8 ม.ค. 2021 เวลา 19:58 • ไลฟ์สไตล์
เครื่องปลูกผักที่ผสานกับเทคโนโลยี IOT
covid แบบนี้. ถ้าจะหาผัก ออกไปก็ลำบาก กลัวโควิทติดผัก มากมายหลายเรื่อง
SHOW ME HOW ? คิดที่ทำเครื่องปลูกเลยละกัน เรื่องท้าทายในการ สร้างเครื่องปลูกผัก "magic farm" EASY TO GROW คือต้องทันสมัยและมีความเป็นไปได้ ในแบบที่ดีที่สุด เพราะอนาคต
เรื่องอาหารปลอดสารพิษเป็นเรื่องจริงจัง กว่าที่คิด เราเข้าสู่โลกใหม่
ที่คนออกจากบ้านน้อยลง ถึง 2ปี นั้นเราควรปลูกผักและฝึกทำกับข้าวกินเองดีกว่า
เราคิดจะใช้ระบบเทคโนโลยีเซนเซอร์ ควบคุมอุณภูมิ น้ำ แสงแดดดูการเติบโต ของมัน การปลูกผักการเกษตรการปลูกพืชก็เช่นกัน
ได้ ได้นำเทคโนโลยีต่างๆทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยมนุษย์ในยุคโควิท ลำบากน้อยกว่ามนุษย์ยุคก่อนมาก
ลงมือทำกันดีกว่า GROWS
เริ่มออกแบบ
สำหรับไม้ผลด้วย
หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าคำว่าการปลูกไฮโดโปนิกมันคืออะไร?  แล้วมันปลูก
ต้นไม้ยังไง? จะปลูกได้หรอ?  ปลูกแล้วดีกว่าปลูกบนดินยังไง?  ซึ่งแน่นอนว่าทาง
ผู้เขียนก็มีความสงสัยเหมือนกันว่าทำไมเราต้องปลูกผักด้วยวิธีการเช่นนี้
จากที่ได้ศึกษาและหาข้อมูลอยู่ช่วงหนึ่งจึงขอสรุปประโยชน์ของการปลูกดังนี้
. 1. ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เนื่องจากการปลูกแบบไฮโดโปนิกส์เป็นการปลูกแบบ
ใช้น้ำและสารอาหารเพียงเท่านั้นไม่จำเป็นต้องใช้ดิน ไม่ต้องพรวนดิน รดน้ำต้นไม้ ถอนวัชพืช แและอื่นๆอีกมากมาย สามารถปลูกทิ้งไว้ในน้ำได้เลยหรือเรียกว่า DEF
และรอให้โตอย่างเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

2. ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง เนื่องจากสามารถควบคุมให้แมลงไม่เข้ามากัดกินผักเราได้ ซึ่งถ้าหากเราปลูกในดินการที่เราจะทำแบบนั้นคงต้องตักดินขึ้นมาแล้วหุ้มพลาสติกแแขวนไว้

3. หมดปัญหาเรื่องดินร่วนเกิน ดินเหนียวเกิน ดินมีสภาพเป็นกรดหรือด่าง เพราะเราใช้น้ำและสามารถให้ออกซิเจนกับน้ำเพื่อไม่ให้ค่า  pH สูงหรือต่ำเกินไป
อย่างไรก็ตามการปลูกผักแบบไฮโดโปนิกก็มีผลเสียอยู่เหมือนกันคือ ผักที่ปลูกได้มีความหลากหลายส่วนใหญ่เป็นผักกินใบ แต่ที่นิยมปลูกมีเพียงผักสลัดเนื่องจากผักอื่นๆจำเป็นต้องใช้ปริมาณสารอาหารที่ค่อนข้างเยอะ และราคาขายถูก
ไม่คุ้มกับการลงทุน จึงออกแบบให้สามารถปลูกไม้ผลได้ด้วย
แค่อยากปลูกไว้กินเองทดลองหรือดูมันโตในบ้านปลูกทิ้งไว้ไม่ต้องดูแลรักษาให้วุ่นวาย ผู้เขียนจึงได้ทำการทดลองปลูกแบบง่ายๆ สามารถเข้าไปดูวิธีการปลูกแบบง่ายๆได้ที่ ง่ายจริงนะ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดสารพิษด้วยตัวเอง ติดตามกันต่อ
ถ้าจะสนุกมาก 20 ชนิดต้นไม้ใบและดอก ที่จะใช้ในการแสดงให้เห็นว่า มันไม่ยาก
ค่าไฟที่ต้องใช้
EASY TO GROW แบบร่าง
