวันตกจะถูกเรียกว่ากูโปละเป็นสัญลักษณ์ทางเข้าของปราสาทหินวัดพูจำปาสักที่เรียบเรียงด้วยหลักเสาลิงคะ
ถัดจากบันไดนี้ขึ้นไป เป็นทางเดินยาวที่ปูด้วยแผ่นหินทราย ที่มีความชันตามแนวลาดของภูเขา นำไปสู่ บันไดชั้นถัดไปได้เชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงตระพักบนชั้นสุด ที่หน้าบันไดนี้จะมีร่องรอยของ “สะพานนาคราช” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สะพานสายรุ้งหรือทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ตามคติเขมร เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจนถึงชั้นบนสุดก็จะเป็นที่ตั้งของปราสาทหลังประธาน .หัวใจสำคัญของเทวสถานปราสาทวัดพูแห่งนี้
ตัวปราสาทประธานของปราสาทวัดพู แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คืออาคารหินทรายส่วนหน้าเรียกว่า “มณฑป” สร้างขึ้นราวๆช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 มณฑปนี้จะมีจุดเด่นตรงที่ มีการสลักภาพเล่าเรื่องและภาพบุคคลต่างๆตามความนิยมในศิลปะเขมรมากมายทั้งที่ตัวผนังปราสาท หน้าบันและทับหลัง ตังอย่างภาพสลักที่อยู่ที่มณฑปนี้ ได้แก่ ทวารบาล และนางอัปสรา พระศิวะท่ามกลางฤๅษี มหากาพย์รามายณะ พระกฤษณะปราบนาคกาลียะ พระกฤษณะปราบพระยากงส์ การกวนน้ำอมฤต ณ เกษียรสมุทร พระนารายณ์ทรงสุบรรณ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ด้านในสุดของมณฑปเป็นห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชาวลาวสร้างขึ้นในสมัยหลัง ช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนตัวปราสาทวัดพูจากเทวสถานของศาสนาฮินดูของเขมร มาเป็นวัดพุทธศาสนาแบบลาว
ด้านหลังมณฑปเป็นอาคารก่ออิฐแบบโบราณ ซึ่งก็คือ “ปราสาทประธาน” นั่นเอง ใรอดีตปราสาทอิฐหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ “ภัทเรศวร” ที่กษัตริยืกัมพูชาเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละ แต่ปัจจุบันไม่มีศิวลึงค์อยู่ในห้องนี้แล้ว
หน้าผาเพิงหินด้านหลังปราสาทประธานของวัดพู จะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดทั้งปี ชาวลาวเรียกว่า “น้ำเที่ยง” ซึ่งถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากยอดภูเกล้า “ลิงคบรรพต” เปรียบประดุจไหลมาจากศิวลึงค์แห่งพระศิวะบนเขาไกรลาส จึงถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่หากได้ปะพรมหรือดื่มกินแล้วจะเกิดสวัสดิมงคลด้วยพรแห่งพระเป็นเจ้า
หากเดินออกจากปราสาทประธานไปยังโขดหินด้านหลังทางทิศเหนือ จะพบรูปแกะสลักนูนสูงของ “ตรีมูรติ” หรือรูปเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์แห่งศาสนาฮินดู มีพระศิวะ 5 เศียรอยู่กลาง (เรียกว่า พระสทาศิวะ) พระพรหมอยู่ด้านขวา ส่วนพระนารายณ์อยู่ด้านซ้าย การที่สลักรูปพระศิวะไว้ตรงกลางสำคัญที่สุด บ่งบอกว่าปราสาทวัดพูเป็นเทวสถานใน “ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย” คือศาสนาอินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวงนั่นเอง
หากเดินเลยต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับกลุ่มหินแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งรูปช้าง รูปงู และรูปจระเข้ ซึ่งเป็นร่องรอยคติความเชื่อท้องถิ่นก่อนจะนับถือพุทธศาสนา สัตว์เหล่านี้ได้รับการตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ที่น่าสนใจคือรูปสลักจระเข้ที่แกะเป็นร่องลึกคล้ายมนุษย์ ซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า นี่อาจเป็นร่องรอยของการ “บูชายัญ” มนุษย์ตามที่ระบุไว้ในจดหมายเหตุจีนก็เป็นได้
1
ตัวประสาทของวัดพูจําปาสักถึงแม้ว่าจะมีสภาพเก่าแก่ปรักหักพังตามกาลเวลาแต่ถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากให้แก่จิตใจของชาวลาวและเป็นที่หน้าการะบูชากราบไหว้มากที่สุด
อย่าลืมกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความของเราด้วยครับแล้วใครที่สนใจบทความของเรา.ให้เพื่อนๆพี่ๆทุกคนกดติดตามเพจไว้เพื่อที่ไม่พลาดบทความต่อไปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และตำนานของสปปลาว
โฆษณา