8 ม.ค. 2021 เวลา 15:35 • หนังสือ
📖 รีวิวหนังสือของ Netflix แบบละเอียดยิบ 📖 (Part 1/2)
"No Rules Rules"
Netflix and the Culture of Reinvention
โดย Reed Hastings / Erin Meyer
ตัวผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้หลังจากโดนป้ายยาจากคนดังหลายคนว่าดีมาก ๆ ต้องไม่พลาด ! เราก็แบบอะไรวะหนังสืออะไรมันจะดังขนาดนั้นเลยเหรอวะ เมื่อเดือนที่ผ่านผมเลยตามหาหนังสือเล่มนี้เลยด้วยความที่ว่ากลัวจะตามเค้าไม่ทันกัน ซึ่งจะบอกว่าหายากมากกกก หมดทุกที่ Sold Out ! กันไปเป็นแถบๆ สุดท้ายมาเจอในเว็บออนไลน์ คิดในใจเอาหละวะ ลองจัดมาอ่านดิ๊ ว่าจะเจ๋งสมคำล่ำรือตามที่ influencer หลายคนแนะนำต่อ ๆ กันรึเปล่า
1
No Rule Rules กฎที่ไม่มีกฎ เอ๊ะยังไง ?
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า แฮ่ ! หนังสือเล่มนี้ก็ตามหน้าปกเลยคือเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรบริษัท Netflix แหละ ที่สำคัญเขียนโดย Co-Founder & CEO (Reed Hastings) เองเลย แถมหนังสือเล่มนี้ได้รับการเสนอเข้าเป็น “Business Book of the year 2020” ของ Financial Times & McKinsey ด้วยนะครับ (แต่ไม่ได้รางวัลชนะเลิศนะครับ)
2
ต้องบอกเลยว่าเล่มนี้อ่านแล้วมันส์มากกก ไม่ได้เว่อร์ เหมาะกับสายฮาร์ดคอร์ เพราะสิ่งที่เค้าทำแต่ละอย่างนี่สุดโต่งมาก เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ยว่ามีบริษัทแบบนี้ด้วย ถามว่าบ้านเราจริง ๆ เพิ่งมาเคยได้ยินหรือรู้จัก Netflix กันมาก็ไม่กี่ปีมาเอง ทั้ง ๆ ที่บริษัทเค้าก่อตั้งมาน่าจะตั้งแต่ปี 1997 แล้วหละ แต่เค้าเริ่มเดินหน้ารุกตลาดต่างประเทศอย่างเต็มตัวเมื่อปี 2016 นี่เอง ซึ่ง Netflix เนี่ยเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทให้เช่าแผ่นหนังโดยการส่งไปรษณีย์ไปให้ลูกค้าแล้วให้ส่งกลับ แต่บริษัทขยับตัวไวมาทำเป็นธุรกิจ streaming จนมาถึงทุกวันนี้ที่ขยับไปเป็นผู้สร้างหนังและรายการต่างๆของตัวเองเลย ฟังแล้วว้าวมากครับ !
3
……………..
📌 Pay Top of Market
📌 No Vacation Policy
📌 No Travels and Expense Approval
📌 No Decision-Making Approval
2
ใครได้เห็น policy พวกนี้แล้วคงคิดว่า โอ้โห Netflix คงเป็นบริษัทในฝันเลย แต่จริง ๆ ถ้าอ่านลงไปในรายละเอียดก็อาจจะไม่คิดแบบนั้นนะเพราะก็มีหลายอย่างที่ต้องแลกมาด้วย policy พวกนี้
3
ถามว่าทำไม Netflix ถึงเป็นบริษัทที่ให้อิสระพนักงานขนาดนี้ ซึ่งถ้าอ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะรู้ซึ่งผู้เขียนใช้คำว่า "connecting the dots" ทีละบท ซึ่งในท้ายเล่มผู้เขียนได้สรุปให้อ่านว่าทำไม Netflix ถึงใช้ policy แบบนี้แล้วทุกองค์กรใช้แบบนี้เหมือนกันได้มั้ย คำตอบคือไม่ใช่นะครับ คีย์เวิร์ดอยู่ที่เพราะ Netflix เป็นองค์กรที่ต้องการความ “flexible” แล้วก็ “innovation” ที่สูงมาก ๆ ความเสี่ยงและความเสียหายของบริษัทในการที่ไม่มี innovation กับไม่มีการปรับตัวตามโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี่สูงมาก ๆ
แต่มันจะมีองค์กรอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ในธุรกิจที่ต้องการความแน่นอน ยอมให้เกิดความผิดพลาดไม่ได้ เช่น โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถใช้การบริหารงานหรือวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ได้นะ เค้าจะเรียกว่าการใช้ "Rules and process" มาควบคุมการทำงาน ไม่ได้ปล่อยตามสบายแบบที่กล่าวมาข้างต้น แม้แต่ภายใน Netflix เอง ทางผู้เขียนก็บอกไว้ว่าไม่ได้ใช้หลักการนี้ในทุกกิจกรรม เค้ายกตัวอย่างเช่น การส่งงบการเงินไปหาตลาดหลักทรัพย์ เค้าก็ยังต้องใช้วิธีการคอนโทรล มีการเช็ค การอนุมัติตามความเหมาะสมอยู่ดี
2
………………
ทำไม Netflix เค้าถึงสามารถให้อิสระกับพนักงานได้แบบมากโคตรๆ?
1
🎯 Build up talent density
2
ข้อแรกคือเค้าบอกเค้าจะจ้างคนที่เก่งและดีมาเท่านั้น ซึ่งอันนี้เป็นแก่นความเชื่อหลักของการสร้างองค์กรของเค้าเลย คือเค้าเชื่อว่าเราจ้างคนที่เก่งละดี (ในหนังสือใช้คำว่าtalent แล้วเค้าก็มีอธิบายว่าเก่งและดี ไม่ได้เป็นjerk ไม่รู้จะแปลไทยว่ายังไงดี) แล้วคนที่เก่งเนี่ยก็จะทำงานมีประสิทธิภาพ มี judgement ที่ดี มีการตัดสินใจที่ดี ใครที่ไม่เก่งรวมไปถึงคนที่ทำงานแบบปานกลางทั่ว ๆไปเนี่ยเค้าบอกให้เชิญออกไปเลย เพราะเค้ามองว่าการมีคนไม่เก่งอยู่ในทีมจะไปดึง performance ของทีมลงแล้วคนในทีมหรือหัวหน้าต้องเสียเวลา ใช้พลังมาช่วยดึง ช่วยฉุดคนคนนี้อย่างมหาศาล ซึ่งอันนี้ส่วนตัวค่อนข้างเห็นด้วยเลย
ถามว่าแล้วทำยังไงถึงจะได้คนที่เก่งเข้ามาหละ? เค้าเล่นง่ายเลยโดยใช้วิธีการจ่ายค่าตอบแทนสูงสุดในตลาด อันนี้คือโหดมากและน่าจะต้องรวยมากด้วย 555 แต่ถ้าอ่านดี ๆ จะทราบว่าคอนเซ็ปนี้เค้าไม่ได้ใช้กับทุกตำแหน่งงานนะ ใช้กับเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการความ creative และ innovation สูงๆ เท่านั้น
2
แล้วมันมีคนถามต่อว่า อ่าว แล้วจะรู้ได้ไงว่าค่าจ้างผมสูงสุด ทาง Netflix บอกเลยว่าถ้าคุณได้รับข้อเสนอจากที่ไหนสูงกว่าให้เอาหลักฐานมาบอกเค้าเลย เค้าจะปรับให้สูงสุดเสมอ ถ้ามี recruiter โทรมาหาให้คุยได้เลยแล้วอย่าลืมถามว่าให้เท่าไหร่ เพื่อเป็นข้อมูล อันนี้คือสุดๆ ถ้าเป็นเราๆท่านๆ มีrecruiter โทรมาคงต้องแอบคุยเบา ๆ ย่องๆ ออกไปคุยหน้าห้องน้ำใช่มั้ยครับ 555 (เคยทำ)
2
ซึ่งทาง Netflix มองว่าเป็นการแสดงออกความตรงไปตรงมากับความจริงใจมากกว่าที่คุยตรง ๆ ไม่ได้แอบไปคุยลับหลัง ซึ่งอันนี้แหละเป็นรากฐานของวัฒนธรรมองค์กรข้อต่อไปที่จะพูดถึง
1
…………………….