Aquaponics เป็นการผสมผสานระหว่างการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์กับการเลี้ยงปลา โดยเลี้ยงปลาในตู้ด้านล่างแล้วหมุนน้ำจากตู้ปลาซึ่งมีทั้งมูลปลา เศษอาหารที่ปลากิน คราบเมือก เต็มไปด้วยสารอาหารไปหล่อเลี้ยงพืชผักที่ปลูกอยู่ด้านบน มีปั้มน้ำจะทำหน้าที่หมุนเวียนระบบน้ำและเพิ่มออกซิเจนเพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำย่อยสลายมูล
ปลา และสารต่างๆ ให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ จากที่ให้สารอาหารกับผักด้วยปุ๋ย
น้ำก็ปรับเปลี่ยนเป็นให้อาหารจากมูลปลานั่นเอง
หากผสมกันน่าจะสวยมาก
พัฒนาแนวคิดให้ง่ายต่อการติดตั้งที่คอนโด
และเพิ่มออกซิเจนด้วยตู้ปลาด้านล่าง
ออกแบบให้สามารถปลูกไม้ผลได้ มากขึ้น
เน้นไม้ใบและไม้ดอก
คำณวนไฟให้ตรงกับพืชในการเติบโต
วางแผนระบบให้ชีวิตการปลูกผักเราง่ายขึ้น
ระบบที่ควรมี
ระบบไฟสำหรับปลูกผัก ไฟสีแดงสีน้ำเงินสำหรับสังเคราะห์แสง ตั้งเวลาได้
ระบบการวัดค่า EC เพือควบคุมค่าปุ๋ยที่พืชแต่ละชนิดต้องการ
ระบบพัดลมระบายอากาศ ช่วยกันเชื้อรา ช่วยให้อากาศกับพืช ตั้งเวลาได้
ระบบปั๊มน้ำช่วยไม่ให้น้ำเน่า และปุ๋ยตกตะกอน
อื่นๆเพิ่มเติม
เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ
เซนเซอร์วัดระดับน้ำ
1.ระบบไฟ
มาตราวัดเพื่อที่จะเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของแสงที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ ค่าทางวิทยาศาสตร์หลักๆที่สำคัญเหล่านั้นมีอยู่4ตัวด้วยกัน ได้แก่ PAR, PPF, PPFD และ DLI
PAR หรือ Photosynthetically Active Radiation ก็คือค่าของแสงในช่วง400-700nm เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าแสงในช่วง400-700nmนี่แหละคือช่วงแสงที่มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
PPF หรือ Photosynthetic Photon Flux (PPF) คือการวัดค่าแสงว่า แหล่งกำเนิดแสงนั้นๆสามารถผลิตค่าPARต่อวินาทีได้ปริมาณเท่าไหร่ มีหน่วยเป็น (μmol/second)
PPFD หรือ Photosynthetic Photon Flux Density คือค่าของแสงที่สำคัญที่สุดสำหรับการปลูกต้นไม้ครับ นั่นก็เพราะว่าเป็นค่าที่ได้ถูกนำมาประยุกต์แล้ว การวัดค่าPPFDคือการวัดว่าจริงๆแล้วพืชได้รับแสง(ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง)เท่าไหร่กันแน่ (มีหน่วยเป็น μmol/m2/s)
ค่า DLI หรือ Daily Light Integral คือค่าของแสงที่ต้นไม้ได้รับต่อวัน (มีหน่วยเป็น μmol/m2/d)
ความยาวของคลื่นแสงที่เรานำมาใช้คือ ประมาณ 430-460 nm (แสงสีน้ำเงิน) และ 630-660 nm (แสงสีแดง) เพราะ ความยาวของคลื่นแสงในช่วงนี้เหมาะสำหรับการสังเคราะห์แสงของต้นไม้มากที่สุด และยังช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้มากที่สุดอีกด้วย
o ประโยชน์ของแสงสีน้ำเงิน (ความยาวคลื่นแสงประมาณ 430-460 nm)
– เป็นช่วงความยาวคลื่นแสงที่ Chlorophyll a และ Chlorophyll b สามารถดูมซึมได้มากที่สุด
– เร่งการเจริญเติบโตของลำต้น ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง และลดปัญหาลำต้นยืด ผิดรูป
