Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE MONEY COACH
•
ติดตาม
9 ม.ค. 2021 เวลา 03:02
DAY 8: ถ้าออม 10% เป็นเรื่องยาก ให้ลองแบบนี้
2
“ออมขั้นต่ำ 10% ของรายได้” สูตรนี้ดูเหมือนจะเป็นอัตราการออมที่ใครๆ น่าจะรู้กันอยู่แล้ว ว่ากันว่าถ้าออมได้ในระดับนี้ และลงทุนต่อยอดเป็น ก็น่าจะพอมีเงินสะสมทำให้มั่งคั่งในช่วงบั้นปลายได้
3
โดยส่วนตัวเวลาบรรยาย ผมก็มักจะพูดอยู่เสมอว่า “อย่างแย่ๆ คนเราควรออมได้ 10% และถ้าจะได้เร็ว ให้ดี ค่อยๆ เพิ่มไปให้ถึงระดับ 20% รับประกันแบบนี้ รวยแน่!”
1
แต่ก็นั่นแหละครับ โลกเรา “หลักการ” กับ “ความเป็นจริง” มักจะเป็นอะไรที่ไม่ตรงกัน
ในชีวิตจริงน้องๆ หลายคนเรียนจบออกมาพร้อมกับภาระในชีวิต บางคนยังเรียนไม่ทันจบ พ่อแม่ก็คอยพูดกรอกหูตลอดว่า เงินเดือนที่จะได้ในอนาคตต้องแบ่งมาช่วยอะไรที่บ้านบ้าง ค่าบ้าน ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ส่งน้องเรียน ฯลฯ
ทีนี้เลยเป็นปัญหา ... เพราะหลักการดี แต่ทำไม่ได้ สุดท้ายมันทำร้ายให้คนที่พยายาม คนที่ตั้งใจใฝ่ดี รู้สึกท้อ
รู้ว่าคนเราควรเก็บ 10% เป็นอย่างน้อย แต่พอเอารายได้บวกลบกันแล้ว มันเหลือสะสมแบบนั้นไม่ได้จริงๆ ไอ้ครั้นจะให้ตัด 10% ไปก่อนใช้จ่าย แบบที่ใครเขาทำกัน อันนี้ก็รับประกันได้ว่าปลายเดือนได้หยิบยืมแน่ (ชีวิตแบบนี้ผมเคยเป็น)
2
หลังๆ เวลาผมสอนเรื่องเงิน ผมเลยปรับคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นเป็นว่า “เริ่มออมเท่าไหร่ก็ได้ ให้เริ่มเท่าที่รู้สึกดีต่อใจ”
11
จะออม 2% 3% หรือ 5% เท่าไหร่ก็ได้ ที่ทำให้รู้สึกว่าเราได้เหลืออะไรไว้ให้ตัวเองบ้าง หรืออย่างน้อยก็ยังมีเก็บกับเขาบ้าง
2
สมัยแก้หนี้ของครอบครัว ผมทำทั้งงานประจำ งานพิเศษ ทำเช้าถึงเย็น ทำทุกเสาร์อาทิตย์ ตอนอายุ 25 ปี ผมหาเงินได้เดือนนึงหลายหมื่นบาท แล้วก็จ่ายหนี้ไปหมด ไม่เหลือเก็บเลย เหลือบมองหลักการ 10% ดูแล้วไม่น่าจะเก็บได้ เลยไม่เก็บแม่งเลย สุดท้ายการไม่ออมเลย ส่งผลต่อความรู้สึกตัวเองพอสมควร เหมือนเราใช้ชีวิตทั้งเดือนหาเงินให้คนทั้งโลก ยกเว้นตัวเอง (การเก็บออมเขาถึงอีกอย่างว่า “การจ่ายให้ตัวเอง”)
13
หลังจากนั้นเลยเปลี่ยน ไม่รู้แหละ เงินรายได้มากน้อยแค่ไหน จะต้องเก็บ 3% ของเงินที่หาได้ ส่วนต่างชำระหนี้ที่เหลือ ค่อยไปคิดต่อยอดเอาว่าจะหาที่ไหนมา
5
สำหรับบางคน หากเงินออม 2-3% ก็ยังเป็นเงินที่เยอะอยู่ เราอาจจะกำหนดเป็นตัวเลข 200, 300 หรือ 500 เท่าไหร่ก็ได้ครับ หรือใครหาเงินได้รายวัน ลองหักให้ตัวเองวันละ 10-20 บาทก็ได้ ตัวเลขไหนทำให้เรารู้สึกดีว่า “เออ เว้ย ก็มีเงินเก็บกับเค้าเหมือนกันนะ เอาตัวเลขนั่นแหละ” ขออย่างเดียวทำต่อเนื่อง ห้ามหยุด ห้ามเลิก ทำให้สม่ำเสมอ อันนี้คือหัวใจสำคัญที่สุด
14
(แหม่ ... ตัวเลขก็ให้กำหนดเองแล้ว เอาเท่าที่ดีต่อใจแล้ว สู้หน่อยสิวะ!)