1
🎯 Increase candor
ข้อนี้คือการให้เป็นคนตรงไปตรงมาครับ มีอะไรให้บอกตรง ๆ มี feedback อะไรให้บอกกันซึ่งๆหน้าเลย ไม่ต้องแอบไปคุยกันข้างหลัง สามารถให้ feedback พนักงานหรือหัวหน้าได้ทุกระดับ ในตัวอย่างที่เค้ายกมีเรื่องของพนักงานคนนึงส่ง email ไป feedback ตัว CEO ด้วยอันนี้โหดมาก(ไม่รู้คนนั้นปัจจุบันยังทำงานดีอยู่รึเปล่า :P)
1
ทั้งนี้ทั้งนั้นเค้ามีหลักการ feedback ของเค้านะคือเค้าตั้งเป็น 4A คือ
Aim to assist, Actionable เป็นสองตัวแรกสำหรับผู้ให้ feedback ที่ต้องหวังดีจริง ๆที่จะช่วยและก็สามารถทำได้จริง ๆ สองตัวต่อสำหรับผู้รับคือ Appreciate, Accept or Discard คือคนรับต้องขอบคุณนะ จะทำหรือไม่ทำนี่แล้วแต่เราเลย แต่พอ Netflix ขยายธุรกิจไปรุกตลาดต่างประเทศจึงได้เพิ่ม A อีกตัวเป็น Adapt เนื่องจากว่าพอขยายออฟฟิสไปต่างประเทศแล้วเจอปัญหา cultural differences โดยเฉพาะทางฝั่งเอเชียเรานี่แหละแล้วก็ที่บราซิลที่เค้าพูดถึง
3
ทุกคนคงนึกออกใช่มั้ยครับว่าวัฒนธรรมการให้ feedback แบบตรง ๆนี่แทบไม่เห็นนะครับในฝั่งนี้ในบ้านเราก็เช่นกัน เค้าก็เลยบอกว่ามันต้องมีการปรับหน่อยนึงให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆด้วย ถ้าจะมาสุดโต่งเลยอาจจะอยู่ยากหละ
2
อีกอันที่เจ๋งเลยของเค้าคือ เค้าจะแชร์ข้อมูลตัวเลขทางการเงินทุกอย่างเลยกับพนักงาน โดยทุกวันศุกร์ทางบริษัทจะจัดประชุมใหญ่ที่เค้าเรียกว่า all hands meeting ที่จะมาเล่าเรื่องผลประกอบการ แนวทางของบริษัทให้พนักงานฟัง ซึ่งเค้าเชื่อว่าการที่พนักงานมีข้อมูลเยอะ รู้ทิศทางของบริษัททำให้ตัดสินใจได้ดีที่สุด อีกทั้งพนักงานยังมีความอินกับสถานะของบริษัท มี commitment แล้วก็มีความเชื่อใจ ทำให้ทำงานเต็มที่ ซึ่งการที่เค้าแชร์ข้อมูล ทิศทางของบริษัทให้พนักงานสม่ำเสมอนี่แหละทำให้เค้าปล่อยพนักงานได้ โดยเค้าใช้หลัก
“highly aligned, loosely coupled”
1
คือเป็นการที่ผู้บริหารให้แค่แนวทางไป คนทำงานก็ไปลุยกันเอง โดยเค้าจะไม่เข้ามาเจ้ากี้เจ้าการ ปล่อยให้พนักงานมีอิสระในการคิดและทำ ทีนี้ถามว่า แล้วอย่างงี้ไม่กลัวพนักงานเอาข้อมูลไปแชร์คนภายนอกเหรอ เค้าก็กลัวแหละ ก่อนการพรีเซ็นต์ข้อมูลพวกนี้ของบริษัทเค้าก็มีสไลด์หน้าแรกบอกเลยว่าห้ามแชร์ข้อมูลกับคนภายนอก ถ้าทำจะมีความผิดขั้นสุด แบบอารมณ์ขู่ไว้ก่อนเลย แต่เค้าทำจริง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเคยมีกรณีคนโดนไล่ออกเพราะแชร์ข้อมูลรึเปล่า แต่จริง ๆมันเนื่องจากข้อแรกไงที่เค้าบอกเค้าเลือกคนที่เก่งและดีมาแล้ว เค้าเชื่อว่าคนเหล่านี้จะไม่ทำอะไรที่ผิดแบบนี้ทำนองนั้น
หลังจากผ่านมาสองข้อแล้วจะเห็นได้ว่าดุเดือดมากครับสำหรับแนวทางการทำงานของเค้า เดี๋ยวโพสหน้าผมจะมาเล่าตอนจบของหนังสือเล่มนี้ครับว่า พอ Netflix มีสองข้อนี้แล้วขั้นต่อไปเค้าทำอย่างไร ให้อิสระพนักงานอย่างไรบ้าง #NoRulesRules #BookReview #สิงห์นักอ่าน
1
To Be Continued...
โฆษณา