8 ม.ค. 2021 เวลา 15:42 • สุขภาพ
✨ทำความเข้าใจ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
☀️ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) พบในผู้สูงอายุแบ่งเป็น 2 แบบ คืออาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20% ของประชากร พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว
 
😀เข้าใจผู้สูงอายุ   3 ด้าน
(ร่างกาย  จิตใจ สังคม)
🟨ด้านร่างกาย ร่างกายเสื่อมถอยลง เช่น การมองเห็น/การได้ยินแย่ลง  โรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง  โรคมะเร็ง  โรคหลอดเลือดสมอง เหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งสิ้น  นอกจากนี้ยังมีผลจากยาประจำที่ใช้อยู่ ทำให้ส่งผลต่อสภาวะจิตใจเช่นกัน
🟧ด้านจิตใจ มีการเปลี่ยนแปลง จากผู้นำ กลายเป็นผู้ตาม หน้าที่การงานหายไป  ทำให้หมดความมั่นใจ  ทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
🟥ด้านสังคม  สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานเป็นสถานะว่าง  มีช่องว่างทางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 
🎈4 อาการเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
🟦1.อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย  อาจเป็นการเบี่ยงเบนอารมณ์ไปโดยการแสดงออกด้วยการฉุนเฉียว  ทะเลาะกับสมาชิกในบ้าน
🟪2.นอนมากเกินไป  ทั้งกลางวันและกลางคืน  อาจแก้ด้วยการหากิจกรรมมาให้ทำตอนกลางวัน  โดยสังเกตจากพฤติกรรมของผู้สูงอายุ กิจกรรมที่เคยชอบทำสมัยก่อน จากนั้นหาอุปกรณ์มาให้  ช่วยให้การทำกิจกรรมสำเร็จมากขึ้น 
🟥3.พูดน้อยลง แยกตัว เบื่อกิจกรรมที่เคยชอบมากๆ   ต้องคอยสังเกตเป็นระยะๆ
🟧4.บ่นว่ามีอาการทางร่างกายหรือเจ็บป่วย บ่อยๆ  เป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคที่เป็นไปได้ก่อน
 
อย่าลืมใส่ใจผู้สูงอายุที่บ้านนะคะ
โฆษณา