Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นอกวง"ข่าว"
•
ติดตาม
11 ม.ค. 2021 เวลา 10:36 • สุขภาพ
COVID-19: ผลข้างเคียง “วัคซีนโควิด-19” แต่ละยี่ห้อ
ขณะนี้หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19กับประชาชนแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ซึ่งเป็นการให้ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน เนื่องจากมีการระบาดของโรค แม้ว่าการวิจัยในคนระยะที่ 3 จะไม่เสร็จสมบูรณ์ 100 %ก็ตาม เมื่อมีการให้วัคซีนในวงกว้างขึ้น ก็จะมีอัตราการพบผลข้างเคียงได้มากกว่าช่วงของการทดลอง โดยแต่ละชนิดวัคซีนจะมีแตกต่างกันไป
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า วัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียนและเริ่มฉีดแล้วนั้นเป็นไปในภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินเพราะมีการระบาด เพราะฉะนั้น ในช่วงการวิจัยในคนจำนวนหนึ่ง ก็จะไม่พบผลข้างเคียงที่พบเจอยาก แต่เมื่อใช้ในคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะพบผลข้างเคียงที่เจอได้ยากด้วย เช่น ไฟเซอร์พบการแพ้วัคซีนรุนแรงในอัตรา 11 /ล้านการฉีด
ซึ่งทุกตัวที่มีการฉีดแล้งจะมีการเก็บข้อมูลผลข้างเคียงไปเรื่อยๆด้วย จะทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้นและระวังการใช้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยการใช้ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างลดการระยาด ลดอัตราป่วยและผลข้างเคียงของวัคซีน
นพ.นคร บอกด้วยว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีวัคซีนที่ก้าวหน้ามากที่สุด โดยมีการขึ้นทะเบียนในบางประเทศและมีการฉีดแล้ว แม้ว่าจะไม่มีชนิดไหนวิจัยในคนระยะที่ 3 แล้วเสร็จ 100%ก็ตาม มี 6 ชนิด ได้แก่ 1.ไฟเซอร์และไบโอเทค ของอเมริกาและเยอรมนี 2.โมเดอนา ของสหรัฐอเมริกา 3.แอสตร้าเซนเนก้า ของอังกฤษและสวีเดน 4.สปุทนิค วี ของรัสเซีย 5.ชนิดเชื้อตาย BBIBP-CorV ของจีน และ6.ซิโนแวคของจีน โดยแต่ละชนิดแตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบวัคซีน ประสิทธิผล การให้วัคซีน ผลข้างเคียงและการเก็บรักษา นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนอีก 5 ชนิดที่คาดว่าจะประกาศประสิทธิผลการวิจัยในคนระยะที่3ภายในต้นปี 2564
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากรายงาน วัคซีน 6 ชนิด คือ 1.วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ ในรูปแบบ mRNAประสิทธิผล 95% ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน ผลข้างเคียงปวดเมื่อย(3.8%)และปวดศรีษะ(2%) มีรายงานการแพ้วัคซีนจากการใช้วงกว้าง 11 ต่อล้านครั้ง
2.วัคซีนของบริษัทโมเดิร์นนา ชนิด mRNA ประสิทธิผล 94.5% ผลข้างเคียงอ่อนเพลฃีย ปวดศรีษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
3.วัคซีนของแอสตราเซเนก้า ชนิดไวรัล เว็คเตอร์ ประสิทธิผลอยู่ที่ 62-90% อยู่ที่ปริมาณการฉีด มีการขึ้นทะเบียนแล้วที่อังกฤษ โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน ปวดบริเวณที่ฉีดชั่วคราวอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ เป็นไข้และปวดกล้ามเนื้อ
4.วัคซีนสปุทนิค ของรัสเซีย ชนิดไวรัล เว็คเตอร์ ประสิทธิผลผล 92% ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 24 วัน ผลข้างเคียง ยังไม่พบรางานผลข้างเคียงที่รุนแรง
5.วัคซีนเชื้อตาย ของบริษัทในประเทศจีน ประสิทธิผลอยู่ที่ 79% ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 21วัน ผลข้างเคียง ยังไม่พบรางานผลข้างเคียงที่รุนแรง
6.วัคซีนเชื้อตายของบริษัทซีโนแวค ประสิทธิผลที่ 78% ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน อยู่ระหว่างการยื่นขึ้นทะเบียนที่ประเทศจีน ผลข้างเคียง ยังไม่พบรางานผลข้างเคียงที่รุนแรง
สำหรับประเทศไทยนั้น ขณะนี้มีแผนจัดซื้อวัคซีนจาก 2 แหล่ง คือ 2 ล้านโดส จากซีโนแวค และจัดซื้อแบบรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาผลิตในประเทศ จากแอสตราเซเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส และเจรจาขอซื้อเพิ่มอีก 35 ล้านโดส
โดยปลายเดือนก.พ.จะได้จากที่จัดซื้อเร่งด่วนของชิโนเวค(sinovac) ล็อตแรก 2 แสนโดส มี.ค.ได้อีก 8 แสนโดส และเม.ย.ได้อีก 1 ล้านโดส รวม 2 ล้านโดส และพ.ค.จะได้จาการจองซื้อแบบรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาผลิตในประเทศไทยจากแอสตร้าเซนเนก้า 26 ล้านโดสมและระยะต่อไปจะจัดซื้อเพิ่มเติมอีก 35 ล้านโดส รวม 63 ล้านโดสสำหรับประชาการ 30 กว่าล้านคน น่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันของประเทศไทยได้
สำหรับแผนการให้วัคซีน คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเห็นชอบ คือ ประเทศไทยกำหนดหลักการให้วัคซีนเป็นไปตามเงื่อนไขปริมาณวัคซีนที่จะจัดหาได้ในระยะแรกที่มีจำกัด โดยเป้าหมายการให้วัคซีน 1. เพื่อลดอัตราการป่วยและตาย กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีนจึงเป็นประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้แก่ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
และ 2. เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
แผนการกระจายวัคซีนในสถานการณ์เร่งด่วนล็อตแรกจำนวน 2 ล้านโดสที่จัดซื้อจากซีโนแวค ที่จะต้องได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ก่อนนั้นเป้าหมายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด่านหน้าอื่นๆและประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด คือ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี โดยให้คนละ 2 โดสห่างกัน 1 เดือน
โดยจะเตรียมความพร้อมสถานพยาบาลระดับต่างๆในสังกัดสธ.ตั้งแต่รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป รพ.ชุมชนและรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล กว่า 11,000 แห่งและสังกัดอื่นๆและโรงเรียนแพทย์ในการให้บริการวัคซีนเพื่อให้ประชาชนไปรับบริการใกล้บ้านได้สะดวก
และจะมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการได้วัคซีนเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ถ้าผลข้างเคียงรุนแรงจะมี กรรมการตรวจสอบอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีนพิจารณาและถ้ารุนแรงมาก็จะมีการสอบสวนและสั่งหยุดฉีด
บันทึก
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วัคซีนโควิด-19
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย