8 ม.ค. 2021 เวลา 04:33 • สุขภาพ
ไม่สร้างแล้วโรงงาน! ขอทำรพ.สนาม 1 พันเตียง ปราบโควิดให้สิ้นไปจากสมุทรสาคร
2
- นายกอบต.พันท้ายนรสิงห์คนจริงแห่งสมุทรสาคร
2
- นอกจากให้พื้นที่สร้างศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 3
ตั้งเตียงรองรับผู้ป่วย 140 เตียง
- ยังเป็นตัวตั้งตัวตี ทั้งหาทุน มอบที่ดินเนื้อที่ 8 ไร่ สร้างรพ.สนามให้อีก 1,000 เตียง
- หรือหากยังไม่พอ ยังมีที่ดินอีก 100 ไร่
จะสร้างไปจนกว่า "สมุทรสาคร" จะสู้จนเอาชนะโควิดได้
4
ณ วันนี้ เป็นที่แน่นอนแล้วว่าศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 3 กำหนดก่อสร้าง
ในพื้นที่ของ "วัฒนาแฟคตอรี่" ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
1
นายวัฒนา แตงมณี ที่เป็นทั้งนายก อบต.เจ้าของพื้นที่ต.พันท้ายนรสิงห์ และเป็นเจ้าของที่ดินผู้มอบอาคารโกดังโรงงาน 2 หลัง บนเนื้อที่เกือบ 5 ไร่ ให้เป็นโรงพยาบาลสนาม ศูนย์ห่วงใยคนสาคร ตามดำริของ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผวจ.สมุทรสาคร ผู้ว่านักสู้ ที่ตอนนี้ยังนอนป่วยด้วยโรคโควิดฯอยู่ที่รพ.ศิริราช
1
จุดมุ่งมายเป้าประสงค์ของศูนย์แห่งนี้ คือ นำผู้ติดเชื้อโควิด- 19 ในจังหวัดสมุทรสาคร มากักตัวอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลา 14 วันหรือจนกว่าหาย ตามมาตรการที่กำหนดไว้
ความคืบหน้าในขณะนี้ มีการนำเตียงมาลงในพื้นที่เต็มอัตราจำนวน 140 เตียง
มาพร้อมกับเครื่องนอน หมอน และผ้าห่ม
อุปกรณ์สำหรับโรงพยาบาลสนาม
ส่วนห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คงเหลือแต่การจัดพื้นที่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ ที่จะเข้ามาดูแลผู้ติดเชื้อภายใน
ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 3 นี้เท่านั้น
3
"บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ จะเข้ามาดำเนินการในเรื่องของ
การวางระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ
ซึ่งที่ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3 นี้ จะมีแพทย์ พยาบาล บุคลากร จากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ"
2
ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 3 ใกล้สำเร็จ
ทั้งนี้ คาดว่าอีก 1-2 วันนี้ ศูนย์ห่วงใยคนสาคร ที่วัฒนาแฟคตอรี่ จะสามารถนำ
ผู้ติดเชื้อโควิด -19 จากในชุมชนเข้ามากักตัวได้
โดยสามารถรองรับได้โกดังละ 140 คน รวมทั้ง 2 โกดังก็ประมาณ 280-300 คน
นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากในชุมชน
ต่างๆ ที่จะเข้ามากักตัวอยู่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3 วัฒนาแฟคตอรี่ แห่งนี้ ซึ่งเรามีการเตรียมความพร้อม ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องมือ โดยจะใช้หลักการบริหารจัดการเดียวกันกับในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดความปลอดภัยทั้งกับบุคลากรและตัวผู้ป่วย รวมถึงความปลอดภัยที่จะมีต่อชุมชนรอบ ๆ ด้วย
2
“เรามีระบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง” หมอพรเทพกล่าวให้ความมั่นใจ
1
ขณะที่ นายวัฒนา แตงมณี นายก อบต.พันท้ายนรสิงห์ เจ้าของหรือผู้บริหารวัฒนาแฟคตอรี่ ที่กำลังจะกลายเป็นรพ.สนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3” ในอนาคตอันใกล้นี้ เปิดใจถึงการมอบอาคารโกดังโรงงาน 2 หลัง ให้กับทางจังหวัดสมุทรสาคร ว่า
2
ตามที่จังหวัดสมุทรสาคร เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และทางจังหวัด มีความประสงค์ในการจัดหาสถานที่เพื่อสร้างโรงพยาบาลสนาม (ศูนย์ห่วงใยคนสาคร) นั้น