7
เงินเก็บน้อย แต่ถ้าเก็บสม่ำเสมอได้ มันอาจยังไม่ได้ทำให้เรารวยหรอกครับ แต่มันจะเริ่มขยับเขยื้อนสิ่งที่มองไม่เห็น นั่นก็คือ ความรู้สึก “ภูมิใจ” และ “เชื่อมั่น” ในตัวเอง
13
คนเราออมเงินได้ถึงหลักพัน สมองก็จะเชื่อและมั่นใจต่อว่าหลักหมื่นเป็นไปได้
พอออมหลักหมื่นได้ มันก็กล้าคิดกล้ามองไปที่หลักแสน
พอออมหลักแสนได้ คราวนี้มันไม่หยุดแล้ว มองต่อไปหลักล้านแน่นอน
12
ทั้งหมดเริ่มต้นที่ความรู้สึก “ดีต่อใจ” ที่เราสร้างให้ตัวเองเป็นประจำทุกวัน ทุกเดือน เพราะความสม่ำเสมอนี่แหละ คือ ตัวช่วยสะสม “ความภูมิใจ” และ “ความเชื่อมั่น” ที่จะทำในสิ่งที่ใหญ่ขึ้น และนำเราไปสู่ความสำเร็จทางการเงินได้
1
2 ปีที่ผ่าน ผมทำโครงการแก้หนี้ที่ชื่อว่า “อภินิหารความรู้การเงิน” เป็นโครงการให้คำแนะนำในการแก้หนี้ ที่ไม่มีเงินเข้าไปให้กู้ แต่เน้นเรื่องของการให้ความรู้และคำปรึกษาทางการเงิน
ตั้งแต่ครั้งแรกๆ ที่เจอและให้คำปรึกษากัน ผมจะบังคับทุกคนให้หักออมเดือนละ 500 บาท คิดเป็น 3.33% ของรายได้ (ไม่ถึงเกณฑ์ออม 10%) ตอนบังคับหักเงิน ทุกคนก็จะงงกันนิดหน่อยว่าฉันเป็นหนี้นะ จะให้ออมอีกเหรอ แต่พอเห็นว่า 500 บาทต่อเดือน เป็นตัวเลขที่พอไหวเมื่อเทียบกับรายได้ ก็เลยยอม ระหว่างนั้นก็ให้คำปรึกษาแก้หนี้กันไป
โครงการนี้ใช้เวลา 1 ปี หลังจบโครงการหลายคนมีภาระหนี้ลดลง สภาพคล่องดีขึ้น เปิดสมุดบัญชีเงินฝากขึ้นมา (ตอนนั้นเราให้เลือกตัดฝากประจำ กับกองทุนตราสารหนี้) มีเงินกันคนละ 6 พันกว่าบาท ตอนเห็นสมุดบัญชีทุกคนดูตกใจ แต่ก็ดีใจกันมาก
3
พอได้คุยหลายคนบอกว่า ทำงานมานานไม่เคยมีเงินออม เพราะเชื่อว่าตัวเองคงออมไม่ได้ หรือถ้าออมได้ก็คงน้อย ไม่น่าจะเรียกว่าเงินออม เลยไม่ได้เริ่มสักที ไม่คิดว่าที่หักไปแต่ละเดือนจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีแบบนี้
2
นี่แหละ! พลังทวีของความรู้สึก ดีต่อใจ!
