9 ม.ค. 2021 เวลา 09:27 • หนังสือ
ผมเพิ่งอ่านหนังสือเรื่องนี้จบครับ
"จดโน้ตแบบนี้ สมองชอบจัง"
ของคุณ โคนิชิ โทชิยูกิ
บางคนอาจจะสงสัยว่า แค่การจดโน้ต มันจะน่าอ่านตรงไหน
ลองไปดูกัน
ทำไมถึงต้องอ่านหนังสือเรื่องการจดโน้ต
จริงๆหากมองการจดโน้ต เป็นกระบวนการทำงานอะไรสักอย่างหนึ่ง
หากเรามีหลักการ มีระเบียบแบบแผนในการทำ สามารถทำให้ง่าย ทำซ้ำได้ และมีประสิทธิผล มันก็คือกระบวนการที่ดีแล้วครับ
เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ก็คือแบบด้านบนน่ะแหล่ะครับ
หลักการที่หนังสือได้บอกไว้คือ การจดโน้ตจะแบ่งหน้าที่หลักๆได้ 3 อย่าง
1 จดโน้ตเพื่อสรุปข้อมูล
2 จดโน้ตเพื่อหาไอเดีย
และ 3 จดโน้ตเพื่อนำเสนอ
สามารถหาเทคนิคต่างๆของแต่ละข้อ ได้จากในหนังสือครับ
แต่สิ่งที่ผมชอบคือ ข้อที่ 2 ครับ จดโน้ตเพื่อหาไอเดีย เพราะคิดว่าสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานต่างๆได้
ไอเดียต่างๆจะเกิดขึ้นได้ดี เริ่มจากการจด หรือตั้งคำถามก่อนครับ และยังช่วยดึงดูดให้คนอ่านสนใจด้วย
เช่น "ทำไมถึงต้องอ่านเรื่องการจดโน้ต"
แฮะๆ ผมลองเอาคำถามมาเป็นชื่อของบทความนี้ครับ
เผื่อจะมีคนสนใจ กดไลค์เยอะๆ
วิธีอื่นๆของการคิดไอเดียเช่น การคิดในทางตรงข้าม
คุณโคนิชิบอกว่า หากคิดอะไรไม่ออก ให้ลองคิดตรงกันข้ามดู เช่น คิดไม่ออกว่าลูกค้าชอบอะไร ให้ลองคิดว่า ลูกค้าจะไม่ชอบอะไร
ไอเดียจะพรั่งพรูออกมาเอง
หรือการจับคู่กันของ 2 สิ่ง
ยกตัวอย่างเช่น จดสิ่งที่ร้านค้าควรจะมี กับสิ่งที่ลูกค้าชอบในการเข้าร้าน
แล้วลองมาจับคู่กัน เราจะได้ไอเดียแปลกๆใหม่ๆ ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ออกมาเยอะมาก
แหล่มครับ
รายละเอียดลองหาอ่านดูนะครับ
หลังจากอ่านจบแล้ว รู้สึกไฟกำลังมา
อยากเริ่มจดโน้ตขึ้นมาทันที
เสียดายที่ผมคิดว่าการพกดินสอ ปากกา และสมุดไปกับตัวทุกที่ ดูไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่
ถ้าไม่สะดวก ไม่สนุก คงจะทำแปรบเดียว ไม่ยั่งยืน
ขณะที่กำลังพิจารณาหาทางออกอยู่นั่น ก็เหลือบไปเห็นโฆษณา Samsung Galaxy S21
สามารถใช้ปากกาได้ จดโน้ตลื่นไหลดั่งใช้สมุด
ฮะ... แฮ่ม!!!!!
ขอตัวไปนำเสนอคุณแฟนพิจารณาก่อนนะครับ
สวัสดีครับ
1
โฆษณา