เจ้าของพื้นที่ มาสั่งการด้วยตัวเอง
ขณะที่ นายวัฒนา แตงมณี นายก อบต.พันท้ายนรสิงห์ เจ้าของหรือผู้บริหารวัฒนา
แฟคตอรี่ ที่กำลังจะกลายเป็นรพ.สนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3” ในอนาคต
อันใกล้นี้ เปิดใจถึงการมอบอาคารโกดังโรงงาน 2 หลัง
ให้กับทางจังหวัดสมุทรสาคร ว่า
ตามที่จังหวัดสมุทรสาคร เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และทางจังหวัดมีความประสงค์ในการจัดหาสถานที่เพื่อสร้างโรงพยาบาลสนาม (ศูนย์ห่วงใยคนสาคร)
1
"ในฐานะผู้ประกอบการที่มีอาคารโกดังโรงงานสร้างใหม่ และอยู่ในพื้นที่ ๆ มีความเหมาะสม ปลอดภัยต่อชุมชน จึงได้มอบอาคารโกดังโรงงานให้กับทางจังหวัดสมุทรสาครจำนวน 2 หลัง เพื่อสร้างเป็นโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ามาไว้ในพื้นที่ โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งสิ้น"
1
นายวัฒนา ได้บอกอีกว่า นอกจากโกดัง 2 หลังนี้ ตนยังจะได้สร้างโรงพยาบาลสนาม บนเนื้อที่ 8 ไร่ ภายในโครงการวัฒนาแฟคตอรี่ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้ออีก 1,000 เตียง โดยใช้ทั้งเงินส่วนตัว และส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนมาจากเพื่อนๆ ผู้ใจบุญ และมูลนิธิฯ ต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างโรงพยาบาลสนาม 1,000 เตียงนี้ด้วย
3
อีกทั้ง ยังได้ความร่วมมือจาก พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขานุการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดกำลังคนมาช่วยดำเนินการ สร้างโรงพยาบาลสนาม 1,000 เตียง ซึ่งได้เร่งทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 10 วันข้างหน้า โดยขณะนี้ มีการออกแบบเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย อยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับหน้าดิน ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างตามแบบแปลนที่วางไว้ ส่วนงบประมาณการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 5 ล้าน
3
นายวัฒนา ได้กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ในวันนี้ ตนเห็นว่า พี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาคร ต้องหันมาร่วมมือกันในการแก้ไขสถานการณ์โควิด ซึ่งในส่วนของตนนั้น หากโรงพยาบาลสนาม 1,000 เตียง ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น ตนก็ยินดีที่จะสร้างเพิ่มให้อีก
หรือถ้าจะต้องสร้างจนเต็มพื้นที่ 100 ไร่ที่เหลืออยู่นี้ ก็ยินดี เพื่อให้จังหวัดสมุทรสาครมีที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพราะในสภาวะเช่นนี้ แม้ตนจะสร้างโรงงานไปก็คงไม่มีใครมาซื้อ ดังนั้น จึงหันมาทำโรงพยาบาลสนาม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และจังหวัดสมุทรสาคร จะดีกว่า
1
ต้องสู้ถึงจะชนะ
"การทำครั้งนี้ทำด้วยหัวใจ ไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง เช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่พอจะมีกำลังทรัพย์ สิ่งของ หรือสถานที่ ที่พอจะสามารถช่วยเหลือจังหวัดสมุทรสาครได้ ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง ก็อยากจะให้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งเชื้อโควิด-19 ก่อนที่จะแพร่ระบาดมากไปกว่านี้"
2
สุเมธ จันทร์สอาด : เรื่องและภาพ
ชลิต จิตต์ณรงค์ : เรียบเรียง
👇 อ่านบทความต้นฉบับ👇
โฆษณา