9 ม.ค. 2021 เวลา 13:40 • สุขภาพ
“ไม่ตั้งโรงพยาบาลสนาม ก็ยิ่งควบคุมการระบาดไม่ได้” เหตุผลที่เราต้องเข้าใจใหม่ ให้ตรงกัน
1
ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดง สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด
7
หนึ่งในสาเหตุที่ตัวเลขสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คือ การไม่มี “โรงพยาบาลสนาม” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ สถานการณ์ที่ “สมุทรสาคร”
ถ้าติดตามข่าวกันอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ระดมกำลังกันลงไปที่สมุทรสาครตั้งแต่ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ... แต่ตัวเลขยังสูงขึ้น
เราอาจคิดว่า นั่นเป็นเพราะใช้มาตรการตรวจเชิงรุก แต่ก็เป็นความจริงเพียงส่วนเดียว
อีกด้านหนึ่ง เราจะเห็นว่าทางจังหวัดสมุทรสาคร พยายามอย่างมากที่จะตั้งโรงพยาบาลขึ้นให้ได้ในพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะติดเชื้อ แต่ถูกคัดค้านไปหมด กว่าจะตั้งที่สนามกีฬากลางจังหวัดได้ เวลาก็ผ่านไปเนิ่นนานแล้ว
1
ในขณะเดียวกับที่ยังตั้งโรงพยาบาลสนามไม่ได้ มีภาพจากสื่อมวลชนที่แสดงให้เห็นว่า แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านถูกตรวจเชิงรุก ผ่านการตรวจโควิด-19 แล้วก็จริง แต่ทั้งคนที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ต้องกลับไปอาศัยอยู่รวมกันในที่พักอาศัยส่วนตัว ... คนที่ยังไม่ติด ก็ติดเพิ่ม ตัวเลขก็เพิ่มอย่างรวดเร็ว
3
นั่นเป็นเพราะ แม้จะตรวจเชิงรุกแล้ว รู้แล้วว่าใครติด ใครยังไม่ติด แต่ก็ไม่มีสถานที่ที่จะแยกคนที่ติดเชื้อแล้ว ให้ออกมาจากคนที่ยังไม่ติด ทำได้เพียงบอกว่า “ให้คุณไปกักตัวเอง”
4
แต่ด้วยสภาพความเป็นอยู่ รายได้ สถานที่พักของพี่น้องแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ถามหน่อยเถอะว่า ถึงเขาอยากจะกักตัวเองแบบเว้นระยะห่าง อยากช่วย อยากจะให้ความร่วมมือ แต่ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพของที่พักที่เขามีอยู่ ... “พวกเขาจะไปอยู่ที่ไหน”
1
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องมี “โรงพยาบาลสนาม”
ในกรณีของภัยพิบัติทางโรคคระบาดอย่าง โควิด-19 “โรงพยาบาลสนาม” ไม่ใช่เป็นสถานที่รักษาตัวของผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ใช่แบบที่เราเห็นในหนังสงครามที่มีพยาบาลสาวสวยมาพันแผลให้ทหารที่บาดเจ็บจากสนามรบ .... แต่ในสถานการณ์โรคระบาด มันมีความสำตัญกว่านั้น
โรงพยาบาลสนาม ในสถานการณ์โควิด-19 ถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่กักตัวพักฟื้นของ “กลุ่มที่ถูกตรวจพบแล้วว่าติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการ” เพื่อแยกพวกเขาออกมาจากคนที่ยังไม่ติดเชื้อ ทำให้ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะสามารถหายจากโรคได้เองด้วยการพักฟื้นในระยะเวลาหนึ่ง แต่หากไม่มีโรงพยาบาลสนาม พวกเขาจะกลายเป็นพาหะทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งยากต่อการควบคุมการระบาด
3
ดังนั้น “โรงพยาบาลสนาม” จึงไม่ใช่แค่ที่พักฟื้น แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับต้นๆในการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด จึงจำเป็นมาก ที่จะต้องมี “เตียง” ในโรงพยาบาลสนามให้เพียงพอกับจำนวนผู้ติดเชื้อ เพราะต้องแยกพวกเขาออกมา
1
จึงต้องเร่งเข้าใจกันว่า “ยิ่งตั้งโรงพยาบาลสนามได้ช้า ก็ยิ่งแยกผู้ป่วยออกมาได้ช้า ตัวเลขก็ยิ่งสูงขึ้น ความต้องการใช้โรงพยาบาลสนามก็ยิ่งมากขึ้น มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ เป็นงูกินหางกันไปไม่รู้จบ และสุดท้ายก็จะควบคุมการระบาดไม่ได้”
แน่นอนว่า คนในพื้นที่กลัวว่า พื้นที่ตั้งโรงพยาบาลสนาม จะกลายเป็นแหล่งรวมของผู้ติดเชื้อ จะทำให้ชุมชนใกล้เคียงติดเชื้อไปด้วยจึงต่อต้าน ผมเองเข้าใจความรู้สึกนี้ดี เพราะช่วงการระบาดรอบแรก ผมได้ไปร่วมทำงานเพื่อตั้งศูนย์กักแยกให้กับ PUI (Patient Under Investigation) หรือ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัวเอง ใช้สถานที่แถวๆ จ.ปทุมธานี ก็มีหน้าที่ไปอธิบายกับชาวบ้านเช่นกัน ซึ่งก็อธิบายยากมาก เพราะเขาก็มีสิทธิที่จะกลัว แม้เราต่างก็รู้กันว่า เชื้อโควิด-19 ไม่สามารถแพร่กระจายไปในอากาศก็ตาม
1
หรือแม้แต่ช่วงหนึ่ง ผมไปดูพื้นที่เพื่อทำศูนย์กักแยกแบบเดียวกันที่พัทยา เจ้าหน้าที่ที่นั่นบอกว่า พวกเขาเลิกงานออกไปข้างนอกก็ถูกรังเกียจ ทั้งที่ตามระบบแล้ว เจ้าหน้าที่ทุกคน จะไม่มีทางสัมผัสหรือเข้าไปใกล้ชิดคนที่กักตัวอยู่เลยก็ตาม
2
แต่... คนข้างนอกเขาไม่ได้รับรู้เช่นนั้น
4
เขาไม่รู้ว่า.... เจ้าหน้าที่ไม่เคยเจอตัวผู้ป่วยเลย ผู้ป่วยมาถึงที่โรงพยาบาลสนามต้องเดินไปที่พักเอง ติดต่อคุยกันทางโทรศัพท์หรือทางกล้องวงจรปิดเท่านั้น อาหารก็จะถูกนำไปวางไว้ด้านนอก ให้ผู้ป่วยออกมารับไปเอง ล้างจาน ซักผ้าเอง เปลี่ยนเสื้อผ้าเฉพาะจากที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น โอกาสที่จะต้องเข้าไปใกล้ชิดผู้ป่วย มีเพียงกรณีที่ผู้ป่วยอาการทรุดหนัก จึงจะส่งทีมแพทย์พยาบาลฉุกเฉินเข้าไปเพื่อนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลจริงๆเท่านั้น ซึ่งทุกคนจะเข้าไปด้วยชุด PPE เต็มรูปแบบ
เมื่อชุมชนไม่รู้แบบนี้ ว่าที่จริงมันปลอดภัยมาก ... ปลอดภัยกว่าอยู่ข้างนอกซะอีก ก็เลยมาเขียนบอกให้รู้โดยทั่วกัน
ที่สำคัญคือ ยิ่งในพื้นที่ไหนมีโรงพยาบาลสนาม กลับจะยิ่งดี เพราะเมื่อมีคนในชุมชนติดเชื้อ ก็จะสามารถคัดแยกออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีสถานที่รองรับอยู่แล้ว คนอื่นๆในชุมชน ก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้น เพราะผู้ติดเชื้อถูกแยกออกไปแล้ว แถมได้รับการดูแลอย่างดี
เรามาทำความเข้าใจ “โรงพยาบาลสนาม” ร่วมกันใหม่เถอะครับ
1
#มารชรา #โควิด19 #covid19
โฆษณา