8 ม.ค. 2021 เวลา 12:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Hyperinflation, Inflation และ Deflation
ตอนที่ 1
นิยามของคำว่า Hyperinflation ก็คือการที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งความหมายนี้อาจจะดูคลุมเคลือเกินไปหน่อย ให้ลองคิดภาพตามอย่างง่ายๆ
การที่ค่าเงิน 100 บาทในวันนี้จะไม่สามารถซื้อสินค้าราคา 100 บาทในวันข้างหน้าได้อีกต่อไป
หรือ ก่อนหน้านี้เราสามารถซื้อบ้านได้ในราคา 1-2 ล้าน แต่ราคาบ้านที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 10 ล้านเองก็เป็นผลมาจากเงินเฟ้อ
ดังนั้นคำว่า Hyperinflation หรือ ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง หมายถึง สถานการ์ณที่เงินที่เรามีครอบครองอยู่มีมูลค่าน้อยลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการพุ่งสูงกว่า 50% รวมถึงเมื่อประชาชนสูญเสียความมั่นใจต่อสกุลเงิน และไม่ต้องการครอบครองสกุลเงินนั้นอีกต่อไป
ในปัจจุบันประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และหลายๆประเทศรอบข้าง ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการสั่งพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา สหรัฐได้พิมพ์ธนบัตรไปมากกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือสูงขึ้นกว่า 20% ที่ผ่านมา
ก่อนที่เราจะพูดถึง Hyperinflation (ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง) เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า inflation (เงินเฟ้อ) กันก่อน
Inflation หรือ เงินเฟ้อคืออะไร
เงินเฟ้อ คือ การที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เมื่อเราต้องจ่ายเงินจำนวนมากขึ้นแต่กลับได้สินค้าและบริการเท่าเดิม หรือน้อยลง ในอีกอย่างคือ เงินที่เราครอบครองนั้นมีมูลค่าลดลง
โดยที่ราคาสินค้าและบริการต่างๆนี้ จะมีเครื่องมือที่เราใช้วัดค่าที่เรียกว่า ดัชนีผู้บริโภค หรือ Consumer Index (CPI) ที่สามารถใช้ระดับเงินเฟ้อ และระดับรายได้และความสามารถในการจ่ายต่อหัวของประชาชนอีกด้วย ซึ่งตัว CPI เหล่านี้จะถูกควบคุมและ (แทรกแซง)โดยรัฐบาลนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตัวเลขพวกนี้มีแนวโน้มที่จะต่ำลงกว่าความเป็นจริงมาก!
เงินเฟ้อไม่ได้แย่เสมอไป
แน่นอนว่าถ้าเรานึกถึงสถานการณ์ที่อยู่ๆเงินที่เรามีอยู่ก็ไม่มีค่าไปซะอย่างนั้น ไหนจะสินค้ามีราคาแพงขึ้น ฟังดูแย่ใช่ไหมล่ะ แต่จริงๆแล้ว inflation ก็ไม่ได้แย่ไปซะทั้งหมด แต่กลับกัน Deflation (เงินฝืด) ต่างหากที่แย่มากกว่า
Deflation หรือเงินฝืด คือการที่ราคาสินค้าตกต่ำลงอย่างมาก หรืออย่างที่เราเข้าใจกัน สินค้าราคาถูกลงนั่นเอง คนทั่วไปอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ที่ความจริงแล้วการเกิดภาวะเงินฝืด กลับส่งกระทบหลายอย่างมากกว่า
ยิ่งเงินฝืดคนยิ่งใช้จ่ายลดน้อย
เงินฝืดทำให้ภาวะหนี้หนักขึ้น หรืออีกมุมคือ หนี้มีมูลค่ามากขึ้น
นอกจากนี้การเติบโตของระบบเศรษฐกิจยังหดตัวลง
เงินฝืด = การจ้างงาน = รายได้
ดังนั้นสมมติว่าในปัจจุบันมีในประเทศมีภาวะเงินฝืดเกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดผลกระทบตามมามีดังนี้ รายได้ขั้นต่ำของประชาชนจะมีมูลค่าลดน้อยเรื่อยๆ หรือ ธุรกิจ ห้างร้านต่างๆจะเกิดการจ้างงานลดน้อยลงกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลให้เกิดเกิดอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินที่รายได้ที่เราได้รับต้องน้อยลง การที่สินค้าและบริการต่ำลงก็ไม่ได้ดีเสมอไปในความเป็นจริงนั้น การที่มีระดับเงินเฟ้อในปริมาณที่เหมาะสมกลับเป็นตัวที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโต และเกิดกำลังการซื้อขายหมุนเวียนมากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลให้หลายๆประเทศ รวมถึงธนาคารกลางเองกลับส่งเสริมอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-3 % ต่อปี
มีต่อ
📍📍📍
ตอนถัดไปเราจะมาพูดถึง
เรื่องการกระตุ้นเงินเฟ้อของภาครัฐ และการพิมพ์ธนบัตรส่งผลอย่างไรบ้างกับเศรษฐกิจ
#inflation #deflation #hyperinflation #financialcrisis
โฆษณา