12 ม.ค. 2021 เวลา 15:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Mission Possible ภารกิจลดโลกร้อน กับเครื่องดูดยักษ์กำจัด CO2
อ่านไม่ผิดนะครับวันนี้ "Innowayถีบ" จะพาทุกคนเป็นเยี่ยมชมโครงการของสตาร์ทอัพจากสวิสที่ชื่อ Climeworks ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีในการจับ CO2 จากอากาศที่กำลังก่อสร้างเครื่องดูดจับ CO2 ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสุดๆอีกด้วย เครื่องที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร จะช่วยลดโลกร้อนได้มากแค่ไหน ตามไปดูกันครับ
2
📌 เทคโนโลยีเครื่องดูด CO2 - Direct air capture
ว่าด้วยเรื่องโลกร้อน ปัญหาที่เริ่มมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกๆปี และเรารับรู้ได้จากสภาวะเเวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ซึ่งวิธีที่จัดการกับ CO2 ได้ง่ายที่สุดที่เรารู้จักกันก็คือการใช้ต้นไม้ในการดูดซับ แต่ปัญหาสำหรับวิธีนี้ก็คือจำเป็นต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมากในการปลูกต้นไม้ หรือถ้าจะใช้กระบวนการทางชีวภาพ (bioreactor) เช่นการเลี้ยงสาหร่าย ก็มีข้อจำกัดไม่ต้องกัน มีการประมาณว่าต้องใช้พื้นที่มากกว่า 4,000 ล้านไร่เพื่อที่จะควบคุมให้ปริมาณ CO2 อยู่ในช่วงที่กำหนดกันในกฏบัตรปารีส
2
Christoph Gebald และ Jan Wurzbacher วิศวกรชาวสวิสได้พัฒนากระบวนที่จะใช้ในการดูดซับ CO2 ออกจากอากาศโดยตรง ซึ่งกระบวนการทำงานก็เหมือนกับเครื่องฟอกอากาศที่ดูดอากาศเข้ามา แล้วให้อากาศวิ่งไหลผ่านตัวดูดจับที่ชอบ CO2 เสร็จแล้วจึงปล่อยอากาศที่สะอาดแล้วออกไป
2
เมื่อ CO2 ถูกดูดจับไว้จนเต็มตัวดูดซับ (adsorbent) - ให้เรานึกถึงซิลิกาเจลที่ไว้ดูดความชื้นตามซองขนมแบบนั้น เมื่อดูดจนเต็มเราก็สามารถนำความร้อนมาไล่ CO2 ที่เก็บไว้ออกมาแล้วนำไปใช้ประโยชน์กรืออาจจะทำการอัดลงไปในชั้นใต้ดินก็ได้
ซึ่งเทคโนโลยีของ Climeworks ถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบโมดูล่าห์ (เหมือนรูปด้านล่าง อยากให้จับได้มากน้อยเท่าไรก็เอามาต่อกัน) ทำให้ขยายขนาด (scale up) ได้สะดวกและการเลือกใช้ตัวดูดซับ (กลุ่มเอมีน) ที่ไม่ต้องการพลังงานสูงมากในการไล่ CO2 ออกมาเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการถัดไป ทำให้บริษัทได้รับเลือกให้นำเทคโนโลยีไปติดตั้งที่ Iceland ซึ่งจะเป็นโครงการกำจัด CO2 ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
1
กระบวนการทำงานของ DAC Cr: Climeworks
📌 การกำจัด CO2 แบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด
จากความมุ่งมั่นของผู้ก่อตั้งทั้งสอง climeworks ก็จับมือเป็นพันธมิตรกับสองบริษัทคือ Carbfix และ On Power ในการทำโครงการจับ CO2 ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ Iceland มีชื่อโครงการว่า Orca ซึ่งจะสามารถดึงเอา CO2 ออกไปจากอากาศได้ถึง 4,000,000 กิโลกรัมต่อปี
1
โดย Carbfix เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดเก็บ CO2 ลงใต้ดิน ซึ่งจะเป็นการเก็บแบบถาวร คืออัด CO2 ลงไปใต้ชั้นหินแล้วปล่อยให้ความร้อนและเเรงดันจากธรรมชาติจัดการให้ CO2 เปลี่ยนสภาพไปเป็นแร่ (mineralization) ในอนาคต ส่วน ON Power ก็เป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนใต้พิภพ (คือดึงความร้อนจากชั้นหินขึ้นมาใช้ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน)
1
Orca จึงเป็นการจับ CO2 ออกไปอย่างถาวร โดยไม่มีการปล่อย CO2 เกิดขึ้นในกระบวนการเลย (ซึ่งจุดนี้สำคัญมากครับ เพราะบางเทคโนโลยี ถึงจะจับ CO2 แต่มีการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำมันหรือถ่านหิน สุดท้ายก็ยังไม่สามารถนับว่าเป็นการกำจัด CO2 ที่สมบูรณ์แบบ)
3
ใขณะนี้โครงการได้เริ่มต้นก่อสร้างแล้วโดยมีกำหนดเสร็จราวๆกลางปี 2021 ซึ่งระบบการที่ออกแบบไว้เป็นแบบโมดูล่าห์ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
Greta Thunberg กับ Jan Wurzbacher ที่โรงงานของ Climeworks ที่เมือง Hinwil
📌 สู่ความฝันยิ่งใหญ่การเดินทางข้ามทวีปแบบไม่ปล่อย CO2
แน่นอนว่าการที่เราสามารถกำจัด CO2 ออกไปได้จะมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนหรือความคุมให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสตามที่ตกลงกันไว้ที่ปารีส
แต่การที่จะเก็บ CO2 ทั้งหมดลงไปใต้ดิน ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของผู้ก่อตั้งทั้งสอง เพราะรู้ดีว่า CO2 สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ได้หลากหลาย และหนึ่งในการใช้งานที่พวกเขามุ่งมั่นจะทำให้สำเร็จคือนำกลับไปทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน
1
พวกเขาจึงร่วมมือกับลุฟฮันซ่า (Lufhansa) และ สตาร์ทอัพที่ชื่อ Synhelion ในการพัฒนาเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือนี้ ทาง Climeworks จะป็นผู้ผลิต CO2 และใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่พัฒนาโดย Synhelion ใช้การผลิตเป็นเชื้อเพลิง
แม้โครงการนี้จะเพิ่งตั้งต้นแต่มีเป้าหมายที่ใหญ่ซึ่งจะช่วยทำให้การเดินทางข้ามทวีปโดยเครื่องบินเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2
4,000,000 กิโลกรัม CO2 ดูเหมือนจะมาก แต่ก็ยังห่างไกลจาก CO2 ที่เราปล่อยในแต่ละปี จึงสำคัญที่พวกเราต้องช่วยดันลงมือคนละนิดละหน่อย เพื่อให้โลกเราไม่ร้อนไปมากกว่านี้นะครับ
1
Lufthansa aims to fly with sunlight thanks to Swiss start-ups, https://www.startupticker.ch/en/news/may-2020/lufthansa-aims-to-fly-with-sunlight-thanks-to-swiss-start-ups, 18 May 2020
โฆษณา