Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
storyคนอยากเล่า
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2021 เวลา 10:01 • สิ่งแวดล้อม
👇มาดูกันว่าทำไมฝรั่งไม่กินหนังปลาแชลมอน !!! 1 > รู้หรือไม่ฝรั่งไม่กินหนังปลาแซลมอน มันจึงกลายเป็นหนังปลาทอดกรอบแล้วกินกับก๋วยเตี๋ยวในเมืองไทย แต่หนังปลาไม่ได้มีค่าแค่นั้น ตอนนี้ฝรั่งรู้แล้วจึงเอามาทำพลาสติกทางเลือกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
2 > ลูซี่ ฮิวจ์ ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ในสหราชอาณาจักร คิดค้นพลาสติกหนังปลามาตั้งแต่ตอนยังเป็นนักศึกษา มันเริ่มต้นจากการที่เธอไปเยี่ยมโรงงานแปรรูปปลาแล้วเห็นหนังปลาเหลือทิ้งจำนวนมหาศาล
3 > ลูซี่บอกว่า เมื่อจับหนังปลาที่ถูกทิ้งมากมายเธอก็รู้ว่ามันมีศักยภาพ คุณสมบัติของมันแข็งแกร่ง ยืดหยุ่นและเหนียวจนเนื้อแตกได้ยาก แต่ถ้าไม่นำมาใช้ประโยชน์ของพวกนี้จะถูกทิ้งไป
4 > ลูซี่ใช้เวลาหลายเดือนในการทดลองกับเศษหนังปลาในครัวของเธอเอง ทำการทดลองมากกว่า 100 ครั้งเพื่อค้นหาสารยึดเกาะและกระบวนการที่สามารถจับโปรตีนในหนังและเกล็ดปลาเข้าด้วยกัน
5 > เธอล้มเหลวหลายครั้ง จนกระทั่งพบสารยึดเกาะในที่สุดมันคือสาหร่ายชนิดหนึ่งที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นนั่นเอง และเมื่อมันทำให้โปรตีนหนังปลาเกาะตัวแล้วมันแข็งแกร่งเหมือนพลาสติก แต่ย่อยสลายในเวลาแค่ 4 - 6 สัปดาห์
6 > พลาสติกจากหนังปลาถูกตั้งชื่อว่า MarinaTex ไม่ใช่แค่ย่อยสลายได้เร็วมากเท่านั้น แต่ยังสามารถกินได้ด้วย! (เพราะมันทำจากวัสดุออร์แกนิกทั้งหมด) เป้าหมายก็คือนำมาแทนที่พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะอายุมันสั้นมากนั่นเอง
7 > เมื่อสัมผัส MarinaTex แล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนพลาสติก แต่มันคล้ายคลึงกันแค่นั้น เพราะพลาสติกจากหนังปลามันแข็งแกร่งกว่า ปลอดภัยกว่า และยั่งยืนกว่ามาก มีรายงานบางแห่งบอกว่า มันแกร่งกว่าถุงพลาสติกทั่วไปซะอีก
8 > การผลิตพลาสติกหนังปลายังใช้เทคโนโลยีค่อนข้างต่ำและไม่ต้องใช้พลังงานมาก กระบวนการผลิตทั้งหมดใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศา เมื่อใช้เสร็จแล้วไม่เหลือของที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม
9 > นอกจากนี้ การใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมการประมงจึงช่วยปิดวงจรขยะเหลือทิ้งได้ด้วยทำให้มันเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (ที่นำของเหลือใช้มาผลิตต่อไปเรื่อยๆ เป็นวัฏจักร) ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
10 > ลูซี่ ฮิวจ์ เล่าถึงแรงบันดาลใจว่าเกิดขึ้นหลังจากเธอได้ยินสถิติที่น่ากลัว เช่น ที่บอกว่าภายในปี 2050 จะมีพลาสติกในมหาสมุทรมากกว่าน้ำหนักปลา
11 > โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งเราอาจจะใช้มันแค่ในเวลาเพียง 10 หรือ 15 วินาที (จำพวกที่ใช้ห่ออาหาร) แล้วก็ทิ้งมันไป พลาสติกหนังปลาก็จะใช้ห่อหุ้มอาหารในเวลาสั้นเช่นกัน แต่มันจะสลายเร็วมากหลังจากนั้น
12 > ลูซี่บอกว่า พลาสติกเป็นวัสดุที่น่าทึ่ง แต่คนที่ใช้พลาสติกสุรุ่ยสุร่ายมากเกินไป พลาสติกยังถูกออกแบบมาเพื่อการใช้กับผลิตภัณฑ์จำเพาะเท่านั้นซึ่งบางครั้งถูกใช้เป็นเวลาแค่เศษเสี้ยวของอายุการที่อยู่ได้นานหลายสิบปี
13 > แต่จริงๆ แล้วลูซี่บอกว่า "การเดินทางของฉันไม่ได้เริ่มต้นด้วยปัญหาพลาสติก โดยเริ่มจากการคิดถึงอุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมทั่วโลกผลิตของเสีย 50 ล้านตันต่อปี ฉันเชื่อว่าขยะมีค่าและทรัพยากรสามารถหมุนเวียนได้"
14 > และเมื่อเธอได้สัมผัสกับหนังปลาและเกล็ดปลาเหลือทิ้ง เธอก็ตระหนักว่าธรรมชาติสามารถมอบสิ่งต่างๆ ให้มากมายจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แล้วทำไมเราถึงต้องผลิตวัสดุสังเคราะห์เป็นร้อยๆ ขึ้นมาใช้กัน
15 > ขั้นตอนต่อไปคือการหาเงินทุนการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตจำนวนมาก การพัฒนาแผนธุรกิจ การคุ้มครองวัสดุและกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้สามารถผลิตใช้ได้ทั่วโลกและมีความยั่งยืน
Cr.ขอบคุณข้อมูลค่ะ
อ้างอิงจาก
• "Inventor Creates ‘Plastic’ From Recycled Fish Skin". (2 January 2021). NowThis Earth.
• "MarinaTex". (2020). The James Dyson Foundation.
1 บันทึก
5
4
1
1
5
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย