11 ม.ค. 2021 เวลา 00:39 • สุขภาพ
จุดเปลี่ยนที่ยากจะตัดสินใจ
• ตามคัมภีร์คนเราจะเปลี่ยนสารเคมีในร่างกายอายุ ต่างๆดังนี้
- 8 16 24 32 48 56 64 72 80 88 96 สุดท้าย 112 ปี
1
• ตัวผมเองเริ่มป่วยโน้นนี่กวนใจตั้งแต่อายุ 56 ปี
• ตั้งแต่คุณพ่ออายุ 72 ร่างกายพ่อเริ่มเสื่อม
- ล้มบ่อย (แต่แผลแห้งเร็ง กระดูกหักก็ประสานเองเร็ว โรคประจำตัวไม่มีเลย ไม่มีเบาหวาน ความดันต้ำ หัวใจแข็งแรง)
- แต่ปัสสาวะเริ่มขัด ท้องเริ่มผูก (อาจจะมีปัญหาก่อนหน้านี้เรื่องท้องผูก หรือฉี่จัด เพียงแต่ไม่มีใครทราบเพราะพ่อไม่ได้บอก)
- อายุประมาณ 80 หรือก่อนแปดสิบนิดหน่อย ต่อมลูกหมากโตฉี่ไม่ออกเลย หลังรักษาด้วยทั้งยาฝรั่ง ยาไทยหายฉี่ได้ปกติไม่ได้ผ่าตัด หรือเจาะอะไรเลย (ผมบำรุงด้วยฟักทองและกระเทียม จนปัจจุบันถึงจะฉี่ช้าแต่ไม่เคยฉี่ไม่ออก)
- อายุ 84. ความจำเสื่อม (ผมฟื้นฟูด้วยไข่ลวก ปัจจุบันอายุ 92 ความจำยังปกติ)
- คุณพ่อเริ่มยอมกินยาสมุนไพรอายุ 78 ปี (กินๆ หยุดๆ ไม่กินต่อเนื่องเหมือนแม่)
- อายุ 91 ความดันสูง เดินได้ไม่เกิน 5 เมตรขาอ่อนหมดแรง
- อายุเกือบเก้าสิบเส้นเลือดตีบแสดงอาการชัดเจน ๑. เท้าดำ ๒. แขนเหน็บชา(อัดยาน้ำเหลืองยาฟอกเลือดจนขาขาวขึ้น) ๓. เพิ่งแขนยกไม่ขึ้นแต่มีแรงกำ (คุณพ่อเบื่อกินยาเยอะ จึงเลิกกินยาน้ำเหลือง ยาฟอกเลือดเอง)
- อายุ 92 ปีเปลี่ยนมากินยา รพ. 100% (หยุดยาสมุนไพร)
• คำโบราณกล่าวไว้ อายุ 90 ปีไข้ก็ตายไม่ไข้ก็ตาย
• ผมแอบกังวลใจ (ไม่อยากให้ซ้ำรอยแม่ เพราะผมให้แม่หยุดยาฟอกเลือด ผลตามมาลิ้นแข็งแม้ไม่มีเส้นตีบเพิ่ม จนคุณภาพชีวิตแม่เสียไป ต้องกินอาหารทางสายยาง)
- พ่อต้องกินยาแอสไพรินแก้เส้นตีบ(พ่อเพิ่งออกจากรพ. ปลายเดือนธันวาคม 2563)
- ยาแอสไพรินเทียบเท่าดอกคำฝอย (แสดงอาการข้างเคียงกันคลายกัน)
๑. นอนไม่หลับ
๒. จั๊มเลือดตามแขนขา
- ที่ต่างกัน ยาแอสไพรินกัดกระเพาะ จึงต้องกินยาเคลือบกระเพาะ (ปัญหาท้องผูกจะตามมา)
- แต่ดอกคำฝอยไม่กัดกระเพาะจึงไม่ต้องกินยาเคลือบกระเพาะ ท้องจึงไม่ผูก (แต่ธรรมชาติจะให้รวดเร็ว แน่นอนเหมือนสารเคมีคงไม่ได้ครับ)
3
- ท้องผูกปัญหาความดันโลหิตสวิงจะตามมา (รพ. จึงให้ยารักษาความดันมาแก้)
- ผมยังไม่ได้ดูยา ผมเดาว่า รพ. ให้ยาระบายด้วยเพราะถามน้องชาย บอกพ่อถ่ายทุกวัน (ยาระบายกินต่อเนื่อง ร่างกายพ่อจะติดยาไม่กินไม่ถ่าย)
๓. จุดนี้แหละที่ผมหนัก (เมื่อคืนผมตื่นตลอดคืน กังวลเรื่องการนอนของพ่อ สาเหตุที่พ่อนอนไม่หลับเกิดจากยาลดลิ่มเลือดนั้นแหละ) ผมจะแก้อย่างไรดี?
