สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของเจ้างูตัวนึงที่เค้าค่อนข้างคล้ายกับงูสามัญประจำบ้าน(งูเขียวพระอินทร์) นั้นก็คืองูเขียวร่อน
พอพูดถึงร่อนๆ หนุ่มๆหลายคนคงนึดถึงโคโยตี้อะดี้... แต่เสียใจด้วยนะร่อนในที่นี้หมายถึงการร่อนตัวจากที่สูงลงมี่ต่ำ
งูเขียวร่อน หรือ Flying Snakes : Chrysopelea spp. หลายๆคนคงนึกภาพไม่ออกว่างูเขียวร่อนนั้นเป็นยังไง แล้วร่อนในชื่อได้มายังไง
เราจะมาทำความเข้าใจกับเจ้าเขียวร่อนกันว่าน้องเป็นยังไง
งูที่เราเรียกว่างูบินนั้นจะหมายถึงงูในสกุล Chrysopelea จัดเป็นงูพิษอ่อน ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ มีสมาชิกที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการทั้งหมด 5 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบถึง 3 ชนิดด้วยกัน ก็จะมีเจ้าเขียวพระอินทร์ ดอกหมากแดง และที่จะคุยกันวันนี้คือ เขียวร่อน เขียวร่อนกับดอกหมากแดงนั้นถือว่าจัดเป็นงูที่หาค่อนข้างยาก นานๆจะเจอ แต่เจ้าเขียวพระอินทร์ถือว่าเป็นงูสามัญประจำบ้าน พบเจอได้ทั่วไปถึงทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของงูบินเหล่านี้คือ เป็นงูขนาดค่อนข้างเล็ก หัวใหญ่กว่าคอเล็กน้อย ลำตัวกลมเรียวยาวแต่จะดูค่อนข้างหนาอุดมด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ขอบเกล็ดส่วนท้องจะเป็นสันเพื่อช่วยในการยึดเกาะเวลาเลื้อยในแนวดิ่ง
งูเขียวร่อน หรืองูเขียวดอกจิก หรืองูก้านระกำ(Chrysopelea paradisi paradisi)
งูเขียวร่อนเป็นงูที่มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับงูเขียวพระอินทร์ และมีลักษณะสำคัญที่คนทั่วไปใช้จำแนกเหลื่อมล้ำกัน สีโดยรวมของงูเขียวร่อนจะเป็นสีเขียวอ่อนตัดขอบเกล็ดด้วยสีดำที่มีขอบหนา จนเหลือพื้นที่ที่เป็นสีเขียวกลางเกล็ดเพียงเล็กน้อย ไม่มีสีดำที่สันกลางเกล็ด เกล็ดที่ท้องก็มีขอบดำชัดเจน ดังนั้นเมื่อมองโดยรวมแล้วจะเห็นงูเขียวร่อนมีสีเข้มหรือดำมากกว่าเขียวพระอินทร์ ลำตัวจะดูเรียวกว่างูเขียวพระอินทร์ ลักษณะที่คนทั่วไปใช้แยกจากงูเขียวพระอินทร์คือจุดสีส้มหรือแดงที่เรียงตัวคล้ายรูปดอกจิกที่แนวกลางหลัง แต่ผู้เขียนเคยพบงูเขียวร่อนที่ไม่มีจุดสีดังกล่าวเลยหรือมีเพียงเล็กน้อยในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นควรใช้ลักษณะขอบเกล็ดเป็นจุดหลักในการจำแนก ซึ่งสามารถใช้แยกจากงูเขียวพระอินทร์ชนิดย่อยที่มีจุดแดงเข้มที่หลังได้ด้วย
งูเขียวร่อนชอบอาศัยตามป่าค่อนข้างทึบ เกาะทางฝั่งทะเลอันดามัน อาศัยตามบริเวณที่มีต้นไม้สูงใหญ่เพื่อให้มีระดับสูงมากพอที่จะใช้การร่อนข้ามไปยังต้นไม้อีกต้นได้ ก่อนร่อนจะมีการดีดตัวออกจากจุดเริ่มต้นก่อน ซึ่งต่างจากงูเขียวพระอินทร์ที่อาศัยการทิ้งตัวลงมา หากินเวลากลางวัน ชอบกินปาด จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า เป็นอาหาร สืบพันธุ์โดยการออกไข่ประมาณ 5-8 ฟอง ลูกงูแรกเกิดมีลายบั้งคล้ายลูกงูเขียวพระอินทร์ ยากในการจำแนกอย่างผิวเผิน มีการแพร่กระจายทางภาคใต้ของประเทศไทยรวมถึงขึ้นมาทางภาคตะวันตกของไทย
งูเขียวร่อนนั้น สังเกตุง่ายๆเลยโดยใช้หางตามองคือ จะมีสีเขียวเหมือนเขียวพระอินทร์แต่ตั้งแต่หัวไปถึงหางจะมีสีแดงหรือส้ม ซึ่งเขียวพระอินทร์จะเป็นลายบั้งๆตามตัว แต่เจ้าเขียวร่อนนั้น จะมีสีแดงออกส้มตามตัวเหมือนในรูป
อยากเขียนให้มันยาวกว่านี้แต่กลัวคนอ่านจะเบื่อ เพราะความลับในตัวของเจ้าเขียวร่อนนั้นมีอีกมากมาย แต่กลัวคุณผู้อ่านจะเบื่อซะก่อน ก็เลยเอาแค่นี้พอ
งูเขียวร่อนนั้นไม่มีพิษมีภัย นานๆผมจะเจอทีในแถบป่าตะวันตก ถ้าเจอน้องอย่าไปทำร้ายนะ น้องไม่อันตราย ไม่พอยังช่วยคุมประชากรของจิ้งจกตุ๊กแกให้เราๆอีก
สำหรับครั้งนี้ต้องขอลาไปก่อน ขอบคุณทุกท่านที่เสียเวลาอ่าน ไว้เราจะมาคุยกันใหม่ในเรื่องใหม่ๆ ไม่ใช่มีแค่งูแน่นอน ทางเราจะพยายามหาสิ่งที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านต่อไป
ขอบคุณครับ... #PamaiRIDER
งูเขียวร่อนตัวนี้โดนรถทับมา
ไม่มาม่านะทุกคน