– กระตุ้นการผลิต Chlorophyll ทำให้ต้นไม้สามารถสังเคราะห์แสงได้มากยิ่งขึ้น
– ช่วยให้ใบไม้แข็งแรงและมีสีเขียวสด สวยงาม
o ประโยชน์ของแสงสีแดง (ความยาวคลื่นแสงประมาณ 630-660 nm)
– เป็นช่วงความยาวคลื่นแสงที่ Chlorophyll a และ Chlorophyll b ดูดซึมได้ดี
– เร่งดอก เร่งผล ช่วยบำรุงดอกและผลให้สมบูรณ์ และช่วยขยายขนาดของผลผลิต
– เร่งการเจริญเติบโตของราก และช่วยให้รากแข็งแรง
เลือกใช้หลอดไฟ LED เป็นแหล่งกำเนิดของแสง เนื่องจากให้ความร้อนน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประหยัดไฟมากกว่า และสามารถเลือกสีของแสงตามความเหมาะสมของต้นพืชได้
และจากการดูการทดลองเปรียบเทียบสีของไฟ พบว่า LED สีขาวมีประสิทธิภาพมากกว่า
2. ระบบวัดค่า EC และ pH เพื่อนำค่ามาประยุกต่อ
ค่า pH ในความหมายของการปลูกพืชไร้ดิน คือค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย (น้ำผสมธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืช) โดยค่า pH จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 1 - 14 โดยจะนับค่าที่ 7 เป็นกลาง กล่าวคือ หากวัดค่าได้ต่ำกว่า 7 แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นกรด หากวัดได้สูงกว่า 7 ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบส
สำหรับการปลูกพืชด้วยน้ำนั้นค่า pH มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช โดยธรรมชาติน้ำที่มีความเป็นกรดจะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายตัวได้ดี และพืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างสะดวก แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้ผสมธาตุอาหารพืชมีความเป็นเบสสูงจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้
ดังนั้น การปรับค่า pH ผู้ปลูกจะต้องปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ ด้วย โดยปกติค่า pH ที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 - 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารพืชจะอยู่ที่ 5.8 - 6.3
การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นจะมีการกำหนดค่า pH ของการปลูกพืชเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระยะเจริญเติบโต) อยู่ในช่วงวันที่ 1 - 28 กำหนดค่า pH อยู่ที่ 5.8 - 6.5
ระยะที่ 2 (ระยะสร้างผลผลิต) อยู่ในช่วงวันที่ 29 ขึ้นไป กำหนดค่า pH อยู่ที่ 6.5 - 7.0
ค่า EC คือ ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว ในการปลูกไฮโดรโพนิกส์หมายถึงปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในของเหลว โดยปกติน้ำบริสุทธิ์จะมีค่านำกระแสไฟฟ้าต่ำหรือมีค่าเป็นศูนย์ แต่เมื่อมีการเติมสารละลายต่างๆ ลงในในน้ำนั้นจะทำให้ค่าสารละลาย หรือค่านำกระแสไฟฟ้าในน้ำนั้นๆ สูงขึ้นด้วย