- ยาสลายลิ่มเลือดมีผลต่อสมองต่อการนอน จากที่คุณพ่อนอนง่าย พ่อนอนวันละหลายครั้ง รพ. เขาเถียงว่าไม่เกี่ยวกัน จะไม่เกี่ยวกันอย่างไร ตั้งแต่พ่อกินยาแอสไพรินก็นอนยากขึ้นเรื่อยๆ จะไม่กินก็ไม่ได้ด้วย (เรื่องนอนก็จำเป็นมากเช่นกัน พ่อจำเป็นต้องนอนมาก ร่างกายจึงแข็งแรงครับ)
• เดิมคุณพ่อนอนแบบนี้ครับ
- 20:00 -03:00
- 05:00-08:00 ตื่นมากินข้าวต้ม
- 10:00-12:30 กินอาหารรสเผ็ด(ผัดเผ็ด) กับเปรี้ยว(ถ้าท้องผูก)
- 14:00-17:30 กินอาหารรสเปรี้ยว(แกงส้ม)
- แล้วเข้ารอบ 20:00 นอน
1
• รพ. เขาแก้ปัญหานอนไม่หลับด้วยให้กิน “ยากล่อมประสาท” (ผลข้างเคียงเดินไม่ได้เสียการทรงตัวจะล้ม)
- ถ้าคุณไม่เดิน ขาก็ลีบ กลายเป็นนอนติดเตียง
- ผมต้องตัดสินแก้ไข ผมไม่อยากให้ประวัติซ้ำรอยแบบคุณแม่ครับ
• ผมเล่าให้ท่านฟัง ชี้จุดเปลี่ยนที่ลูกหลานต้องใส่ใจครับ เป็นเรื่องจริงประสบการณ์ตรงเพิ่งเกิด
- ผมวางแผนรักษาประมาณนี้
๑. ผมต้องเล่าให้พี่น้องฟังว่า ผมจะตัดสินอย่างไร ทำไมจึงเลือกตัดสินใจแบบนี้
๒. เพิ่มยาสมุนไพร เอาผลเลือดตัวชี้วัดว่าจะลดยา รพ. ตัวไหนลง (สังเกตอาการของพ่อ มุ่งเน้นการนอนกับการถ่ายเป็นสำคัญ)
๓. ปรับปรุงอาหารที่กินเพื่อแทนยา เสริมฤทธิ์ ลดการกินยาไม่ว่ายาแผนไหน
๔. ปัญหายากที่สุด คือ “คุณพ่อ” ผมจะคุยกับท่านอย่างไรท่านจึง ok
1
หมอบวร จันทร์โภคาไพบูลย์
ปล. เคล็ดลับไม่ป่วยง่ายๆ
๑ อ่านได้ใน www.blockdit.com/bowornvej
๒. เพจเพสบุ๊ค “บวรเวชสมุนไพรไทย”
โฆษณา