Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
storyคนอยากเล่า
•
ติดตาม
17 ม.ค. 2021 เวลา 15:28 • สิ่งแวดล้อม
เพื่อนรู้กันหรือไม่ !!!! 👉👉ผีเสื้อ🦋สวยที่ไม่น่าเชื่อเลย......
ว่าจะชอบแต่ดอกไม้สวยๆๆอย่างเดียว ไม่จริงเลยจร้า 🦋จะมาชอบเกาะที่คน เช่นกัน จะเจาะดูดเลือด😵👇
# มีหลากหลายสายพันธ์ุ ไม่ใช่มีแต่บินเกาะแต่เกสรดอกไม้เท่านั้นๆๆ.,.,
แต่ตามชีวิตของผีเสื้อแล้วนั้นชอบเกาะกินตามฃากสัตว์
🦋ถ้าเกาะดอกไม้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้โซเดียมเพียงพอสำหรับผีเสื้อ
ดังนั้นพวกมันจึงติดใจคน
หากผีเสื้อเคยมาเยือนเราไม่ใช่เพราะมันชอบเราหรือเพราะเราดูเหมือนดอกไม้พิเศษ
จริงๆแล้วมันเป็นเพราะผีเสื้อถูกดึงดูดโดยกลิ่นเกลือในเหงื่อและเลือดของคุณและมันอยากจะกินคุณ แต่งวงของมันเล็กมากจนคุณไม่รู้สึกว่ามันดูดที่คุณ
🦋ผีเสื้อมักกินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผลไม้ที่เน่าเสียเลือดอุจจาระสัตว์และปัสสาวะบ้างเป็นบางครั้ง
ถามว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผีเสื้อทั้งหมดกี่ชนิด เป็นการยากอยู่เหมือนที่จะตอบแบบชัดเจน ถ้าคร่าวๆ ก็ประมาณ 1,300 ชนิด (ทั่วโลกมีประมาณ 19,000 ชนิด) ที่น้าว่าตอบยากก็เพราะยังไม่มีเอกสารใดๆ ที่รวบรวมชนิดของผีเสื้อเมืองไทยไว้อย่างสมบูรณ์พอที่จะเอามาอ้างอิงได้ ข้อมูลที่ใกล้เคียงก็คือ หนังสือ Butterflies of Thailand
" 🦋ผีเสื้อ "
ที่มา
http://www.th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD_(%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87)
ADVERTISEMENT
REPORT THIS AD
ชื่อทั่วไป : ผีเสื้อ
ชื่อสามัญ : butterfly
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Chaetodon trifasciatus
ผีเสื้อเป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก
ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี
ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด
รูปร่างลักษณะทั่วไปของผีเสื้อ
ผีเสื้อเป็นแมลงพวกหนึ่งแตกต่างจากพวกนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ตรงที่ไม่มีโครงกระดูกอยู่ภายใน ลำตัวประกอบด้วยวงแหวนหลายวงต่อกัน เชื่อมยึดด้วยเยื่อบางๆ เพื่อการเคลื่อนไหวได้สะดวก เปลือกนอกแข็งเป็นสารพวกไคทิน (chitin) ภายในเปลือกแข็งเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ลำตัวของผีเสื้อเป็นวงแหวนเชื่อมต่อกัน ๑๔ ปล้อง ปล้องแรกเป็นส่วนหัว (head) ปล้องที่ ๒, ๓ และ ๔ เป็นส่วนอก (thorax) และปล้องที่เหลือทั้งหมดเป็นส่วนท้อง (abdomen)
ส่วนหัวมีตารวม (compound eye) ใหญ่คู่หนึ่ง ตรง บริเวณด้านข้างประกอบด้วยเลนส์เล็กๆหลายพันอัน ต่างจากตาของคนเรา ที่มีเพียงเลนส์เดียว ตารวมรับภาพที่เคลื่อนที่ได้เร็ว เราจึงพบว่าผีเสื้อบินได้ว่องไว จับตัวได้ยาก บางทีอาจพบมีตาเดี่ยว (simple eye) ๒ ตา เชื่อกันว่า ใช้ในการรับรู้แสงว่า มืดหรือสว่าง
ที่มา
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=2&page=t7-2-infodetail02.html
หนวดมี ๑ คู่ อยู่ระหว่างตารวม เป็นอวัยวะรูปยาวเรียว คล้ายเส้นด้าย ต่อกันเป็นข้อๆ ทำหน้าที่รับความรู้สึกในการดมกลิ่น
ข้างใต้ของส่วนหัว มีงวง (proboscis) ใช้ดูดอาหารเหลวพวกน้ำหวานดอกไม้ และของเหลวอื่นๆ งวงจะม้วนเป็นวง คล้ายลานนาฬิกาเวลาไม่ได้ใช้ และจะคลายเหยียดออกเวลากินอาหาร งวงประกอบขึ้นด้วยหลอดรูปครึ่งวงกลม ๒ หลอด มาเกี่ยวกันไว้ทางด้านข้างด้วยขอเล็กๆ เรียงเป็นแถว สองข้างของงวงมีอวัยวะที่ม ๓ ข้อต่อ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนปากที่เหลืออยู่ เรียกว่า พัลพ์ (palp) ยื่นออกมา
ส่วนอกประกอบด้วยปล้องต่อกัน ๓ ปล้อง รอยต่อ ระหว่างปล้องมักไม่ค่อยชัดเจนนัก เนื่องจากมีเกล็ดสีปกคลุม อก แต่ละปล้องมีขาปล้องละคู่ ส่วนปีกคู่หน้าและปีกคู่หลัง ติดอยู่บนอกปล้องกลางและอกปล้องสุดท้าย
🦋🍀🍀🍀🍀🍀🍀🦋
ที่มา
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=2&page=t7-2-infodetail02.html
ปีกของผีเสื้อเป็นแผ่นเยื่อบางๆ ประกบกัน มีเส้นปีกเป็น โครงร่างให้คงรูปอยู่ได้ ปกติผีเสื้อส่วนใหญ่จะมีเส้นปีกใน ปีกคู่หน้า ๑๒ เส้น และในปีกคู่หลัง ๙ เส้น การจัดเรียงของ เส้นปีกเป็นลักษณะสำคัญในการแยกชนิดของผีเสื้อ พื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นปีกเรียกว่า ช่องปีก (space) เรียกชื่อตามเส้นปีก ที่พาดอยู่ตอนล่าง เช่น ช่องปีกที่อยู่ระหว่างเส้นปีกที่ ๓ กับ เส้นปีกที่ ๔ เรียกว่า ช่องปีกที่ ๓ เกล็ดสีเล็กๆ บนปีกเรียงตัวกันเป็นแถว ซ้อนกันแบบกระเบื้องมุงหลังคา นอกจากนี้ ยังมีเกล็ดพิเศษเรียกว่า แอนโดรโคเนีย (androconia) เกล็ด พิเศษนี้ตอนโคนต่อกับต่อมกลิ่น อาจอยู่กระจัดกระจายหรืออยู่เป็นกลุ่ม เรียกว่า แถบเพศ (brand) ทำหน้าที่กระตุ้นความต้องการทางเพศของตัวเมีย
ผีเสื้อบางพวกอาจมีจำนวนเส้นปีกน้อยกว่า หรือมากกว่า ๑๒ เส้น บางพวกเหลือเพียง ๑๐ เส้น เส้นปีกส่วนมากจะเริ่มจากโคนปีก หรือจากเซลล์ปีก เซลล์ปีกเป็นบริเวณที่ว่างรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณกลางปีก ค่อนไปทางด้านหน้า ถ้าปลายเซลล์มีเส้นปีกกั้นอยู่ เรียกว่า เซลล์ปีกปิด แต่ถ้าไม่มีเส้นปีกกั้นเรียกว่า เซลล์ปีกเปิด บางเส้นจะแตกสาขามาจากเส้นอื่น ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อบินเร็วมีเส้นปีกเป็นเส้นเดี่ยว ไม่มีการแตกสาขาเลย
🦋🌻🦋🌿🌼🌸🌺
ที่มา
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=2&page=t7-2-infodetail02.html
ขาของผีเสื้อเป็นข้อๆซึ่งแต่ละขาแบ่งออกได้เป็น ๕ ส่วน นับจากที่ติดกับลำตัว จะเป็นโคนขา (coxa) ข้อต่อโคนขา (trochanter) ต้นขา (femur) ปลายขา (tibia) และข้อเท้า (tarsus) มีเล็บเป็นจำนวนคู่ที่ปลายข้อเท้า
ผีเสื้อหลายวงศ์มีขาคู่หน้าเสื่อมไปมาก จนไม่มีส่วนของข้อเท้า เห็นเป็นกระจุกขนอยู่เป็นพู่ บางวงศ์จะพบลักษณะเช่นนี้ ในเพศผู้เท่านั้น ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหางติ่งมีกระจุกขนเล็กๆ อยู่ทางตอนในของปลายขา และผีเสื้อหนอนกะหล่ำมีเล็บถึง ๔ เล็บ แทนที่จะมีเพียง ๒ เล็บเหมือนผีเสื้ออื่นๆ ส่วนท้องต่อมาจากส่วนอก รูปร่างยาวเรียว ค่อนข้าง อ่อนกว่าส่วนอก ตอนปลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์นี้ มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด จึงเป็น ลักษณะสำคัญในการจำแนกผีเสื้อกลุ่มที่มีลักษณะภายนอกคล้าย กันมากๆ เช่น ผีเสื้อเณร (สกุล Euma)
สีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อ
ลวดลายและสีบนปีกผีเสื้อประกอบ ขึ้นด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงกันคล้ายกระเบื้องบนหลังคา สีของแต่ละเกล็ดจะเกิดจากเม็ดสีภายในเกล็ด หรือเกล็ดที่ไม่มีเม็ดสีภายใน แต่มีรูปร่างเป็นสันนูนสะท้อนแสงสีรุ้งออกมาได้
🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋
ที่มา
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=2&page=t7-2-infodetail09.html
เม็ดสีอาจสร้างได้จากสารเคมีในตัวแมลงเอง หรือจากสารเคมีที่แปลงรูปมาจากพืชอาหารของมัน สีเหลืองเรียกว่า เทอรีน (pterines) มาจากพวกกรดยูริก ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่าย พบในผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ สีแดง และสีส้มพบในพวกผีเสื้อขาหน้าพู่ สีแดงนี้จะค่อยๆ ซีดลง เมื่อถูกกับออกซิเจนในอากาศ ผีเสื้อพวกนี้เมื่อออกมาใหม่ๆ จึงมีสีสดกว่าพวกที่ออกมานานแล้ว แต่ถ้านำไปรมไอคลอรีน สีจะกลับคืนมา บางทีจะมีสีสดใสกว่าเดิม ส่วนสารฟลาโวน (flavone) ได้มาจากพืช สารนี้อยู่ในดอกไม้ ทำให้มีสีขาวจนถึงสีเหลือง พบในผีเสื้อสีตาล และผีเสื้อบินเร็วบางพวก สารนี้จะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองเข้ม เมื่อถูกกับแอมโมเนีย สารพวกเมลานิน (melanin) เป็นสารสีดำ พบในคนและสัตว์สีดำทั่วไป สีเขียวและสีม่วงฟ้า เป็นสีที่เกิดจากการสะท้อนแสงของเกล็ดสีบนปีก โดยแสงจะส่องผ่านเยื่อบางๆ หลายชั้น ที่ประกอบกันเป็นเกล็ด หรือสะท้อนจากเกล็ดที่เป็นสันยาวเหมือนสีรุ้ง ที่สะท้อนให้เห็นบนฟองสบู่
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตลมมรสุม จึงมีลักษณะของ อากาศในฤดูฝนกับฤดูร้อนแตกต่างกันมาก สภาพนี้มีผลต่อผีเสื้อหลายพวก ทำให้มีลักษณะและสีเป็นรูปร่างเฉพาะของแต่ละฤดู เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพป่าในฤดูนั้นๆ เช่น ในฤดูฝนจะมีสีสดใส และมีจุดดวงตากลม (ocellus) ข้างใต้ปีก และขอบปีกจะมนกลม ในหน้าแล้ง ลายและสีใต้ปีกจะไม่พบเป็นรูปดวงตากลม แต่มีลายกระเลอะๆ อย่างใบไม้แห้งแทน และปีกจะหักเป็นมุมยื่นแหลมออกมา ผีเสื้อเหล่านี้ เช่น ผีเสื้อตาล พุ่ม (Mycalesisspp.) และผีเสื้อแพนซี มยุรา (Precis almana)
สิ่งแปลกที่พบในพวกผีเสื้อ ก็คล้ายกับที่พบในพวกนกบางชนิด คือ มีสีสันของปีกในเพศหนึ่งแตกต่างจากอีกเพศหนึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนจัดเอาไว้เป็นคนละชนิด หรือคนละสกุล เช่น ผีเสื้อหนอนส้ม (Papilio polytes) ผีเสื้อปีกไข่เมียเลียน (Hypolimnas misippus) นอกจากนี้ ผีเสื้อบางชนิดยังมีลักษณะของเพศใดเพศหนึ่ง แตกต่างกันออกไปอีกหลายแบบ แต่ละแบบอาจมีสีสันแตกต่างกันออกไป จนคนทั่วไปไม่อาจเชื่อได้ว่า เป็นชนิดเดียวกัน พวกที่เพศเมียมีรูปร่างหลายแบบ เช่น ผีเสื้อหางติ่ง ผีเสื้อนางละเวง (Papilio memnon) ผีเสื้อหนอนมะพร้าว (Elymnias hypermnestra) ส่วนชนิดที่เพศผู้มีรูปร่าง หลายแบบได้แก่ ผีเสื้อบารอนฮอสพีลด์ (Euthalia monina)
🌿🦋🦋🌻🌼🌸🌺💮
ที่มา
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=2&page=t7-2-infodetail09.html
ผีเสื้อที่มีความผิดเพี้ยนจากแบบปกติบนสุด เป็นแบบจีแนนโดรมอร์ฟ แถวซ้ายเป็นแบบปกติ แถวขวาเป็นแบบผิดเพี้ยนโดยปกติผีเสื้อทุกตัวมีความแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน บางตัวอาจมีลักษณะ ลาย หรือสี
....แต่ในความจริงของชีวิตเราแล้ว.....มีสิ่งที่เป็นคู่กันเสมอ
ไม่ใช่ว่าเราจะพบและสำเร็จ...สมหวังทุกอย่าง
.... หลายสิ่งที่เราคิดว่าสวยงามที่เข้ามาในชีวิตเราก็เช่นกัน .... ^_^
#ขออภัยหากภาพไม่น่าดูสวยๆๆ
#ดึกแล้วลงได้🦋
#ขอบคุณข้อมูลค่ะ🙏
บันทึก
5
4
1
5
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย