9 ม.ค. 2021 เวลา 02:23 • อสังหาริมทรัพย์
รูปแบบการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีพ.ศ.2564 ของผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายคงไม่แตกต่างจากปีพ.ศ.2563 มากนัก
 
และยังเป็นอีกปีที่ผู้ประกอบการบางรายยังต้องอยู่ในช่วงของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในตลาด
 
โดยที่ผ่านมามีการปรับตัวที่เห็นได้ชัดเจนในตลาดที่อยู่อาศัย คือ
 
 
1. การเน้นไปที่กำลังซื้อคนไทย ไม่ใช่เพราะว่าชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ได้นั้น แต่เพราะกำลังซื้อคนไทยเป็นกำลังซื้อที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้จริง
 
2. การเน้นไปที่กลุ่มของผู้ซื้อที่เป็นกำลังซื้อจริง ไม่ใช่กลุ่มของนักลงทุน เพราะผู้ประกอบการต้องการเงินจากการขาย
 
3. การเน้นไปที่โครงการบ้านจัดสรรหรือการระบายคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์เพราะจะได้เงินสดที่ค่อนข้างเร็วกว่าการเปิดขายโครงการใหม่
 
4. การเลือกทำเลในการพัฒนาโครงการที่แตกต่างจากในอดีต โดยผู้ประกอบการเลือกทำเลที่มีศักยภาพในตอนที่เริ่มเปิดขายหรือผู้ซื้อสามารถมองเห็นได้เลยว่าทำเลนี้มีศักยภาพ ณ วันที่ไปเยี่ยมชมสำนักงานขาย
 
5. ผู้ประกอบการเน้นที่โครงการที่อยู่อาศัยในราคาไม่สูงมาก คอนโดมิเนียมก็ไม่เกิน 3.5 ล้านบาทต่อยูนิต บ้านเดี่ยวก็อยู่ในช่วง 5 – 7 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์จะไม่เกิน 4 ล้านบาทต่อยูนิต
 
6. ลดการสร้างภาระหนี้สินทุกรูปแบบรวมไปถึงเร่งปิดบัญชีหนี้สินให้หมดโดยเร็ว
 
7. เลี่ยงการพัฒนาโครงการในทำเลหรือรูปแบบโครงการที่ไม่มีความชำนาญ
 
8. ลดขนาดองค์กรลงให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นที่สุด เพื่อลดภาระของตนเองแบบทันที รวมไปถึงเป็นเร่งให้พนักงานแสดงออกถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น
 
9. การเร่งการปิดการขายโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ยังคงเป็น 1 ในช่องทางการสร้างรายได้ที่สำคัญต่อเนื่องในปีพ.ศ.2564
10. การหาผู้ร่วมทุนหรือเปิดโอกาสตนเองในการพัฒนาโครงการใหม่กับเจ้าของที่ดินหรือพันธมิตรทางธุรกิจเป็นอีก 1 ทางเลือกที่ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจ
 
10 ข้อข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ปะกอบการหลายรายำมาแล้วในปีพ.ศ.2563 แต่บางรายจะเริ่มทำในปีพ.ศ.2564
 
ซึ่งดูแล้วเป็น 10 ข้อปฏิบัติที่ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมหรือตัดสินใจรวดเร็วจะเริ่มทันทีที่มีโอกาส หรือเริ่มทันทีเมื่อพร้อมที่จะทำ
 
แม้ว่าหลายข้อที่กล่าวไปแล้วอาจสร้างความลำบากหรือความไม่พอใจให้กับพนั
โฆษณา