8 ม.ค. 2021 เวลา 16:27 • สุขภาพ
คำถามเกี่ยวกับวัคซีนในประเทศไทย
1
วันก่อนเพิ่งได้มีโอกาสอ่านข่าวเกี่ยวกับวัคซีน (https://www.bbc.com/thai/55097716) และตามข่าวหลังจากนั้นมา ทำให้เกิดคำถามหลายๆ ประการ ไม่รู้ว่าคนอื่นจะสงสัยเหมือนผมบ้างไหม
1
ผมจึงขอถามคำถามเหล่านี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้สงสัยหรือกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์หรือการโกงแต่อย่างใด เพียงแค่อยากให้รัฐบาลออกมาชี้แจงทำให้เกิดความโปร่งใส จะได้ไม่ทำให้ประชาชนเกิดความเคลือบแคลง
3
1. ทำไมรัฐบาลไทยต้องเสียเงิน 6,049,723,117 บาท หรือตก 465 บาท ($15) ต่อคน ทั้งๆ ที่ AstraZeneca ระบุมาว่าราคาที่ตั้งไว้น่าจะอยู่ที่ $3-5 ต่อคน หรือสองโดส ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์ที่ซื้อวัคซีน 10 ล้านโดสโดยตรงจาก AstraZeneca ในราคาประมาณ $5 ต่อคนเท่านั้นเอง และ Serum Institute of India บริษัทผลิตวัคซีนใหญ่ที่สุดในอินเดีย ก็ได้ license ในการผลิต Covishield จาก AstraZeneca เช่นกัน และตกลงจะขายวัคซีนให้กับรัฐบาลอินเดีย 100 ล้านโดสแรก ในราคาโดสละ $2.74 หรือประมาณ $5 ต่อคน
10
2. ทำไมต้องมีค่าบริหารจัดการวัคซีนสูงถึงกว่า 2 พันล้านบาท
6
3. ทำไมตอนแรกที่บอกว่าจะซื้อวัคซีนจาก AstraZeneca และมีการเซ็นสัญญากับ AstraZeneca กลับกลายเป็นการรอวัคซีนที่จะผลิตจากบริษัท Siam Bioscience
3
4. สัญญาที่ทำ ทำกับใครกันแน่ และ Siam Bioscience เกี่ยวข้องอย่างไร เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตให้กับ AstraZeneca เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลไทย? Siam Bioscience เป็นคู่สัญญาด้วยหรือไม่
4
5. การทำสัญญาในลักษณะแบบนี้ทำโดยความเร่งด่วน และเป็นการจองซื้อวัคซีน อยากรู้ว่าทำสัญญากันในรูปแบบใด และต้องผ่านการอนุมัติแบบใด มีการจัดซื้อจัดจ้างตามรูปแบบธรรมเนียมปฏิบัติปกติหรือไม่ หากหน้าที่ของ Siam Bioscience เป็นมากกว่าเพียงแค่รับหน้าที่ผลิตวัคซีนให้กับ AstraZeneca เช่น ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย บริหารจัดการวัคซีนในประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องผูกขาดให้บริษัทที่ผลิตวัคซีนเลย ควรมีการเปิดประมูลให้มีความโปร่งใสหรือไม่
4
6. ทำไมรัฐบาลไม่ขอวัคซีนมาล่วงหน้า โดยไม่รอการผลิตของ Siam Bioscience
5
7. ทำไมรัฐบาลถึงเลือกตกลงกับ AstraZeneca และ Sinovac ก่อน และยังไม่ได้ตกลงกับ Pfizer หรือ Novavax ซึ่งมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคสูงกว่ามาก อะไรเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ
3
8. ทำไมรัฐบาลถึงตัดสินใจทำสัญญากับ Sinovac ทั้งๆ ที่ประสิทธิผลในการป้องกันโรคต่ำกว่า แถมอาการข้างเคียงก็ยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อย
4
9. ทำไมพอรัฐบาลกำลังตกลงกับ Sinovac ในการจัดหาวัคซีนมาเพิ่ม จู่ๆ ก็มีการประกาศการซื้อหุ้นของบริษัท Sinovac โดยบริษัทไทยแห่งหนึ่งแทบจะทันที
1
10. พอโรงพยาบาลเริ่มมีการจัดหาวัคซีนเอง อาหารและยาก็เตรียมเล่นงานทันที ด้วยข้อหา ผิดกฎหมายเข้าข่ายโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ทั้งๆ ที่วัคซีนที่นำมาประกาศให้จองนั้น ผ่านการทดลองไปถึง Phase 3 แถมได้รับการรับรองจาก FDA ของประเทศอื่นแล้ว ซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะรัฐบาลเองก็โฆษณาทั่วไปหมดแล้วว่า จะมีวัคซีนสองตัว ทั้งๆ ที่ยังไม่มีวัคซีนอยู่ในมือ และ อย. เองก็ยังไม่ได้อนุมัติวัคซีนทั้งสองแต่อย่างใด
3
11. ตรงนี้ก็จะสะท้อนความน่าสนใจว่า อาหารและยา จะเอาอะไรมาเป็นมาตรฐานในการอนุมัติวัคซีน หากอาศัยเพียงผลการทดลอง และผลตอบรับหลังการฉีดของชาติอื่น ก็อาจจะควรต้องอนุมัติวัคซีนทุกตัว ไม่ใช่เพียงตัวที่ทางรัฐจัดหาให้
2
12. เนื่องจากวัคซีนไม่ได้มีพอสำหรับทุกคน แถมมีวัคซีนจากหลากหลายที่อีกด้วย ซึ่งมีประสิทธิผล และมีผลข้างเคียงไม่เหมือนกัน ใครจะได้รับวัคซีน และมีสิทธิที่จะเลือกวัคซีนที่จะได้รับหรือไม่ ส่วนคนที่อดได้รับสิทธิ จะได้วัคซีนเมื่อไหร่ และต้องเสียเงินเองหรือไม่
7
ผมเข้าใจดีว่า การจัดหาวัคซีนจำเป็นต้องรีบทำ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด แต่ยิ่งมีข้อยกเว้น ยิ่งต้องโปร่งใส เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกังขา ผมจึงอยากให้รัฐบาลแสดงความโปร่งใสในเรื่องดังกล่าวด้วยครับ
4
Vaccine ของ Pfizer
ที่มา:
โฆษณา