พืชแต่ละชนิดจะมีความต้านทานต่อค่า EC หรือ (ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช) ที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, อายุของพืช และสภาพแวดล้อมในการปลูกขณะนั้นด้วย หากเราใช้ค่า EC ไม่เหมาะสมกับพืช แล้วจะทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตไม่เป็นปกติ หรือขาดความสมบูรณ์ได้ ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่า EC คือ
1. ชนิดและสายพันธุ์พืช กล่าวคือ พืชต้องอาศัยการคายน้ำทางใบเพื่อให้เกิดแรงดันที่รากพืชเพื่อให้น้ำที่ผสมธาตุอาหารซึมผ่านจากรากไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้ หากค่า EC สูงกว่าค่ามาตราฐาน ของพืชชนิดนั้นๆ พืชจะไม่สามารถนำพาน้ำที่มีธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆของพืชได้ ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี และเกิดขาดธาตุอาหารต่างๆ ได้
2. อายุของพืช กล่าวคือ พืชในแต่ละช่วงอายุจะมี การใช้ธาตุอาหารไม่เท่ากัน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงของการเจริญเติบโต ดังนี้
2.1 ช่วงต้นเกล้า : ช่วงสัปดาห์แรกของการเจริญเติบโต เมื่อพืชงอกออกจากเมล็ดพืชจะใช้พลังงานและอาหารจากใบเลี้ยงเป็นหลัก ทำให้การกำหนดค่า EC ในช่วงสัปดาห์แรกนี้จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 50 % ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ต่อไป
2.2 ช่วงเจริญเติบโต : ช่วงสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป ช่วงนี้เป็นช่วงที่พืชต้องการใช้พลังงานและธาตุอาหารสูงมาก เพื่อใช้ในการสร้างส่วนต่างๆ ของใบ, ลำต้น, ดอก โดยจะใช้ธาตุอาหารประมาณ 80 - 100% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ
2.3 ช่วงขยายพันธุ์ : เป็นช่วงที่พืชผ่านการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่มาแล้วพืชได้ทำการสะสมอาหารและพลังงานมาไว้อย่างเต็มที่แล้ว พืชจะเริ่มใช้ธาตุอาหารใหม่น้อยลง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 - 70% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ
3. สภาพอากาศและฤดูกาล หากช่วงเวลาดังกล่าวมีปัจจัยที่ทำให้พืชต้องคายน้ำสูง เช่น แสงแดดจัด, อากาศร้อน พืชจำเป็นต้องมีการดูดซึมน้ำมากขึ้นเพื่อนำมาชดเชยน้ำที่สูญเสียไป หากมีการใช้ค่า EC ที่สูง ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว พืชจะนำน้ำไปชดเชยน้ำที่เสียไปได้ลำบาก เราจึงเห็นพืชเหี่ยวเฉาในช่วงเวลาที่อากาศร้อนและแสงแดดจัด ดังนั้นช่วงเวลาที่อากาศร้อนมากๆ และแสงแดดแรงเกินไปเราต้องปรับลดค่า EC ลง พร้อมกับลดกิจกรรมการคายน้ำของพืชลง เช่น พรางแสง, เสปรย์น้ำ เพื่อลดอุณหภูมิลง
ค่ามาตราฐานสำหรับน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ จะต้องมีค่าเริ่มต้นก่อนใส่ปุ๋ยไม่เกิน 0.3 ms/cm หากค่าเกินจะทำให้มีข้อจำกัดในการใส่ธาตุอาหารพืช (ใส่ธาตุอาหารพืชได้น้อยลง) เพราะกังวลว่าค่า EC จะเกินกว่าที่พืชนั้นๆ จะรับได้ จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ น้ำที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรฯ ได้แก่ น้ำฝน, น้ำประปาส่วนภูมิภาคและประปานครหลวง ฯลฯ เนื่องจากมีค่า EC ต่ำและเป็นแหล่งน้ำที่ประหยัด ส่วนน้ำที่ไม่แนะนำมาใช้ในการปลูก เช่น น้ำบาดาล เนื่องจากส่วนใหญ่น้ำบาดาล จะมีค่า EC สูง แล้วยังมี แคลเซียมคาบอเนท (หินปูน) สาเหตุของความกระด้างในน้ำ ทำให้ปุ๋ยตกตะกอนได้ง่าย หากไม่สามารถหาน้ำได้จากแหล่งดังกล่าวจริงอาจจะต้องมีการบำบัด ด้วยวิธีกรองเพื่อลดค่าสารละลายในน้ำลงก่อนเพื่อให้มีค่า EC อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกพืชได้ โดยวิธีการกรองต้องใช้เครื่องกรองที่สามารถกรองสารละลายในน้ำได้ เช่น ระบบกรอง Reverse Osmosis (R.O.) หรือการกรองด้วยระบบกรอง Softener ด้วยสารกรอง Resin เป็นต้น
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกพืชในสารละลายที่มี ค่า EC สูง กับ การปลูกพืชในสารละลายที่มี ค่า EC ต่ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไปในทิศทางใด และให้ผลผลิตที่สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ต้องศึกษาค่ะ
โดยทั่วไปในระบบ Hydroponics การวัดความเข้มข้นของสารละลายในถังสารละลาย จะวัดเป็นค่า EC ( Electrical Conductivity ) โดยมีหน่วยเป็น mS/cm ซึ่งค่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 1 - 4 mS/cm การตอบสนองของผลผลิต ต่อค่า EC คือ เมื่อค่า EC ต่ำ ผลผลิตก็จะต่ำ และเมื่อเพิ่มค่า EC ถึงระดับหนึ่ง จะได้ค่าผลผลิตสูงสุด และเมื่อเพิ่มค่า EC ต่อไป ผลผลิตจะไม่เพิ่ม หลังจากนั้น ถ้าเพิ่มค่า EC ต่อไปอีก ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นโจทย์ของพวกเราคือ การหาค่า EC ที่เหมาะสมกับพืชทที่เราปลูกให้ได้ค่ะ
ค่า EC ในที่นี้ หมายถึง ค่า EC บริเวณรากพืชนะคะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจาก ค่า EC ของสารละลายในถัง หรือที่เตรียมไว้
เมื่อเราเลี้ยงที่ค่า EC ต่ำ ( < 1.0 mS/cm ) จะทำให้ผลผลิตที่ได้ อ่อนนุ่ม ซึ่งจะดีในการปลูกผักสลัด ทำให้ผักมีรสชาดอร่อย ไม่ขม แต่ถ้าในมะเขือเทศ และพืชผักชนิดอื่นที่เก็บผลสด คุณภาพของผลจะไม่ดี เนื่องจากผลอ่อนนุ่มเกินไป และรสชาติจะไม่ดีด้วย นอกจากนี้จะทำให้อายุหลังเก็บเกี่ยวทั้งผัก และทั้งไม้ดอก ไม้ประดับสั้น แต่เมื่อเพิ่มค่า EC ให้สูงขึ้น จะช่วยให้พืชมีความแข็งแรงมากขึ้น มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เพิ่มน้ำหนักใบ ผลและดอก ทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น เช่น มะเขือเทศ จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น ปริมาณธาตุอาหาร และกรดในผลเพิ่มขึ้น และมีอายุหลังเก็บเกี่ยวนานขึ้น แต่ถ้าค่า EC สูงมากเกินไป จะทำให้ผักสลัดมีรสขมได้
การปลูกพืชที่มี ค่า EC สูงๆ จะดูแลยากกว่า การปลูกใน EC ที่ต่ำค่ะ เพราะการปลูกใน EC สูงๆ อาจทำให้มะเขือเทศ เกิดอาการผลเน่าที่ปลาย ( Blossom – end rot ) ส่วนผักสลัด อาจเกิดอาการยอดไหม้ ( Tip burn ) ได้
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกพืชในสารละลายที่มี ค่า EC สูง กับ การปลูกพืชในสารละลายที่มี ค่า EC ต่ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไปในทิศทางใด และให้ผลผลิตที่สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ต้องศึกษาค่ะ
โดยทั่วไปในระบบ Hydroponics การวัดความเข้มข้นของสารละลายในถังสารละลาย จะวัดเป็นค่า EC ( Electrical Conductivity ) โดยมีหน่วยเป็น mS/cm ซึ่งค่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 1 - 4 mS/cm การตอบสนองของผลผลิต ต่อค่า EC คือ เมื่อค่า EC ต่ำ ผลผลิตก็จะต่ำ และเมื่อเพิ่มค่า EC ถึงระดับหนึ่ง จะได้ค่าผลผลิตสูงสุด และเมื่อเพิ่มค่า EC ต่อไป ผลผลิตจะไม่เพิ่ม หลังจากนั้น ถ้าเพิ่มค่า EC ต่อไปอีก ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นโจทย์ของพวกเราคือ การหาค่า EC ที่เหมาะสมกับพืชทที่เราปลูกให้ได้ค่ะ
ค่า EC ในที่นี้ หมายถึง ค่า EC บริเวณรากพืชนะคะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจาก ค่า EC ของสารละลายในถัง หรือที่เตรียมไว้
เมื่อเราเลี้ยงที่ค่า EC ต่ำ ( < 1.0 mS/cm ) จะทำให้ผลผลิตที่ได้ อ่อนนุ่ม ซึ่งจะดีในการปลูกผักสลัด ทำให้ผักมีรสชาดอร่อย ไม่ขม แต่ถ้าในมะเขือเทศ และพืชผักชนิดอื่นที่เก็บผลสด คุณภาพของผลจะไม่ดี เนื่องจากผลอ่อนนุ่มเกินไป และรสชาติจะไม่ดีด้วย นอกจากนี้จะทำให้อายุหลังเก็บเกี่ยวทั้งผัก และทั้งไม้ดอก ไม้ประดับสั้น แต่เมื่อเพิ่มค่า EC ให้สูงขึ้น จะช่วยให้พืชมีความแข็งแรงมากขึ้น มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เพิ่มน้ำหนักใบ ผลและดอก ทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น เช่น มะเขือเทศ จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น ปริมาณธาตุอาหาร และกรดในผลเพิ่มขึ้น และมีอายุหลังเก็บเกี่ยวนานขึ้น แต่ถ้าค่า EC สูงมากเกินไป จะทำให้ผักสลัดมีรสขมได้
การปลูกพืชที่มี ค่า EC สูงๆ จะดูแลยากกว่า การปลูกใน EC ที่ต่ำค่ะ เพราะการปลูกใน EC สูงๆ อาจทำให้มะเขือเทศ เกิดอาการผลเน่าที่ปลาย ( Blossom – end rot ) ส่วนผักสลัด อาจเกิดอาการยอดไหม้ ( Tip burn ) ได้
 
EC sensor เซ็นเซอร์วัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ arduino
สรุปรายละเอียดจาการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา
เพิ่มเติมแอพให้น่าสนใจและสนุกมากขึ้น
มันยากตรงนี้ละ
ขึ้นต้นแบบราคาถูกก่อน เพื่อทดสอบก่อนพัฒนาให้สวยงามขึ้น
ระบบต่างๆในการผัก
เราแค่เอาเมล็ดใส เฝ้ารอ เราจะได้ผักที่ปลอดสารพิษมากินถึง 64 ต้น
กว่าจะได้ผักจานนี้ไม่ง่ายนะครับแต่คุ้มที่ลงมือทำ
โฆษณา