เริ่มเท่าที่เริ่มได้ เริ่มเท่าที่ทำไหว ให้รู้สึกว่าอย่างน้อยเราก็ได้ทำ แต่ทำต่อเนื่องไม่หยุด ไม่เลิก สุดท้ายผลลัพธ์ก็น่าชื่นใจ และส่งพลังให้เราเดินหน้าต่อ ทำต่อได้
7
นอกจากนี้ บางคนอาจเร่งสปีดให้กับเงินออมก้อนเล็กๆ ของตัวเอง ให้มันสร้างโอกาสให้เรามากขึ้นได้ (ก็ไหนๆ ออมได้น้อยแล้ว ก็ต้องอาศัยตัวช่วยทำให้มันโตเร็วขึ้นสิ”
ลูกศิษย์ผมหลายคนเลือกนำเงินออม 200-300 บาทต่อเดือน ไปซื้อสลากออมทรัพย์ (ประมาณว่าทุนน้อย แต่โชคเรามาเต็ม 555) ในขณะที่บางคน ก็เลือกบวกไปกับกองทุนรวมหุ้น (ทั้งไทยและต่างประเทศ) หวังให้เงินน้อยเติบโตไปกับบริษัทชั้นนำ ก็ในเมื่อเงินเราน้อย เราก็ต้องหาคนช่วยทำให้เงินเราโตเร็วขึ้น และสมัยนี้กองทุนรวมหุ้นบางกองทุน เริ่มต้นลงทุนแค่ 500 บาท ในขณะที่บางกองทุนนั้น “ไม่มีขั้นต่ำ” จะลงทุนเท่าไหร่ก็ได้
1
พอถามว่าลงทุนกองทุนหุ้น ไม่กลัวความเสี่ยงเหรอ บางจังหวะหุ้นลง เราก็ขาดทุนได้นะ หลายคนตอบกลับมาว่า “การไม่คิดทำอะไรให้ชีวิตดีขึ้น ไอ้แบบนั้นต่างหาก คือ ชีิวิตที่ขาดทุน” ... คมชะมัด!
14
ในโลกการเงินส่วนบุคคล ประกอบด้วยคำสำคัญสองคำ นั่นคือคำว่า “สภาพคล่อง” และ “ความมั่งคั่ง” โดยมีสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่ง คือ “เงินออม”
ใครที่เริ่มเก็บเริ่มออมและเกิดเป็นการสะสม อันนี้ก็พอจะบอกได้ว่า คนๆนั้นเป็นคนที่มีสภาพคล่องที่ดี และเมื่อมีสภาพคล่องที่ดี มีการสะสมต่อเนื่อง สภาพคล่องส่วนล้น (แม้จะล้นแค่เดือนละ 200 บาท) ก็จะสะสม สั่งสม กลายเป็น “ความมั่งคั่ง” ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของปลายสะพาน
4
คนเรามีสิทธิเลือกที่จะอยู่บนโลกฝั่งไหนก็ได้ ถ้าคุณเลือกอยู่ฝั่งสภาพคล่อง คุณก็จะอยู่ในโลกที่การเงินหมุนวนไปไม่รู้จบ และใช้ชีวิตอยู่กับคำถาม “เงินไม่พอทำยังไงดีี” “เงินไม่พอใช้ หยิบยืมที่ไหนดี” หรือคุณอยากจะเลือกอยู่ฝั่งความมั่งคั่ง ที่มีอีกชุดคำถามในหัว นั่นคือ “มีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง ฉันควรจะเอาไปทำอะไรดี”
2
คุณสามารถเปลี่ยนโลกการเงินที่คุณอยู่ได้ง่ายๆ ด้วยการเริ่ม “ออม” ครับ (สร้างสะพานย้ายจากโลกสภาพคล่องไปโลกความมั่งคั่ง) ออมเท่าไหร่ก็ได้ เท่าที่รู้สึกดีต่อใจก่อน จากนั้นค่อยๆ ขยับไป 10% ตามเกณฑ์ พอทำได้ ก็ค่อยๆ ขยับเพิ่มขึ้นไปอีกเพื่อการสะสมความมั่งคั่ง
2
“เริ่มเหลือ เริ่มเหลือ” ดีต่อใจเท่าไรเริ่มเลยตั้งแต่วันนี้นะครับ
เลิกอ้างได้แล้ว ว่าเงินน้อย
2
โค้ชหนุ่ม
08-01-2021
1
181 บันทึก
330
15
207
181
330
15
207
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย