Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Climate Change Talk
•
ติดตาม
15 ม.ค. 2021 เวลา 00:00 • สิ่งแวดล้อม
ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย จากรายงานฉบับล่าสุด
ประเทศไทยได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่สาม (The Third Biennial Update Report : BUR3) ไปยังสำนักเลขาธิการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
รายงานดังกล่าวนำเสนอข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปีล่าสุด พ.ศ. 2559
ข้อมูลจากปีล่าสุด ประเทศไทยปล่อยก๊าซฯ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2eq) และดูดกลับจากภาคป่าไม้ 91 Mt CO2eq #คิดเป็นการปล่อยก๊าซฯ สุทธิ 263 Mt CO2eq
“ภาคพลังงาน” มีการปล่อยก๊าซฯ มากเป็น #อันดับที่ 1 เช่นเดียวกับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คิดเป็น 254 Mt CO2eq หรือร้อยละ 71.65 ของปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยในประเทศไทย
“ภาคการเกษตร” มีการปล่อยก๊าซฯ รองจากภาคพลังงาน โดยเป็นการปล่อยมีเทนจากการทำนา การใช้ปุ๋ย การทำปศุสัตว์ คิดเป็น 52 Mt CO2eq หรือร้อยละ 14.72 ของปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยในประเทศไทย
ส่วนที่เหลือเป็นการปล่อยจาก “ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรม” และ “ภาคของเสีย” รวมกันคิดเป็น 48 Mt CO2eq
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ระหว่างปีที่เริ่มมีการรายงานเปรียบเทียบกับปีล่าสุด ประเทศไทยปล่อยก๊าซฯ เพิ่มขึ้น 107 Mt CO2eq ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในภาคพลังงานและภาคอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาคป่าไม้ของไทยยังคงมีบทบาทสำคัญในการดูดกลับก๊าซฯ โดยปริมาณการดูดกลับเพิ่มจาก 62 Mt CO2eq ในปี พ.ศ. 2543 ตัน เป็น 91 Mt CO2eq ในปี พ.ศ. 2559 นั่นหมายความว่าป่าไม้ของประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นกว่าในอดีต
นอกจากนี้ ในรายงานยังได้กล่าวถึงผลสำเร็จของประเทศไทยในการลดก๊าซฯ โดยความสมัครใจ (Nationally Appropriate Mitigation Action : NAMA) ของปี พ.ศ. 2461 โดยประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ร้อยละ 15.76 จากระดับการปล่อยปกติ (Business As Usual : BAU) สอดคล้องกับเป้าหมาย NAMA ของประเทศไทยที่จะลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงานและขนส่งร้อยละ 7-20 BAU ในปี พ.ศ. 2563
ท้ายที่สุด รายงานดังกล่าวยังได้ระบุถึง “ปัญหาและข้อจำกัด” ของประเทศในการลดก๊าซฯ ประกอบด้วย
- ข้อจำกัดในการลงทุนที่ยังไม่เพียงพอ
- ความลำบากในเข้าถึงทุน/แหล่งทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงต้องการการสนับสนุนทางการเงิน การเสริมสร้างขีดความสามารถ การเพิ่มการลงทุนทั้งจากภาครัฐ และเอกชน
ประเด็นที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ประเทศไทยยังขาดข้อมูลความเสี่ยงที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่
https://unfccc.int/BURs
#ClimateChangeTalk #ClimateChangeMitigation #ClimateAction #Adaptation #UNFCCC #ThailandBiennialUpdateReport #BUR3
บทความโดย CC Talk team
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย